ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ พบได้บ่อยในผู้ชายอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป และยิ่งพบมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุและโรคประจำตัวที่มี โดยปัญหาดังกล่าวจะส่งผลเสียต่ออารมณ์ จิตใจ และคุณภาพชีวิต แต่อย่างไรก็ตามภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศนี้สามารถรักษาและฟื้นฟูได้
สำหรับสาเหตุของภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศนั้น ในอดีตคนส่วนใหญ่มักคิดว่าเกิดจากสาเหตุทางด้านจิตใจมากกว่าทางด้านร่างกาย แต่ในปัจจุบันพบว่ากว่า 80 % นั้นเกิดจากสาเหตุทางด้านร่างกายมากกว่า [1]
ปัจจัยทางด้านร่างกายที่ทำให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ แบ่งออกเป็น 2 ประเด็น คือ
- ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน
โดยสาเหตุที่เกิดขึ้นจากฮอร์โมนแล้วนำไปสู่ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศคือ การที่มีระดับฮอร์โมนเพศชาย หรือ Testosterone ลดต่ำลง ซึ่งจะมีผลต่อความรู้สึกทางเพศอีกด้วย
- ปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน แบ่งได้เป็น 3 สาเหตุความเกี่ยวข้อง คือ
- เกิดจากความเกี่ยวข้องกับหลอดเลือด สาเกตุข้อนี้เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด
- เกิดจากความเกี่ยวข้องกับระบบทางประสาท
- เกิดจากการใช้ยา หรือการผ่าตัด ทำให้เกิดผลข้างเคียง
ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ สัญญาณอันตรายของโรคหัวใจและหลอดเลือด[2-7]
ประมาณ 50% ของผู้ชายที่มีโรคเส้นเลือดหัวใจตีบจะมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศร่วมด้วย [8]เนื่องจากว่าหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงอวัยวะเพศชายจะมีขนาดเล็กกว่าหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ จึงมีแนวโน้มที่จะเกิดการอุดตันได้ง่ายกว่า ดังนั้นหากมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ สิ่งที่ต้องระวังต่อไปในอนาคตก็คือ ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบและโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ซึ่งอาจจะเกิดตามมาภายใน 5 ปี [9-10]
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ชายที่อายุน้อย แล้วมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศที่ไม่ทราบสาเหตุ จะมีความเสี่ยงต่อการที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้สูงถึง 50 เท่า เมื่อเทียบกับคนอายุช่วงเดียวกันที่ไม่มีปัญหาเรื่องหย่อนสมรรถภาพทางเพศ [11-12]
ดังนั้น จึงต้องเน้นย้ำว่าภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศเป็นสัญญาณเตือนถึงโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ซ่อนอยู่ และควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยความเสี่ยงหลอดเลือดอุดตัน และแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง เช่น การล้างหลอดเลือดด้วยวิธีการคีเลชั่น (Chelation Therapy)
จากการวิเคราะห์งานวิจัย 14 ชิ้นที่ครอบคลุมคนไข้มากกว่า 90,000 รายที่มีปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศ พบว่าในผู้ชายเหล่านี้มีปัญหาทางด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น 44 % มีปัญหากล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดเพิ่มขึ้น 62 % มีปัญหาโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 39 % และมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 25% เมื่อเทียบกับคนไข้ที่ไม่มีภาวะดังกล่าว [13]
ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศที่เกี่ยวข้องกับยาและการผ่าตัด
พบว่าราว 1 ใน 4 ของคนไข้ที่มีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศนั้นเกิดจากผลข้างเคียงของการใช้ยา โดยพบว่ายา 8 ใน 12 รายการที่ใช้กันบ่อยในอเมริกา ทำให้เกิดหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้ [14-15]
ยาที่สร้างปัญหาดังกล่าวได้แก่ ยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า ยารักษาโรคกระเพาะ (cimetidine) ยารักษาเชื้อรา (ketoconazole) ยาขับปัสสาวะ (spironolactone, thiazide) ยาที่ไป block ระบบประสาทซิมพาเทติก เช่น methyldopa, clonidine, guanethidine และยาลดความดันบางอย่าง (ยาในกลุ่ม ACE inhibitors และ calcium channel blockers ไม่ค่อยมีผลกระทบ กลุ่ม beta-blockers มีผลกระทบเพียงเล็กน้อย ส่วน alpha-blockers กลับช่วยให้ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศดีขึ้น [16-17]
คนไข้มะเร็งต่อมลูกหมากที่ได้รับการผ่าตัด พบว่า 85% จะมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศหลังผ่าตัดตามมา เมื่อเทียบกับกลุ่มที่รักษาด้วยการฉายแสงจะพบเพียง 25% [18]
สำหรับนักปั่นจักรยานก็มีการศึกษาวิจัยเมื่อปี 2020 ทำการศึกษาเปรียบเทียบนักปั่นจักรยาน 3,330 คน กับกลุ่มคนที่ไม่ได้ปั่นจักรยาน 1,524 คน พบว่านักปั่นจักรยานมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศมากกว่า [19]
ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ
แม้ว่าสาเหตุส่วนใหญ่ของภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศนั้นจะเกิดจากปัญหาทางด้านร่างกาย แต่ก็มีบางรายที่เกิดจากเรื่องของจิตใจเช่นกัน โดยเฉพาะในผู้ชายอายุน้อย และถึงแม้จะมีสาหตุทางด้านร่างกาย แต่ก็มักจะมีผลกระทบทางด้านจิตใจตามมาเช่นกัน
ข้อมูลจากประวัติที่บ่งชี้ว่าสาเหตุน่าจะมาจากทางด้านจิตใจ อย่างเช่นการเกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศซึ่งสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในชีวิต หรือการที่มีอวัยวะเพศแข็งตัวเป็นปกติในขณะที่ช่วยตัวเอง หรืออวัยวะเพศแข็งตัวในตอนตื่นนอนเช้าหรือในระหว่างวัน
ดังนั้น การวิเคราะห์สาเหตุว่าเป็นสาเหตุจากร่างกาย หรือสาเหตุจากจิตใจ จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการรักษาที่ถูกต้องและตรงจุด ซึ่งแพทย์จำเป็นต้องอาศัยการตรวจเลือด เพื่อเช็คจำนวนเม็ดเลือด (CBC) ดูการทำงานของตับและไต ระดับไขมันในเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด รวมทั้งระดับฮอร์โมนเพศชาย Testosterone ร่วมกับการซักประวัติเพิ่มเติม เช่น เริ่มมีสัญญาณความผิดปกติตั้งแต่ตอนไหน ปัญหาเริ่มขึ้นในช่วงเวลาใด ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรสเป็นอย่างไร เป็นไปด้วยดีหรือไม่อย่างไร ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะสามารถบ่งชี้ได้ว่าปัญหานี้เกิดจากสาเหตุใดกันแน่ ซึ่งเมื่อทราบถึงสาเหตุของการเกิดปัญหาแล้วก็จะได้วางแผนการรักษาและฟื้นฟูปัญหานั้นได้อย่างถูกต้องและตรงจุด เพื่อให้เจอทางออกของปัญหาและคืนความสุขให้กับผู้ป่วยและคู่สมรสได้อย่างดีที่สุด
References:
- Yafi FA, Jenkins L, Albersen M, et al. Erectile dysfunction. Nat Rev Dis Primers. 2016;2:16003. Published 2016 Feb 4. doi:10.1038/nrdp.2016.3
- Orimoloye OA, Feldman DI, Blaha MJ. Erectile dysfunction links to cardiovascular disease-defining the clinical value. Trends Cardiovasc Med. 2019 Nov;29(8):458-465.
- Miner M, Nehra A, Jackson G, Bhasin S, Billups K, Burnett AL, Buvat J, Carson C, Cunningham G, Ganz P, Goldstein I, Guay A, Hackett G, Kloner RA, Kostis JB, LaFlamme KE, Montorsi P, Ramsey M, Rosen R, Sadovsky R, Seftel A, Shabsigh R, Vlachopoulos C, Wu F. All men with vasculogenic erectile dysfunction require a cardiovascular workup. Am J Med. 2014 Mar;127(3):174-82.
- Miner M, Parish SJ, Billups KL, Paulos M, Sigman M, Blaha MJ. Erectile Dysfunction and Subclinical Cardiovascular Disease. Sex Med Rev. 2019 Jul;7(3):455-463.
- Corona G, Rastrelli G, Isidori AM, Pivonello R, Bettocchi C, Reisman Y, Sforza A, Maggi M. Erectile dysfunction and cardiovascular risk: a review of current findings. Expert Rev Cardiovasc Ther. 2020 Mar;18(3):155-164.
- Randrup E, Baum N, Feibus A. Erectile dysfunction and cardiovascular disease. Postgrad Med. 2015 Mar;127(2):166-72.
- Gandaglia G, et al. A systematic review of the association between erectile dysfunction and cardiovascular disease. Eur Urol. 2014;65:968–978.
- Montorsi F, Briganti A, Salonia A, Rigatti P, Margonato A, Macchi A, Galli S, Ravagnani PM, Montorsi P. Erectile dysfunction prevalence, time of onset and association with risk factors in 300 consecutive patients with acute chest pain and angiographically documented coronary artery disease. Eur Urol. 2003 Sep;44(3):360-4; discussion 364-5.
- Orimoloye OA, Feldman DI, Blaha MJ. Erectile dysfunction links to cardiovascular disease-defining the clinical value. Trends Cardiovasc Med. 2019 Nov;29(8):458-465.
- Imprialos K, Koutsampasopoulos K, Manolis A, Doumas M. Erectile Dysfunction as a Cardiovascular Risk Factor: Time to Step Up? Curr Vasc Pharmacol. 2021;19(3):301-312.
- Miner M, Nehra A, Jackson G, Bhasin S, Billups K, Burnett AL, Buvat J, Carson C, Cunningham G, Ganz P, Goldstein I, Guay A, Hackett G, Kloner RA, Kostis JB, LaFlamme KE, Montorsi P, Ramsey M, Rosen R, Sadovsky R, Seftel A, Shabsigh R, Vlachopoulos C, Wu F. All men with vasculogenic erectile dysfunction require a cardiovascular workup. Am J Med. 2014 Mar;127(3):174-82.
- Inman BA, Sauver JL, Jacobson DJ, McGree ME, Nehra A, Lieber MM, Roger VL, Jacobsen SJ. A population-based, longitudinal study of erectile dysfunction and future coronary artery disease. Mayo Clin Proc. 2009 Feb;84(2):108-13.
- Vlachopoulos CV, Terentes-Printzios DG, Ioakeimidis NK, Aznaouridis KA, Stefanadis CI. Prediction of cardiovascular events and all-cause mortality with erectile dysfunction: a systematic review and meta-analysis of cohort studies. Circ Cardiovasc Qual Outcomes. 2013 Jan 01;6(1):99-109.
- Slag MF, Morley JE, Elson MK, Trence DL, Nelson CJ, Nelson AE, Kinlaw WB, Beyer HS, Nuttall FQ, Shafer RB. Impotence in medical clinic outpatients. JAMA. 1983 Apr 01;249(13):1736-40.
- Wein AJ, Van Arsdalen KN. Drug-induced male sexual dysfunction. Urol Clin North Am. 1988 Feb;15(1):23-31.
- Ko DT, Hebert PR, Coffey CS, Sedrakyan A, Curtis JP, Krumholz HM. Beta-blocker therapy and symptoms of depression, fatigue, and sexual dysfunction. JAMA. 2002 Jul 17;288(3):351-7.
- Kirby RS, O'Leary MP, Carson C. Efficacy of extended-release doxazosin and doxazosin standard in patients with concomitant benign prostatic hyperplasia and sexual dysfunction. BJU Int. 2005 Jan;95(1):103-9; discussion 109.
- Hunt AA, Choudhury KR, Nukala V, Nolan MW, Ahmad A, Ashcraft KA, Koontz BF. Risk of erectile dysfunction after modern radiotherapy for intact prostate cancer. Prostate Cancer Prostatic Dis. 2021 Mar;24(1):128-134.
- Gan ZS, Ehlers ME, Lin FC, Wright ST, Figler BD, Coward RM. Systematic Review and Meta-Analysis of Cycling and Erectile Dysfunction. Sex Med Rev. 2021 Apr;9(2):304-311.
เข้าสู่ระบบ
Create New Account