วัคซีนทำงานอย่างไร?
การฉีดวัคซีนเป็นเสมือนการจำลองการติดเชื้อซึ่งสามารถทำได้โดยการนำเอาส่วนของเชื้อใส่เข้าไปในร่างกาย ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ใช้รหัสการสร้างโปรตีนของเชื้อ เช่น mRNA หรือ ใช้รหัสที่ผลิตโปรตีนหนามของเชื้อใส่เข้าไปในเชื้อไวรัสพาหะ หรือเอาเชื้อ COVID-19 นั้นมาทำให้เปลี่ยนสภาพด้วยน้ำยาเคมี ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถติดเชื้อได้ แต่ยังมีส่วนของโปรตีนของมันอยู่ และโปรตีนเหล่านี้เองที่สามารถทำให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อ COVID-19 ได้
หากได้รับการฉีดวัคซีน กลไกการตอบสนองของภูมิต้านทานต่อการฉีดวัคซีนก็คือกลไกของการเกิดการอักเสบในร่างกายนั่นเอง ดังนั้นหากร่างกายมีการอักเสบมากเกินไปก็จะมีโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีนได้มากขึ้น เพราะฉะนั้นแนวทางที่ควรปฏิบัติคือ เราควรลดการอักเสบก่อนการฉีดวัคซีน หากมีโรคประจำตัวต้องทำการควบคุมดูแลรักษาให้ดีก่อน เช่น เป็นโรคความดันก็ควรควบคุมความดันให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยหรือคงที่ก่อน ถ้ามีอาการเส้นเลือดตีบหรือหลอดเลือดอักเสบ ให้รักษาอาการเหล่านั้นก่อน ซึ่งค่าการอักเสบของเส้นเลือดนั้นสามารถตรวจเลือดเพื่อดูค่าการอักเสบของเส้นเลือดได้ ว่ามีค่าการอักเสบสูงหรือไม่ หากมีค่าการอักเสบสูง เราควรรักษาการอักเสบก่อนจึงจะทำการฉีดวัคซีน
ลดความเสี่ยงและป้องกันตัวเองอย่างไรดี?
ก่อนการฉีดวัคซีน เราอาจทานวิตามินเพื่อช่วยลดการอักเสบ ซึ่งเป็นแนวทางในการป้องกันและลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการฉีดวัคซีนได้ วิตามินที่สามารถช่วยลดค่าการอักเสบ ได้แก่
- Magnesium : ช่วยป้องกันเส้นเลือดตีบ และช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
- สารสกัดธรรมชาติจากขมิ้นชันและไพล (Curcumin และ Boswellia) : ช่วยลดการอักเสบและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
- Lumbrokinase: ช่วยลดการเกิดลิ่มเลือด ช่วยให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น และช่วยลดภาวะเลือดหนืด
- Omega-3: ช่วยลดการอักเสบ ลดการอุดตันของเส้นเลือด
โดยสรุปแล้วสาเหตุของการเกิดผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน COVID-19 อาจเกิดขึ้นเนื่องจาก
- ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคเส้นเลือดตีบ หรือ มีภาวะการณ์อักเสบของหลอดเลือด ซึ่งการอักเสบที่มากขึ้นจากการฉีดวัคซีน อาจทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือด หรือเส้นเลือดแตกได้
- ตัววัคซีนเองกระตุ้นภูมิต้านทานมากเกินไป ทำให้เกิดลิ่มเลือด
- วัคซีนกระตุ้นให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือดจากการอักเสบมากเกินไป ทำให้เกิดไข้ขึ้นสูงและเกิดการหดตัวของหลอดเลือด ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงทางสมองได้
ซึ่งแนวทางในการป้องกันและลดความเสี่ยงจากผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีน คือ การรับประทานวิตามินหรือการทำการรักษาเพื่อลดการอักเสบ
สำหรับการดูแลตนเองหลังจากได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ในช่วง 7 วันแรก เป็นช่วงที่ควรสังเกตอาการว่ามีความผิดปกติ หรือเกิดปฏิกิริยารุนแรงหรือไม่ ถ้าภายใน 7 วันไม่มีปฏิกิริยารุนแรง ส่วนใหญ่แล้วมักจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ไม่ว่าอย่างไร เราก็ควรดูแลและให้ความสำคัญกับการลดการอักเสบและการเสริมสร้างระบบภูมิต้านทาน เพื่อให้ภูมิต้านทานของเราสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถปกป้องร่างกายของเราจากการติดเชื้อได้
ทั้งนี้ก็รวมไปถึงเรื่องของระบบการขับของเสียออกจากร่างกายด้วย เนื่องจากการคั่งค้างของของเสียก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบได้เช่นกัน
ซึ่งการดูแลที่ช่วยลดการอักเสบ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน รวมถึงการชะล้างสารพิษและขับออกจากร่างกาย ที่สามารถทำได้หลังจากการฉีดวัคซีนไปแล้ว 7 วัน ได้แก่ การให้กรดอะมิโนทางหลอดเลือดดำ (Amino acid infusion) การให้วิตามินรวม การเสริมภูมิด้วยการบำบัดด้วยแสง (UVL, HOT UV, LLLT) การสวนล้างลำไส้ (Colon Hydrotherapy ) และ การบำบัดเพื่อกระตุ้นการขับของเสียจากต่อมน้ำเหลือง (Electro Lymphatic Therapy) เป็นต้น
นอกเหนือการดูแลตนเองด้วยแนวทางต่าง ๆ ที่แนะนำไปแล้ว สิ่งที่ทุกคนยังคงต้องปฏิบัติและยึดถืออยู่เสมอก็คือ การสวมหน้ากากอนามัย การรักษาระยะห่าง และล้างมือบ่อย ๆ เพราะเป้าหมายของการรับวัคซีนนั้นก็เพื่อลดความรุนแรงของโรคและลดโอกาสของความเจ็บป่วยที่ร้ายแรงถึงชีวิตเป็นสำคัญ ฉะนั้นถึงแม้ท่านจะรับวีคซีนไปแล้วแต่ความรับผิดชอบส่วนบุคคลก็เป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจในระยาว ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นที่อยู่ใกล้ชิดกับตัวท่านเอง
เข้าสู่ระบบ
Create New Account