อ่อนเพลียเรื้อรัง

โทรศัพท์ : 026515988
อ่อนเพลียเรื้อรัง

อ่อนเพลียเรื้อรัง

ทำไมอ่อนเพลียมานาน ไม่หายสักที...หรือจะ “อ่อนเพลียเรื้อรัง”


คุณเคยทราบหรือไม่? มีคนจำนวนมากที่ต้องทุกข์เพราะอาการอ่อนเพลีย โดยไม่ทราบสาเหตุ พบแพทย์หลายที่เข้าโรงพยาบาลโน้นออกโรงพยาบาลนี้ แต่ตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติ ไม่มีทั้งโรคเบาหวาน ความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคตับ โรคไตแม้จะพักผ่อนมาก แต่อาการอ่อนเพลียก็ไม่หาย เป็นเพราะอะไรกันแน่ !

เรามาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันว่า เพราะอะไรจึง อ่อนเพลียเรื้อรัง
อ่อนเพลีย เพราะอะไร? เพราะ...ร่างกายไม่มีแรง  ทำไมร่างกายจึงไม่มีแรง? เพราะ...อวัยวะไม่มีแรง  ทำไมอวัยวะจึงไม่มีแรง? เพราะ...เนื้อเยื้อไม่มีแรง ทำไมเนื้อเยื้อจึงไม่มีแรง? เพราะ...เซลล์ไม่มีแรง  เซลล์ไม่มีแรง…เพราะสังเคราะห์พลังงาน (Energy) ได้ไม่ดีนั่นเอง

เราจึงต้องกลับมาพิจารณาถึงต้นตอของปัญหา ว่ามีสิ่งใดที่รบกวนการสร้าง Energy ของเซลล์ในร่างกาย
จึงส่งผลให้เกิดอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง ซึ่งอาการแสดงออกมีได้หลายแบบ ขึ้นอยู่ที่เซลล์ส่วนใดเกิดการอ่อนแรง ดังเช่น


-เซลล์กล้ามเนื้อไม่มีแรง จะทำให้รู้สึกกล้ามเนื้ออ่อนล้า เช่น เดินมากจะรู้สึกปวดเมื่อยอาจแสดงออกในลักษณะปวดคอเรื้อรัง ปวดหลังเรื้อรัง ปวดเมื่อยตามตัว
-เซลล์สมองไม่มีแรง จะทำให้ความจำไม่ดี นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน
-เซลล์หัวใจไม่มีแรง ก็จะทำให้รู้สึกใจสั่น ใจหวิวๆ ไม่ค่อยมีแรง
-เซลล์ตับไม่มีแรง จะทำให้เกิดไขมันพอกตับ ตับอักเสบ
-เซลล์ลำไส้ไม่มีแรง จะทำให้ท้องผูก


เซลลูล่า เมตาบอลิซึม (Cellular Metabolism) การหายใจระดับเซลล์เริ่มต้นจากอาหารซึ่งประกอบด้วยอาหารหลัก(Macronutrients) และอาหารรอง(Micronutrients)


สำหรับอาหารหลัก (Macronutrients) คือ สารอาหารหลักที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย ประกอบด้วย โปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมัน เรียกว่าเป็นสารตั้งต้นที่เซลล์จะดึงไปใช้ เมื่อเข้าสู่กระบวนการใช้จะเกิดการเผาผลาญและเปลี่ยนสารในการสร้างพลังงานออกมา เรียกว่า ATP และกระบวนการที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะต้องใช้อาหารรอง (Micronutrients) ซึ่งคือ วิตามิน เกลือแร่ น้ำ และอื่นๆ เพื่อเป็นเสมือนกุญแจของฟันเฟืองในการทำงานเพื่อผลิตสารตั้งต้นเป็นพลังงาน

ปัจจัยที่ทำให้เซลล์ไม่สามารถสร้างพลังงานได้ อาทิ

การขาดสารอาหาร กรณีรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ซ้ำๆ เช่น รับประทานอาหารหลัก เป็นข้าวมันไก่ที่มีคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนมาก แต่ไม่มีคุณค่าอาหารอื่นและอาหารรอง ย่อมเกิดการขาดสารอาหารทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย

สารพิษโลหะหนัก สามารถถูกดูดซึมเข้าไปแทนที่แร่ธาตุที่มีประโยชน์ เนื่องจากสารพิษโลหะหนักมีประจุไฟฟ้าเสมือนแร่ธาตุอื่นๆ ดังนั้นรูกุญแจที่จะนำแร่ธาตุเข้าไปสู่ร่างกายก็สามารถดูดซึมสารพิษโลหะหนักเข้าไป ซึ่งจะทำให้กระบวนการผลิตพลังงานมีผลกระทบ ไม่สามารถผลิตพลังงานได้



เตาปฏิกรณ์ในการสร้างพลังงานของเซลล์ หรือไมโทรคอนเดรีย (Mitochondria) เป็นจุดที่สารพิษโลหะหนักมักเข้าไปสะสมทำให้เกิดความเสียหาย จึงไม่สามารถสร้างพลังงานได้ หรือบางกรณีไมโทรคอนเดรียอาจไม่ได้เสียหายจากสารพิษโลหะหนักแต่กระบวนการทำงานขาดออกซิเจน ก็ทำให้เซลล์นั้นขาดพลังงานและเกิดของเสียคั่งค้างในเซลล์


ถ้าถามว่าเพราะเหตุใดขาดออกซิเจน เพราะหายใจได้ไม่ดี หายใจไม่ลึก การไหลเวียนเลือดไม่ดีเพราะมีหินปูนเกาะเส้นเลือดหรือรับประทานอาหารที่มีแป้ง โปรตีนมาก เกิดภาวะเลือดหนืด ทำให้เม็ดเลือดเกาะเป็นก้อน เม็ดเลือดจึงจับออกซิเจนได้ไม่ดี ทุกๆ ปัจจัยเหล่านี้ ล้วนส่งผลให้ระดับออกซิเจนน้อย การทำงานระบบเผาผลาญระดับเซลล์จึงไม่ดี

ปัจจัยทำลาย ไมโทรคอนเดรีย (Mitochondria) ได้แก่ ไวรัสบางประเภท เช่น เอ็บสเตนบาร์ (Epstein-Barr virus: EBV) สามารถทำให้ DNA ของไมโทรคอนเดรียเพี้ยนได้ รวมถึงเชื้อราและแบคทีเรียบางชนิด เป็นต้น

ฮอร์โมน ทั้งนี้ สมดุลเผาผลาญต่างๆ มักจะถูกควบคุมโดยสมดุลของฮอร์โมนในอีกขั้น อาทิ ฮอร์โมนไทรอยด์ ฮอร์โมนต่อมหมวกไต ฮอร์โมนเพศ โกรธฮอร์โมน ที่จะสร้างสมดุลในการสร้างพลังงานให้ดี เพราะฉะนั้นถ้าฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ ย่อมเกิดอาการอ่อนเพลีย ฮอร์โมนต่อมหมวกไตต่ำ ย่อมเกิดอาการเพลีย หากฮอร์โมนเพศตกจะเกิดอาการอ่อนเพลีย หรือถ้าโกรธฮอร์โมนต่ำ ก็ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียเช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อฮอร์โมนเหล่านี้บกพร่องย่อมทำให้ไม่สามารถสร้างพลังงานได้นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม หากมีผลกระทบใดที่เกิดขึ้นกับเซลลูล่าเมตาบอลิซึม ฮอร์โมน ภูมิต้านทาน มิวเตชั่น เอทอกซิน มีปัจจัยมารบกวนย่อมเป็นที่มาของการอ่อนเพลียเรื้อรัง

การรักษาแบบการแพทย์บูรณาการ
ประโยชน์สูงสุดที่คนไข้ได้จากการรักษาภาวะอ่อนเพลียเรื้อรังโดยการแพทย์แบบบูรณาการ คือ เป็นการรักษาในองค์รวม ไม่ใช่รักษาเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น ต้องดูแลรักษาในทุกๆ จุด ได้แก่

การเสริมแร่ธาตุ เสริมวิตามิน ให้สารอาหารบำรุงการเผาผลาญของเซลล์ เช่น การให้วิตามินบี ชนิดรับประทาน ฉีดตามจุด โดยเป็นเทคนิคผสมผสานการแพทย์แผนจีนโดยการฉีดตามจุดฝังเข็ม การเติมกรดอะมิโน เพิ่มออกซิเจน เติมฮอร์โมน ทำคีเลชั่น ล้างสารพิษโลหะหนัก ฆ่าเชื้อสารพิษที่เกี่ยวข้อง ให้พลังงานสำเร็จรูป ปรับสมดุล ซ่อมแซมและให้สารอาหารของไมโทรคอนเดรีย กระตุ้นให้เมโทรคอนเดรียกลับมาทำงานได้ดีด้วยเลเซอร์และโอโซน ซึ่งโอโซนนั้นยังมีประโยชน์ในการฆ่าเชื้อและกระตุ้นภูมิต้านทาน
เพราะทุกๆการรักษาจะต้องปรับแก้ไขระบบภูมิต้านทานควบคู่กัน แต่ในคนไข้บางรายรักษาด้วยวิธีต่างๆ ไม่ดีขึ้นเนื่องจากเซลล์เสื่อมสภาพ จึงต้องรักษาด้วยการฟื้นฟูเซลล์ FCT, CPT เป็นต้น


Tips
เทคนิคที่สามารถช่วยเรื่องอ่อนเพลียเรื้อรัง นอกเหนือจากการแก้ไขที่ต้นต้นของปัญหา คือการส่งต่อพลังงานสำเร็จรูป เช่นอาหารที่มีคุณสมบัติของพลังงานในตัว (Super food) เช่น ถั่งเช่า เนื่องจากมีสารคอร์เดเซปิน (Cordycepins) ซึ่งเป็นโมเลกุลที่เหมือนกับพลังงานเผาผลาญของเซลล์ ATP จึงเป็นคำตอบว่าทำไม ถั่งเช่าจึงมีคุณสมบัติช่วยเรื่องอ่อนเพลียได้นั่นเอง

...................................


วิดีโอที่เกี่ยวข้อง
SEND A MESSAGE
Your email address will not be published. Required fields are marked.
CALL US : 02 651 5988
Select AH Find Dr Contact Us