การรักษาข้อเข่าเสื่อมโดยไม่ผ่าตัด
เมื่อวัยเปลี่ยน ความเสื่อมในร่างกายก็มากขึ้น โรคข้อเข่าเสื่อมอีกปัญหาที่พบได้เมื่ออายุมาก ขยับก็ปวด ลุกก็โอย! นั่งก็โอ๊ย! ปวด!
ทนทรมานเสียคุณภาพชีวิต จะแก้ไขได้อย่างไรโดยไม่ต้องผ่าตัด เพราะใครๆ ก็ไม่อยากผ่าตัด
ข้อเข่า ทำหน้าที่ช่วยการเคลื่อนไหว เดิน วิ่ง เคลื่อนย้ายร่างกายไปที่ต่างๆ ขณะเดียวกันต้องรับน้ำหนักกระดูกและกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ๆ อวัยวะภายในร่างกาย ไขมัน และเป็นข้อที่มีการเสียดสีขณะทำงาน อายุมากขึ้นความยืดหยุ่นของเอ็น กล้ามเนื้อลดลง ความสึกหรอเกิดมากขึ้น จากที่เคยใช้งานในชีวิตประจำวัน กลายมาเป็นความทุกข์ทรมานจนแทบขาดใจ
การปวดเข่ามีหลายสาเหตุ ทั้งการเสื่อมของข้อ ผิวข้อเข่าสึกหรอ ทำให้การเคลื่อนไหวข้อติดขัด หรือมีเสียงคล้ายกระดาษทรายถูกัน การอักสบของเยื่อหุ้มข้อ การอักเสบของถุงน้ำ ลดการเสียดสี เอ็นยึดข้อบางส่วนหย่อนยาน ทำให้เข่าโก่ง มีกระดูกงอกในข้อ ทำให้เจ็บจากการเสียดสีกับเนื้อเยื่อใกล้เคียง กล้ามเนื้อรอบข้อเข่าไม่แข็งแรง เอ็นกล้ามเนื้อเสื่อม หรือการที่กระดูกรอบๆ ข้อบางลง
ผู้หญิงเสี่ยงโรคข้อเข้าเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชาย
ทุกวันร่างกายจะสร้างมวลกระดูกใหม่ และสลายมวลกระดูกที่หมดอายุออกไป ผู้หญิงสูญเสียเนื้อกระดูกมากกว่าเพศชาย 2-3 เท่าหลังอายุ 35 ปี โดยเฉพาะวัยหมดประจำเดือน เพราะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย ทำให้ปริมาณมวลกระดูกลดลง โครงสร้างภายในของกระดูกเสียหายเกิดเป็นโรคกระดูกพรุน ข้อเข่าเสื่อมพบมากในผู้หญิงวัยกลางคนขึ้นไป
ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ความผิดปกติทางโครงสร้าง เช่น ขาโก่ง เข่าผิดรูป กิจวัตรประจำวัน เข่น การนั่งคุกเข่า การนั่งพับเพียบเป็นเวลานานๆ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น อายุเพิ่มขึ้น เพศหญิง เคยมีประวัติบาดเจ็บที่ข้อเข่า มีโรคประจำตัว เช่น โรคไขข้ออักเสบ รูมาตอยด์ เก๊าต์
เมื่อป่วยก็รักษา..แต่อะไรคือสิ่งที่ใช่
การรักษาตามแบบแผนการแพทย์ทั่วไป (Conventional) การรับประทานยาแก้ปวดและต้านการอักเสบซึ่งเป็นการบรรเทาอาการเท่านั้น และยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียง กัดกระเพาะ เกิดโรคกรดไหลย้อน แผลในกระเพาะอาหาร ทำให้ไตเสื่อม และยารุ่นใหม่ส่งผลเสียต่อหัวใจ การฉีดยา ฉีดน้ำไขข้อเพิ่มการหล่อลื่น และฉีดสเตียรอยด์ไม่ได้ซ่อมแซมเซลล์เพียงลดการอักเสบ ลดปวด ผู้ป่วยจึงกลับมาปวดมากขึ้น และมีความเสื่อมมากขึ้น แม้จะบรรเทาปวดในช่วงแรก แต่อาจเป็นการเร่งไปสู่การเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
การรักษาโรคตามแนวทางการแพทย์แบบบูรณาการ (Integrative Medicine)
สิ่งสำคัญที่สุดในการรักษาโรคปวดเข่า คือ การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องและการวินิจฉัยที่แม่นยำที่สุด คือค้นหาสาเหตุโดยการตรวจทาง function ร่วมกับการกดคลำไปตามจุดต่างๆ สิ่งสำคัญถัดมา คือ การรักษาแนวฟื้นฟูซ่อมแซม Regenerative Joint Therapy เป็นการฉีดยาและวิธีการทางกายภาพบำบัดที่ไม่ได้เน้นการแก้ปวดหรือบรรเทาอาการ แต่เน้นการกระตุ้นให้เซลล์ซ่อมแซมตัวเอง เพื่อให้โครงสร้างดีขึ้น แข็งแรงขึ้น และกลับมาทำงานได้เป็นปกติ โดยไม่มีอาการรบกวน
แนวทางการรักษา
1. High Power Laser, Shock Wave and TMS กายภาพบำบัดแนวใหม่กระตุ้นเซลล์ให้ซ่อมแซมตัวเอง ลดสารก่อการอักเสบ การปวด และกระตุ้นให้เซลล์ซ่อม รวมทั้ง Mesenchymal stromal cell ของตนเอง ซ่อมแซมส่วนที่เป็น
2. Blood component extract เป็นการใช้เกล็ดเลือดของตัวเอง โดยการเจาะเลือดจำนวนหนึ่งปั่นแยกเกล็ดเลือด กระตุ้นเกล็ดเลือดให้สร้าง growth factor ออกมา ฉีดเกล็ดเลือดไปยังโครงสร้างที่เสื่อม กระตุ้นการอักเสบให้เกิดกลไกการซ่อมแซมตัวเอง
3. Prolotherapy การรักษาเส้นเอ็นที่เสื่อม ผิวข้อที่บางลงด้วยการใช้สารกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อ เช่น dextrose ความเข้มข้นสูงกว่าในเลือด ลักษณะการฉีดจะเป็นการฉีดแบบจิกๆ peppering เพื่อกระตุ้นเนื้อเยื่อให้เกิดการซ่อมแซมตัวเอง การฉีด prolotherapy ทำทุกสามถึงสี่สัปดาห์ต่อครั้ง จำนวนเฉลี่ย 8 ครั้ง
4. Bio Nucleic acid Therapy ใช้ peptide ชีวภาพ กระตุ้นการซ่อมแซมเซลล์ โดย peptide ชีวภาพ จะมีความจำเพาะต่อเซลล์เช่น peptide สมอง กระตุ้นการซ่อมแซมเซลล์สมอง peptide ข้อ กระตุ้นการซ่อมแซมข้อ เป็นต้น
5. ใช้ Mesenchymal stromal cellซึ่งเป็นความก้าวหน้าทาง Functional Medicine Approach ประเทศส่วนใหญ่อนุญาตให้ทำ Mesenchymal stromal cell จากไขมันตัวเองหรือเลือดตัวเอง หรือไขกระดูกตัวเอง แต่ความจริง mesenchymal Mesenchymal stromal cell เป็น Mesenchymal stromal cell ที่ไม่มีอัตลักษณ์อยู่บนผนังเซลล์ จึงไม่กระตุ้นระบบภูมิต้านทานให้ต่อต้านเนื้อเยื่อ จึงสามารถใช้ข้ามบุคคลได้ หากสามารถทำให้บริสุทธิ์เกิน 95% มีแต่ Mesenchymal stromal cell
Tips ชะลอการเสื่อมของข้อเข่า หลีกเลี่ยงงอข้อเข่ามากๆ เช่น นั่งยองๆ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ และนั่งคุกเข่า หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันไดหลายๆ ชั้น ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน หมั่นบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอยู่เสมอโดยเฉพาะกล้ามเนื้อด้านหน้าต้นขา ถ้าข้อโก่งผิดรูป และหรือข้อแกว่งมากกว่าปกติควรสวมปลอกข้อเข่าชนิดมีเหล็กสปริงที่ด้านข้างของข้อเข่าทั้งด้านในและด้านนอก
สารอาหารสำรับผิวข้อ ได้แก่ คอลลาเจน type II ซึ่งในการศึกษาได้ผลที่ดีกว่ากลูโคซามีนและคอนโดอิทิน แร่ธาตุ เช่น โบรอนจากธรรมชาติ (จากผลไม้บางอย่าง) ให้ผลในการศึกษาในภาวะปวดข้อจากความเสื่อมที่ดี นอกจากนี้การบำรุงกระดูกจากแคลเซียม วิตามินซี วิตามินดี 3 วิตามินเค
1. Collagen: An implausible supplement for joint pain
[Online:http://www.sciencebasedmedicine.org/collagen-an-implausible-supplement-for-joint-pain/]
cited on July 26, 2013.
2. Ragle R.L. and Sawitzke A.D. (2012) Nutraceuticals in the Management of Osteoarthritis. Drugs
Aging. 29:717–731.
3. Roy S, Khanna S, Krishnaraju AV, et al. Regulation of vascular responses to inflammation:
inducible matrix metalloproteinase-3 expression in human microvascular endothelial cells is sensitive to
antiinflammatory Boswellia. Antioxid Redox Signal. 2006 Mar;8(3-4):653-60.
4. Reichling J, Schmokel H, Fitzi J, Bucher S, Saller R. Dietary support with Boswellia resin in canine
inflammatory joint and spinal disease. Schweiz Arch Tierheilkd. 2004 Feb;146(2):71-9.
5. Huskisson EC. Glucosamine and chondroitin for osteoarthritis. J Int Med Res.
2008;36(2):1161–1179.[PubMed]
6. Journal of ScienceDirect-Bone, Issue 1, Volume 35, July 2004, page 312-319
เข้าสู่ระบบ
Create New Account