โรคระบบทางเดินอาหาร

โทรศัพท์ : 026515988
โรคระบบทางเดินอาหาร

ระบบทางเดินอาหาร “ลำไส้รั่วซึม” ผลเสียของสุขภาพโดยรวม

เมื่อกล่าวถึงโรคที่สัมพันธ์กับระบบทางเดินอาหารในมุมของบุคคลทั่วไป มักจะคิดถึงภาพของ “ลำไส้” และคิดถึงโรคกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อน ลำไส้อักเสบ ท้องเสีย ไส้ติ่งอักเสบ มะเร็งลำไส้ หรือโรคตับอักเสบ เป็นต้น จากโรคเหล่านี้ทำให้เห็นได้ว่า ระบบทางเดินอาหารของคนเรานั้นเป็นระบบที่ใหญ่มาก และสิ่งที่คนส่วนใหญ่ยังไม่ทราบคือโรคต่างๆ ที่เกิดกับร่างกายจำนวนมากมีต้นตอปัญหามาจาก “ลำไส้”

สำหรับภาพรวมของลำไส้ที่เห็นได้ชัดคือการมีระบบการย่อยที่สมบูรณ์ เพราะถ้าระบบย่อยมีปัญหาในจุดใดจุดหนึ่งก็จะเกิดปัญหาโรคในระบบทางเดินอาหารได้ แต่ความจริงที่ลึกไปกว่านั้น คือ ปัญหาระบบการทำงานของลำไส้ยังเชื่อมโยงกับเรื่องภูมิต้านทาน สารสื่อประสาท และการแสดงออกของยีน ดังนี้

การแปรปรวนของภูมิต้านทาน เพราะลำไส้ไม่แข็งแรง เนื่องจากเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองมีจำนวนมากที่สุดในลำไส้ และลำไส้นับเป็นอวัยวะที่ใหญ่มาก ทั้งมีความยาวถึง 8 เมตร ภายใต้ความยาวนี้ยังมีเนื้อเยื่อส่วนย่อยอีกจำนวนมากสำหรับเพิ่มพื้นที่ผิวในการย่อยและพื้นที่ผิวในการดูดซึม หากลองเปรียบเทียบให้เข้าใจง่าย ๆ คือ ถ้าคลี่เซลล์เนื้อเยื้อให้เป็นแผ่นบาง ๆ เสมือนกระดาษ A4 จะพบว่าพื้นที่ผิวของเยื่อบุทางเดินอาหารทั้งหมดของคนเรามีขนาดประมาณครึ่งสนามฟุตบอล และหากยกเนื้อเยื่อเหล่านี้ขึ้นจะพบกับเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองจำนวนมาก

ดังนั้นถ้าเยื่อบุทางเดินอาหารไม่แข็งแรง เกิดการระคายเคือง มีความเสื่อม หรือเกิดแผล จะเป็นที่มาให้เกิดรูรั่วเล็ก ๆ  หรือเรียกว่าลำไส้รั่วซึม (Leaky Gut Syndrome) โดยจุดรูรั่วเล็ก ๆ เหล่านี้ส่งผลให้สารพิษในลำไส้หลุดเข้าสู่ร่างกาย อาทิ อาหารที่ยังย่อยได้ไม่ดี จึงส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันที่คอยทำลายเชื้อโรคถูกกระตุ้น และจะเกิดกระบวนการอักเสบตามมา หากการอักเสบมากขึ้น จนกระทั่งร่างกายไม่สามารถระงับการอักเสบได้เอง ย่อมเป็นเหตุให้เกิดอาการต่าง ๆ  ขึ้นและลักษณะอาการที่แสดงออกนั้นจะขึ้นอยู่กับว่าการอักเสบเกิดที่อวัยวะใด เช่น การอักเสบไปเกิดขึ้นที่ตา จะมีอาการคัน เคืองตา แต่ถ้าการอักเสบไปเกิดยังผิวหนังจะส่งผลให้เกิดอาการผื่นคัน หรืออาจจะเกิดปัญหาพร้อมกันในทุกระบบเป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (Autoimmune Disease) เป็นต้น

ผลกระทบของสารสื่อประสาท กับเยื่อบุลำไส้ถูกกระตุ้น โดยพบว่าเมื่อเยื่อบุลำไส้ถูกกระตุ้นจากระบบประสาทอัตโนมัติจะมีผลกับการสังเคราะห์สารสื่อประสาทซีโรโทนิน ซึ่งซีโรโทนินคือสารสื่อประสาทที่ออกฤทธิ์กับสมอง แต่ในร่างกายคนเราพบมีการสร้างซีโรโทนินมากที่สุดในเยื่อบุลำไส้ โดยประโยชน์ของซีโรโทนินคือช่วยให้มีความสุข นอนหลับได้ดี และยังเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์เมลาโทนิน ที่ช่วยให้หลับลึก จึงแปลได้ว่าถ้าเยื่อบุลำไส้ไม่แข็งแรง ลำไส้แปรปรวน ย่อมส่งผลให้อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า นอนหลับไม่ดี ถ้าเป็นระยะยาวส่งผลให้ความจำระยะสั้นไม่ดี เกิดเป็นสมาธิสั้นได้ สุขภาพของลำไส้จึงมีผลกระทบที่มากกว่าแค่เรื่องปวดท้อง ท้องผูก อาจกล่าวได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของระบบอาการต่าง ๆ ได้มากมาย และจากความสำคัญของลำไส้ ทำให้มหาวิทยาลัย UCLA ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวถึง “ลำไส้” ว่าเป็นสมองที่ 2 ของมนุษย์เลยทีเดียว

ปัญหาลำไส้เชื่อมโยงกับการแสดงออกของยีน ในร่างกายคนเรามีดีเอ็นเอ (DNA) เป็นแหล่งเก็บข้อมูลทางพันธุกรรมและมีความแตกต่างทางพันธุกรรมเพราะลำดับดีเอ็นเอ (ATCG) ที่เป็นตัวกำหนดลักษณะพันธุกรรม เช่น สีผม หน้าตา รวมไปถึงสุขภาพ ระบบเมตาบอลิซึม สมอง และระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้นจึงมีการศึกษาเพื่อถอดรหัส ATCG ทำให้ทราบว่า เอพิเจเนติกส์ (Epigenetics) ทำหน้าที่เปิด-ปิดการทำงานของยีน และหนึ่งในกุญแจสำคัญของเอพิเจเนติกส์ก็คือ ไมโครอาร์เอ็นเอ (MicroRNA) ที่สร้างจากแบคทีเรียในลำไส้ ซึ่งลักษณะอาหารที่รับประทานแต่ละชนิดจะมีผลในการสังเคราะห์ไมโครอาร์เอ็นเอของแบคทีเรียในลำไส้แตกต่างกัน ทำให้มีผลในการเปิดปิดยีนที่อยู่ในร่างกายแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นหากร่างกายมียีนมะเร็ง และไม่ดูแลเรื่องอาหาร รับประทานอาหารที่อาจเกี่ยวข้องกับแบคทีเรียที่มีผลกับมะเร็ง ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ไม่ดี ย่อมส่งผลในการสร้างโปรตีนไม่ดีและนำไปสู่การเปิดยีนมะเร็งได้

เคล็ดลับในการดูแลลำไส้ให้แข็งแรง ประกอบด้วยปัจจัย 5 ประการ
อาหารเหมาะสม ได้แก่

  • ชนิดอาหารที่เหมาะสมกับร่างกาย เราจะทราบว่าอาหารเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมกับตนเอง สามารถทำได้โดยการตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance Test) เพื่อจะได้ทราบว่าสิ่งใดรับประทานแล้วแพ้ สิ่งใดสามารถรับประทานได้
  • วิธีการรับประทานอาหาร การบริโภคอาหารทุกคำที่รับประทานควรเคี้ยวให้ละเอียด 30 วินาที/คำ อย่ารีบเคี้ยว หรือรีบกลืน
  • มื้ออาหาร ธรรมชาติของร่างกายคนเราถูกสร้างเพื่อให้มีการสร้างฮอร์โมนในตอนเช้าเพื่อให้มีแรง โดยฮอร์โมนที่เหล่านั้น เช่น ไทรอยด์ ต่อมหมวกไต ฮอร์โมนเพศ ซึ่งการผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ จะต้องมีสารตั้งต้นเช่น กรดไขมัน กรดอะมิโน แร่ธาตุ วิตามิน จึงเป็นคำตอบว่าถ้าไม่รับประทานอาหารเช้าก็ย่อมแปลว่าเซลล์จะไม่ได้รับสารอาหาร ร่างกายย่อมผลิตฮอร์โมนได้ไม่เต็มที่ ระบบเผาผลาญ ระบบการย่อยก็จะแย่ตามไปด้วย เพราะฉะนั้นมื้อเช้าจึงเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก ควรรับประทานอาหารให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วน ส่วนมื้ออื่น ๆ รับประทานตามความเหมาะสม

อารมณ์แจ่มใส เพราะอารมณ์มีความสำคัญกับการตอบสนองระบบประสาทอัติโนมัติ ซึ่งระบบการย่อยอาหารยังพึ่งพาระบบการทำงานของประสาทอัตโนมัติพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic system) ด้วย จึงแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเมื่อการทำงานของระบบย่อยดีและมีประสิทธิภาพ แสดงว่าช่วงเวลานั้นร่างกายมีอารมณ์ผ่อนคลาย ในทางตรงกันข้ามถ้ามีความเครียด จะไม่รู้สึกหิวข้าว เพราะลำไส้ไม่ค่อยบีบตัว ระบบย่อยก็ไม่ดี มีการสร้างกรดมากส่งผลให้เป็นแผลในกระเพาะอาหาร อีกทั้งเมื่อเกิดความเครียด น้ำตาลในเลือดจะเพิ่มสูงเพื่อช่วยเป็นพลังงานให้กับความเครียด จึงส่งผลกระทบกับตับอ่อนที่ต้องทำงานหนักเพื่อผลิตอินซูลินสำหรับช่วยลดระดับความเครียด และในขณะเดียวกันหน้าที่ของตับอ่อนนอกจากผลิตอินซูลินยังทำหน้าที่ผลิตเอนไซม์เพื่อย่อยอาหาร ดังนั้นเมื่อมีความเครียดตับอ่อนจึงไม่สามารถผลิตเอนไซม์ในการย่อยอาหารได้อย่างเต็มที่

ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นการเผาผลาญ เพราะเมื่อร่างกายเดิน วิ่ง ลำไส้จะมีการเคลื่อนไหวทำให้ลำไส้เกิดการบีบตัว ทำงานได้อย่างเป็นระบบ
นอนหลับตั้งแต่หัวค่ำ เพื่อให้ตับได้ขับสารพิษ ปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกายอย่างเหมาะสม
การขับสารพิษออกจากร่างกาย เนื่องจากวัตถุดิบ วิธีปรุงอาหารในปัจจุบันกล่าวได้ว่าเต็มไปด้วยสารพิษ การดีท็อกซ์จึงมีความสำคัญ และควรทำในหลายส่วน ตั้งแต่การปรับอาหาร การใช้น้ำผักล้างพิษ การดีท็อกซ์ตับ การดีท็อกซ์ลำไส้ รวมถึงการนำสารพิษโลหะหนักออกจากร่างกาย เพื่อให้สมดุลของลำไส้ฟื้นฟูกลับมาแข็งแรงได้อีกครั้ง

“ลำไส้” สมองที่ 2 ของร่างกาย จึงเสมือนเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดโรคเรื้อรัง และความเสื่อมต่าง ๆ ของร่างกาย...คุณจึงต้องใส่ใจและดูแลลำไส้ให้มากขึ้น...



วิดีโอที่เกี่ยวข้อง
SEND A MESSAGE
Your email address will not be published. Required fields are marked.
CALL US : 02 651 5988
Select AH Find Dr Contact Us