Photodynamic Therapy: PDT พลังงานแสงบำบัด เพื่อการรักษามะเร็ง

โทรศัพท์ : 026515988
Photodynamic Therapy: PDT พลังงานแสงบำบัด เพื่อการรักษามะเร็ง
Photodynamic Therapy: PDT พลังงานแสงบำบัด เพื่อการรักษามะเร็ง

Photodynamic Therapy: PDT พลังงานแสงบำบัด เพื่อการรักษามะเร็ง

 จากที่เราได้รู้จักเกี่ยวกับการรักษาโดยใช้แสงเลเซอร์ คุณอาจเคยได้ยินคำว่า Photodynamic Therapy: PDT ซึ่งเป็นการใช้สารเร่งปฏิกิริยาของแสง โดยใช้ Photosensitizer เพื่อการตอบสนองของแสงกันมาบ้าง แต่เจ้าสิ่งนี้มันคืออะไร และมีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับการรักษาด้วยเลเซอร์ เราไปค้นหาคำตอบด้วยกัน

 สำหรับการรักษาโดยใช้เลเซอร์พลังงานต่ำ (Low Level Laser Therapy) ถ้าหากเป็นอวัยวะที่อยู่ค่อนข้างลึก แน่นอนที่หลายคนอาจคิดว่าเลเซอร์พลังงานต่ำจะสามารถเข้าไปรักษาได้ถึงหรือไม่ ? หรือจะต้องใช้เลเซอร์ที่แรงขึ้น ? สามารถทำได้หรือไม่ ? 

 ในความเป็นจริงนั้น เรามีข้อจำกัดกับการใช้เลเซอร์ที่มีกำลังแรงในการรักษาเนื้อเยื่อที่ผ่านผิวลงไป ทั้งยังจะทำให้ผิวไหม้ ดังนั้น จึงเกิดแนวทางการรักษาด้วยเลเซอร์พลังงานต่ำเช่นเดิม แต่มีประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น โดยการทำให้อวัยวะหรือเนื้อเยื่อนั้น ๆ ถูกตอบสนองด้วยแสงเพิ่มขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย “การใส่สารเร่งปฏิกิริยาความไวของแสง (Photosensitizer) ”  ซึ่งเทคนิคนี้มีการใช้แพร่หลายในการรักษาโรคมะเร็ง เพื่อการทำลายเซลล์มะเร็ง เพราะเซลล์มะเร็งนั้นเมื่อถูกกระตุ้นให้เกิดการรับแสงจะเกิดปฏิกิริยาซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้เซลล์มะเร็งฝ่อ (Apoptosis)

 

วิธีและกลไกลการทำงานของสารเร่งปฏิกริยาความไวของแสง

 เมื่อมีการใส่สารเร่งปฏิกิริยาความไวของแสงเข้าสู่ร่างกาย และมีการสัมผัสกับแสงจะส่งผลให้เซลล์มีความไวในการรับแสง 2-3 เท่า สารเร่งปฏิกิริยาความไวของแสงในปัจจุบันมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะยกตัวอย่างสิ่งที่เราต่างรู้จักหรือเคยใช้กันมาบ้าง แต่อาจยังไม่ทราบว่าสิ่งนั้น คือ ตัวเร่งปฏิกิริยาความไวของแสง เช่น 


  • คลอโรฟิลล์ ช่วยให้การทำงานของแสงสีแดงดีขึ้น เมื่อดื่มเข้าไปคลอโรฟิลล์นี้จะไปอยู่ในเลือด พอเราใช้เลเซอร์พลังงานต่ำที่เป็นแสงสีแดง จะส่งผลให้การทำงานของแสงสีแดงมีประสิทธิภาพขึ้น เนื่องจากคลอโรฟิลล์ คือ สารเร่งปฏิกิริยาของแสงสีแดงนั่นเอง เพราะฉะนั้นเมื่อต้องการให้แสงสีแดงช่วยในการลดปวด หรือสร้างความตื่นตัวของร่างกาย สามารถดื่มคลอโรฟิลล์ และรับการรักษาด้วยเลเซอร์โดยใช้แสงสีแดง หรือนาฬิกาเลเซอร์ก็ได้เช่นเดียวกัน 

  • เคอคูมิน เป็นสารชนิดหนึ่งในขมิ้นที่จะช่วยให้การทำงานของแสงสีน้ำเงินดีขึ้นในด้านการฆ่าเชื้อและลดการอักเสบ ดังนั้นเมื่อทานเคอคูมินแล้วใช้แสงสีน้ำเงินในการรักษาจะช่วยให้สามารถฆ่าเชื้อในเลือดได้ดีขึ้น เช่น กรณีป่วยเป็นไข้หวัด ภูมิต้านในร่างกายไม่ดี เป็นต้น 

  • สารสกัดจากสมุนไพรเซนต์จอห์นเวิร์ต (St. John’s Wort Extract) ช่วยให้การทำงานของแสงสีเหลืองดีขึ้น เมื่อทานสารสกัดจากสมุนไพรเซนต์จอห์นเวิร์ต และใช้เลเซอร์พลังงานต่ำที่เป็นแสงสีเหลืองในการรักษาจะช่วยให้แสงสีเหลืองทำงานดี และมีประสิทธิภาพมากขึ้นในด้านการรักษาโรคซึมเศร้า 

  • สำหรับการบำบัดรักษาในส่วนของโรคมะเร็งจะต้องใช้เลเซอร์ที่มีอัตรากำลังในการส่งที่ลึก ซึ่งแสงสีแดงและอินฟราเรด คือ พลังแสงสีที่สามารถลงไปได้ลึกกว่าแสงสีอื่น ๆ จึงต้องใส่ Choline-B 6 สารเร่งปฏิกิริยาของแสงที่เหมาะกับการทำงานของแสงสีแดง และ Indocyanine green (ICG) สารเร่งปฏิกิริยาความไวของแสงที่เหมาะกับการทำงานของอินฟราเรด ซึ่งสารทั้ง 2 ชนิด เป็นสารเร่งปฏิกริยาความไวของแสง ซึ่งในทางการแพทย์แผนปัจจุบันมีการใช้เพื่อการตรวจวินิจฉัย และเป็นสารที่ไม่มีพิษ ไม่มีผลเสียกับร่างกาย โดยใช้หลักการกระตุ้นด้วยสารเร่งปฏิกิริยาความไวต่อแสง ซึ่งมีความไวพิเศษกับเซลล์ที่เป็นมะเร็ง เซลล์ที่มีการกลายพันธุ์ เมื่อฉีดเข้าสู่กระแสเลือด เซลล์มะเร็ง เซลล์ที่มีการกลายพันธุ์ เนื้อเยื้อที่เป็นเนื้องอกจะถูกย้อมด้วยสารนี้ และหลังจากนั้นจึงทำการรักษาโดยใช้เลเซอร์ในจุดนั้น ๆ เซลล์มะเร็งจะถูกทำลาย โดยที่เซลล์ปกติไม่มีผลกระทบใด ๆ เทคนิคนี้จึงเป็นการรักษามะเร็งแบบไม่เป็นพิษ และพุ่งเป้าทำลายเฉพาะเซลล์มะเร็งเท่านั้น  

สารเร่งปฏิกริยาความไวของแสง (Photosensitizer) นอกจากจะมีประโยชน์ในตัวเองแล้ว ในมุมของการรักษาด้วยเลซอร์ นับว่ามีประโยชน์เป็นอย่างมากอีกด้วย

วิดีโอที่เกี่ยวข้อง
SEND A MESSAGE
Your email address will not be published. Required fields are marked.
CALL US : 02 651 5988
Select AH Find Dr Contact Us