ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ รักษาได้

โทรศัพท์ : 026515988
ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ รักษาได้
ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ รักษาได้

ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ  รักษาอย่างไร

การดูแลขั้นพื้นฐาน

อันดับแรกเลย ก็คือ การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์  ตั้งแต่ออกกำลังกายให้มากขึ้น ปรับเปลี่ยนอาหารเป็นอาหารสุขภาพ หรือ Mediterranean Diet  โดยเน้นอาหารจำพวกผัก ผลไม้  หยุดสูบบุหรี่  หยุดแอลกอฮอล์  ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด  ไขมันคอเลสเตอรอลต่าง ๆ ให้ดี  บวกกับการทบทวนยาที่ใช้อยู่  เพราะว่ามียาบางชนิดมีผลข้างเคียงให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้ 

การรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศแบบมาตรฐานทั่วไป

การรักษาแบบที่ทำกันทั่วไปนั้น เป็นการรักษาตามอาการเป็นครั้งคราว แต่ก็ไม่ใช่การแก้ไขแบบถาวรที่ต้นเหตุ โดยการรักษาจะประกอบด้วยแนวทางดังต่อไปนี้

  • วิธีที่ 1 ให้รับประทานยาในกลุ่ม Phosphodiesterase-5 (PDE5) Inhibitors

    โดยใช้หลักการที่จะทำให้เส้นเลือดที่อวัยวะเพศมีการขยายตัว มีเลือดไปเลี้ยงมากขึ้น จึงทำให้อวัยวะเพศแข็งตัวได้ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับสารบางอย่าง  ตัวที่เป็นพระเอกคือสาร cGMP  หรือ Cyclic Guanosine Monophosphate ซึ่งสารนี้จะเป็นสารสำคัญที่ทำให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลือด  สารตัวนี้จะถูกกระตุ้นโดย Nitric Oxide อีกทีหนึ่ง แต่โดยธรรมชาติที่มีการควบคุมคือ เมื่อมีการสร้าง ก็มีการสลายตัว  โดยสารที่จะไปสลาย cGMP ตามธรรมชาติ คือ  เอนไซม์ Phosphodiesterase-5 (PDE5) นั่นเอง ด้วยความรู้อันนี้จึงมีการพยายามผลิตยาที่ไปยับยั้งเอนไซม์   PDE5 เพื่อทำให้สาร cGMP อยู่ได้นาน ๆ นั่นก็คือจะทำให้การแข็งตัวของอวัยวะเพศอยู่ได้นานนั่นเอง [1] 

    ยาชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันดีในการใช้รักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศโดยมีอยู่หลายยี่ห้อ เช่น  Sildenafil  หรือ ไวอากร้า , Vardenafil  หรือ Levitra , Tadalafil หรือ Cialis®  ยาเหล่านี้ล้วนแต่ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งเอนไซม์ PDE5  ทั้งสิ้น

  • วิธีที่ 2 การใช้กระบอกสุญญากาศ ในกลุ่มคนที่ไม่ตอบสนองต่อยากลุ่มแรก หรือมีข้อห้ามใช้ยา  การใช้กระบอกสุญญากาศก็เป็นทางเลือกที่ปลอดภัยแล้วก็ได้ผล แต่ก็มีข้อเสียคือ การแข็งตัวของอวัยวะเพศจะอยู่ได้ไม่นาน  ซึ่งจะมีผลต่อเรื่องการหลั่งอีกด้วย [14] แม้ว่าประสิทธิภาพของเครื่องมือนี้จะได้ผลดี 70-80% แต่ในการใช้งานจริง ความพึงพอใจกลับต่ำ [15-16]
  • วิธีที่ 3 คือที่ใช้ยาสอดเข้าไปทางท่อปัสสาวะ โดยยาสอดจะมีขนาดเล็กใกล้เคียงกับเมล็ดข้าวสาร  โดยคนไข้จะต้องปัสสาวะทิ้งก่อน แล้วก็เอาปลายของเครื่องมือสอดเข้าไปในท่อปัสสาวะ จากนั้นก็ดันเม็ดยาสอดเข้าไป  ยาสอดจะมีตัวยาที่เรียกว่า Prostaglandin E1 อยู่ จากนั้นตัวยาก็จะละลาย และถูกดูดซึมไปยังกล้ามเนื้อของอวัยวะเพศ ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ยังผลให้เกิดการแข็งตัวของอวัยวะเพศ  ประสิทธิภาพของยาประเภทนี้อยู่ราว ๆ 50-65%  [17-18]

    ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ได้แก่ อาการแสบร้อนที่บริเวณท่อปัสสาวะ  รวมไปถึงประสิทธิภาพที่ไม่ค่อยแน่นอน จึงทำให้ความนิยมในการใช้ยาประเภทนี้ไม่มากนัก   รวมถึงราคายาที่แพง 

  • วิธีที่ 4 การใช้ยาฉีดเข้าที่อวัยวะเพศ  วิธีนี้มักเป็นตัวเลือกที่นิยมใช้ในกรณีที่การรับประทานยากลุ่ม PDE-5 inhibitor  ไม่ได้ผล [19] โดยยาที่ฉีดเข้าไปก็จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณอวัยวะเพศคลายตัว  มีหลอดเลือดขยายตัวแล้วก็เกิดการแข็งตัวขึ้น ยาที่ใช้ฉีดก็มีหลายอย่าง เช่น Papaverine , Prostaglandin E1 หรือ Alprostadil  , Phentolamine  และ Atropine [20-22]

    สำหรับผลข้างเคียงของวิธีการนี้ก็คืออาการปวด  การแข็งตัวของอวัยวะเพศนานเกินปกติ มีเลือดออกหรือมีรอยช้ำบริเวณที่ฉีด  รวมถึงการเกิดแผลเป็น  สิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องเน้นย้ำคือ  ผู้ป่วยไม่ควรเพิ่มขนาดยาฉีดด้วยตัวเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ หรือใช้ยาฉีดร่วมกับยารักษาอื่น ๆ อย่างเช่น  รับประทานยากลุ่ม PDE5 inhibitor ร่วมด้วย

  • วิธีที่ 5 การใช้ Shock Wave  หรือการรักษาด้วยคลื่นเสียง

    การบำบัดด้วย Shock Wave ความถี่ต่ำ  มีรายงานว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาคนไข้ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งไม่ตอบสนองต่อยาที่รับประทาน กลุ่ม PDE5 inhibitor [26-29]

    โดยเชื่อว่าน่าจะเกิดจากการช่วยให้ระบบไหลเวียนที่อวัยวะเพศดีขึ้น ทำให้เซลล์เยื่อบุหลอดเลือดเจริญขึ้น แล้วก็กระตุ้น Stem Cell ที่อวัยวะเพศ [30]

    ในยุคเริ่มต้นราวปี 2012 มีงานวิจัยเรื่องการใช้ Shock Wave รักษาภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ พบว่าได้ผลดีในกลุ่มคนที่เคยตอบสนองต่อยา PDE5 inhibitor มาก่อน และไม่มีปัญหาเรื่องผลข้างเคียง [31]

    มีอีกงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งซึ่งทำในคนไข้ 29 ราย  ซึ่งดื้อต่อการใช้ยารับประทาน PDE5 inhibitor พบว่าการรักษาด้วย Shock Wave ได้ผลดี [32]

  • วิธีที่ 6 คือการผ่าตัดเสริมอวัยวะเพศ  วิธีนี้จะใช้เมื่อวิธีการอื่น ๆ ไม่ได้ผล วิธีการนี้คือการผ่าตัดใส่อุปกรณ์เข้าไปที่บริเวณอวัยวะเพศ  โดยจะมี 2 แบบ แบบที่บังคับให้พับงอได้และตั้งแข็งตัวได้  กับแบบที่สูบลมให้ขยายใหญ่ขึ้น แต่ผลข้างเคียงของการใช้อุปกรณ์แบบนี้คือ  มีโอกาสเกิดการถลอก  การรั่วซึม  การติดเชื้อ  หรืออุปกรณ์เสียหายได้ [34]

การรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ  แบบทางเลือก

การรักษาที่กล่าวมาแล้วโดยเฉพาะการใช้ยารับประทานซึ่งเป็นยาเคมี บางครั้งก็เจอกับเรื่องของผลข้างเคียงหรือมีข้อห้ามไม่สามารถใช้ได้  จึงมีทางเลือกคือ การใช้สารอาหารเป็นตัวเลือกแทนการใช้ยาเคมี ซึ่งก็จะมีอยู่ประมาณ 3 รายการดังต่อไปนี้ [35]

  1. Yohimbine   เป็นสารที่สกัดมาจากเปลือกไม้ของต้น Yohimbine  ซึ่งเป็นตัวที่ใช้กันมากที่สุดก่อนที่จะเริ่มมีการใช้ยาในกลุ่ม PDE-5 inhibitor  เคยมีงานวิจัยเปรียบเทียบผลการใช้ Yohimbine  เทียบกับยาหลอกในการรักษาอาการอวัยวะเพศไม่แข็งตัวก็พบว่าได้ผลดี [36]
  2. Arginine เป็นกรดอะมิโนหรือโปรตีนหน่วยย่อยชนิดหนึ่ง  ซึ่งเมื่อเข้าไปสู่ร่างกายแล้วจะถูกเปลี่ยนเป็น Nitric Oxide อันมีผลให้หลอดเลือดขยายตัวได้  เคยมีการทำวิจัยเปรียบเทียบกับยาหลอกในยุโรป  พบว่า Arginine สามารถทำให้หลอดเลือดขยายตัวได้ดีกว่ายาหลอก  โดยทำการวิจัยในผู้ชาย 124 คน อายุระหว่าง  30-50 ปี  ซึ่งมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศในระดับปานกลาง [38] ซึ่งได้ผลดีกว่ายาในกลุ่ม PDE5 เสียอีก
  3. โสม มีการรีวิวข้อมูลจากงานวิจัยที่เป็น RCT  7 ชิ้น  ทำในคนไข้  349 คน พบว่า  ได้ผล  แต่เนื่องจากจำนวนคนไข้ที่ทดสอบและวิธีการในการวัดผลยังไม่ดีพอ จึงยังไม่สามารถสรุปผลได้แน่ชัด [39]

การรักษาด้วย Stem Cell

จนถึงปัจจุบันนี้การรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศส่วนใหญ่ ยังเป็นการรักษาตามอาการ ยังไม่ใช่วิธีการรักษาแบบหายขาด  หรือเป็นการฟื้นฟูอย่างจริงจัง  นอกจากนี้ยังพบปัญหาการดื้อยาในกลุ่ม PDE-5 inhibitors ในราว ๆ 20 %  สำหรับคนที่ไม่มีโรคประจำตัว แต่หากพบว่ามีเบาหวาน หรือเคยผ่าตัดต่อมลูกหมากมาก่อน โอกาสการดื้อยาจะเพิ่มเป็น 40 % [40]

จึงมีความพยายามที่จะหาวิธีการอื่น ๆ ช่วย  เช่น การใช้ยาฉีดเข้าไปที่บริเวณอวัยวะเพศ  การใช้กระบอกสุญญากาศ  หรือแม้แต่การผ่าตัดเสริมอวัยวะเพศ ซึ่งการรักษาเหล่านี้ก็มีข้อจำกัดเนื่องจากค่าใช้จ่ายที่สูง  มีผลข้างเคียงมากบ้าง  มีอาการปวดบ้าง  หรือได้ผลไม่เป็นที่พอใจบ้าง [41]

ดังนั้นจึงมีความต้องการที่จะพยายามหาวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ และได้ผลแบบหายขาดสำหรับคนที่มีปัญหาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ  ทำให้วงการแพทย์หันมาสนใจการใช้ Stem Cell [42]

Stem Cell เป็นเซลล์มีความสามารถในการสร้างตัวเองใหม่หรือพัฒนาไปเป็นเซลล์พิเศษต่าง ๆ ได้ [43-44]

โดยเชื่อกันว่า Stem Cell  สามารถหลั่งสารบางอย่างออกมา ไปกระตุ้นให้เนื้อเยื่อนั้น ๆ มีการซ่อมหรือการฟื้นฟูตัวเองเกิดขึ้น  ทำให้สามารถรักษาเนื้อเยื่อต่าง ๆ ที่มีความเสียหายได้

มีงานวิจัยอยู่หลายชิ้นเกี่ยวกับการใช้ Stem Cell  ในการรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งปรากฏว่าได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ [46-55] โดยงานวิจัยทั้งหมดนี้เป็นการใช้ Stem Cell ฉีดเข้าไปที่บริเวณอวัยวะเพศ [56]

งานวิจัยชิ้นแรกตีพิมพ์เมื่อปี 2010 โดยทีมวิจัยจากเกาหลี งานวิจัยนี้ใช้ Stem Cell  จากสายสะดือจำนวน 10 ล้านเซลล์ ฉีดเข้าไปที่อวัยวะเพศ โดยทำการวิจัยในผู้ชาย 7 คน  อายุ 57- 83 ปี  ที่มีปัญหาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศร่วมกับโรคเบาหวาน ผลปรากฏว่าส่วนใหญ่นั้นกลับมามีการแข็งตัวของอวัยวะเพศในตอนเช้าได้ภายใน 1 เดือนหลังจากฉีด  และยังคงอยู่มากกว่า 6 เดือน อีกทั้งยังได้รับผลพลอยได้ก็คือระดับน้ำตาลในเลือดลดลงหลังจากการฉีด 2 สัปดาห์  ซึ่งแสดงว่าการรักษาด้วย Stem Cell จากสายสะดือนั้นสามารถช่วยทั้งเรื่องภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศและเบาหวานอีกด้วย [57]

งานวิจัยที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งคือ  การวิจัยในปี 2016 เป็นการวิจัยเฟส1 โดยเปรียบเทียบการใช้ Stem Cell จากไขกระดูกในคนไข้ที่มีปัญหาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศซึ่งเคยได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากมาก่อน [58] โดยให้ในจำนวนที่แตกต่างกัน แบ่งคนไข้เป็น 4 กลุ่ม  และให้ Stem Cell จำนวน 20 ล้านเซลล์ 200 ล้านเซลล์  1,000 ล้านเซลล์  และ2,000 ล้านเซลล์ ปรากฏว่าการรักษาได้ผลดี ปราศจากผลข้างเคียง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนซึ่งได้รับ Stem Cell ปริมาณสูงสุด โดยติดตามผลเป็นระยะเวลา 6 เดือน และงานวิจัยต่อมาในเฟสที่2 ก็สรุปว่าจำนวน Stem Cell ที่พอเหมาะก็คือ 1,000 ล้านเซลล์ [59]

มีการรีวิวงานวิจัยที่เกี่ยวกับการใช้ Stem Cell ในการรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ [60] โดยรวบรวมงานวิจัย 5 ชิ้น  คนไข้ทั้งหมด 61 ราย  ทั้งในเฟส1และ2 มีการติดตามผลตั้งแต่ 6 เดือนถึง 62 เดือน โดยผลสรุปว่าการใช้ Stem Cell ได้ผลดีในการรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และไม่มีผลข้างเคียง จึงเป็นวิธีการรักษาที่มีศักยภาพในการนำมาใช้

References:

  1. Kolodny L. (2011) Chapter 17: Men’s Health: Erectile Dysfunction (pg. 971). In: Bope E., Kellerman R. (Eds.), Conn's Current Therapy (1st ed). Saunders, An Imprint of Elsevier.
  2. Heidelbaugh JJ. Management of erectile dysfunction. Am Fam Physician. 2010;81(3):305-312.
  3. Wolfe SM. There have been inadequate warnings that erectile dysfunction drugs can cause blindness: MedGenMed. 2005 Dec 5;7(4):61.
  4. Pomeranz HD. Erectile Dysfunction Agents and Nonarteritic Anterior Ischemic Optic Neuropathy. Neurol Clin. 2017 Feb;35(1):17-27.
  5. Thakur JS, Thakur S, Sharma DR, Mohindroo NK, Thakur A, Negi PC. Hearing loss with phosphodiesterase-5 inhibitors: a prospective and objective analysis with tadalafil. Laryngoscope. 2013 Jun;123(6):1527-30.
  6. Khan AS, Sheikh Z, Khan S, Dwivedi R, Benjamin E. Viagra deafness--sensorineural hearing loss and phosphodiesterase-5 inhibitors. Laryngoscope. 2011 May;121(5):1049-54.
  7. Maddox PT, Saunders J, Chandrasekhar SS. Sudden hearing loss from PDE-5 inhibitors: A possible cellular stress etiology. Laryngoscope. 2009 Aug;119(8):1586-9.
  8. Nehra A, Jackson G, Miner M, et al. The Princeton III Consensus Recommendations for the Management of Erectile Dysfunction and Cardiovascular Disease. Mayo Clin Proc. 2012;87(8):766-778.
  9. Foresta C, Caretta N, Rossato M, Garolla A, Ferlin A. Role of androgens in erectile function. J Urol. 2004 Jun;171(6 Pt 1):2358-62, quiz 2435.
  10. Snyder PJ, Bhasin S, Cunningham GR, Matsumoto AM, Stephens-Shields AJ, Cauley JA, Gill TM, Barrett-Connor E, Swerdloff RS, Wang C, Ensrud KE, Lewis CE, Farrar JT, Cella D, Rosen RC, Pahor M, Crandall JP, Molitch ME, Cifelli D, Dougar D, Fluharty L, Resnick SM, Storer TW, Anton S, Basaria S, Diem SJ, Hou X, Mohler ER, Parsons JK, Wenger NK, Zeldow B, Landis JR, Ellenberg SS., Testosterone Trials Investigators. Effects of Testosterone Treatment in Older Men. N Engl J Med. 2016 Feb 18;374(7):611-24.
  11. Brock G, Heiselman D, Maggi M, Kim SW, Rodríguez Vallejo JM, Behre HM, McGettigan J, Dowsett SA, Hayes RP, Knorr J, Ni X, Kinchen K. Effect of Testosterone Solution 2% on Testosterone Concentration, Sex Drive and Energy in Hypogonadal Men: Results of a Placebo Controlled Study. J Urol. 2016 Mar;195(3):699-705.
  12. Corona G, Rastrelli G, Morgentaler A, Sforza A, Mannucci E, Maggi M. Meta-analysis of Results of Testosterone Therapy on Sexual Function Based on International Index of Erectile Function Scores. Eur Urol. 2017 Dec;72(6):1000-1011.
  13. Mulligan T, Frick MF, Zuraw QC, Stemhagen A, McWhirter C. Prevalence of hypogonadism in males aged at least 45 years: the HIM study. Int J Clin Pract. 2006 Jul;60(7):762-9.
  14. Pinsky MR, Chawla A, Hellstrom WJ.Intracavernosal therapy and vacuum devices to treat erectile dysfunction.Archivosespanoles de urologia. Oct 2010; 63(8):717-725
  15. Rew KT, Heidelbaugh JJ. Erectile Dysfunction. Am Fam Physician. 2016 Nov 15;94(10):820-827.
  16. Khayyamfar F, Forootan SK, Ghasemi H, Miri SR, Farhadi E. Evaluating the efficacy of vacuum constrictive device and causes of its failure in impotent patients. Urol J. 2014 Jan 04;10(4):1072-8.
  17. Williams G, Abbou CC, Amar ET, Desvaux P, Flam TA, Lycklama à Nijeholt GA, Lynch SF, Morgan RJ, Müller SC, Porst H, Pryor JP, Ryan P, Witzsch UK, Hall MM, Place VA, Spivack AP, Gesundheit N. Efficacy and safety of transurethral alprostadil therapy in men with erectile dysfunction. MUSE Study Group. Br J Urol. 1998 Jun;81(6):889-94.
  18. Padma-Nathan H, Hellstrom WJ, Kaiser FE, Labasky RF, Lue TF, Nolten WE, Norwood PC, Peterson CA, Shabsigh R, Tam PY, Place VA, Gesundheit N. Treatment of men with erectile dysfunction with transurethral alprostadil. Medicated Urethral System for Erection (MUSE) Study Group. N Engl J Med. 1997 Jan 02;336(1):1-7.
  19. Rew KT, Heidelbaugh JJ. Erectile Dysfunction. Am Fam Physician. 2016 Nov 15;94(10):820-827.
  20. Duncan C, Omran GJ, Teh J, Davis NF, Bolton DM, Lawrentschuk N. Erectile dysfunction: a global review of intracavernosal injectables. World J Urol. 2019 Jun;37(6):1007-1014.
  21. Hedlund H, Hedlund P. Pharmacotherapy in erectile dysfunction agents for self-injection programs and alternative application models. Scand J Urol Nephrol Suppl. 1996;179:129-38.
  22. Armstrong DK, Convery A, Dinsmore WW. Intracavernosal papaverine and phentolamine for the medical management of erectile dysfunction in a genitourinary clinic. Int J STD AIDS. 1993 Jul-Aug;4(4):214-6.
  23. Govier FE, McClure RD, Weissman RM, Gibbons RP, Pritchett TR, Kramer-Levien D. Experience with triple-drug therapy in a pharmacological erection program. J Urol. 1993 Dec;150(6):1822-4.
  24. Shenfeld O, Hanani J, Shalhav A, Vardi Y, Goldwasser B. Papaverine-phentolamine and prostaglandin E1 versus papaverine-phentolamine alone for intracorporeal injection therapy: a clinical double-blind study. J Urol. 1995 Sep;154(3):1017-9.
  25. Linet OI, Ogrinc FG. Efficacy and safety of intracavernosal alprostadil in men with erectile dysfunction. The Alprostadil Study Group. N Engl J Med. 1996 Apr 04;334(14):873-7.
  26. Angulo JC, Arance I, de Las Heras MM, Meilán E, Esquinas C, Andrés EM. Efficacy of low-intensity shock wave therapy for erectile dysfunction: A systematic review and meta-analysis. Actas Urol Esp. 2017 Oct;41(8):479-490.
  27. Lu Z, Lin G, Reed-Maldonado A, Wang C, Lee YC, Lue TF. Low-intensity Extracorporeal Shock Wave Treatment Improves Erectile Function: A Systematic Review and Meta-analysis. Eur Urol. 2017 Feb;71(2):223-233.
  28. Clavijo RI, Kohn TP, Kohn JR, Ramasamy R. Effects of Low-Intensity Extracorporeal Shockwave Therapy on Erectile Dysfunction: A Systematic Review and Meta-Analysis. J Sex Med. 2017 Jan;14(1):27-35.
  29. Dong L, Chang D, Zhang X, Li J, Yang F, Tan K, Yang Y, Yong S, Yu X. Effect of Low-Intensity Extracorporeal Shock Wave on the Treatment of Erectile Dysfunction: A Systematic Review and Meta-Analysis. Am J Mens Health. 2019 Mar-Apr;13(2):1557988319846749.
  30. Liu MC, Chang ML, Wang YC, Chen WH, Wu CC, Yeh SD. Revisiting the Regenerative Therapeutic Advances Towards Erectile Dysfunction. Cells. 2020 May 19;9(5)
  31. Vardi Y, Appel B, Kilchevsky A, Gruenwald I. Does low intensity extracorporeal shock wave therapy have a physiological effect on erectile function? Short-term results of a randomized, double-blind, sham controlled study. The Journal of urology. May 2012; 187(5):1769-1775.
  32. Gruenwald I, Appel B, Vardi Y. Low-intensity extracorporeal shock wave therapy--a novel effective treatment for erectile dysfunction in severe ED patients who respond poorly to PDE5 inhibitor therapy. The journal of sexual medicine. Jan 2012;9(1):259-264.
  33. Burnett AL, Rojanasarot S, Amorosi SL. An Analysis of a Commercial Database on the Use of Erectile Dysfunction Treatments for Men With Employer-Sponsored Health Insurance. Urology. 2021 Mar;149:140-145.
  34. Sooriyamoorthy T, Leslie SW. Erectile Dysfunction. [Updated 2021 Aug 12]. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2021 Jan-. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK562253/
  35. Pastuszak AW. Current Diagnosis and Management of Erectile Dysfunction. Curr Sex Health Rep. 2014;6(3):164-176. doi:10.1007/s11930-014-0023-9
  36. Ernst E, Pittler MH. Yohimbine for erectile dysfunction: a systematic review and meta-analysis of randomized clinical trials. J Urol. 1998;159(2):433–6.
  37. Montague DK, Jarow JP, Broderick GA, Dmochowski RR, Heaton JP, Lue TF, et al. Chapter 1: The management of erectile dysfunction: an AUA update. J Urol. 2005;174(1):230–9.
  38. Ledda A, Belcaro G, Cesarone MR, Dugall M, Schonlau F. Investigation of a complex plant extract for mild to moderate erectile dysfunction in a randomized, double-blind, placebo-controlled, parallel-arm study. BJU Int. 2010;106(7):1030–3.
  39. Jang DJ, Lee MS, Shin BC, Lee YC, Ernst E. Red ginseng for treating erectile dysfunction: a systematic review. Br J Clin Pharmacol. 2008;66(4):444–50.
  40. Lin C.-S. Advances in Stem Cell Therapy for Erectile Dysfunction. Adv. Androl. 2014;2014:140618. doi: 10.1155/2014/140618.
  41. Yafi F.A., Jenkins L., Albersen M., Corona G., Isidori A.M., Goldfarb S., Maggi M., Nelson C.J., Parish S., Salonia A. Erectile dysfunction. Nat. Rev. Dis. Primers. 2016;2:1–20. doi: 10.1038/nrdp.2016.3.
  42. Soebadi M.A., Moris L., Castiglione F., Weyne E., Albersen M. Advances in stem cell research for the treatment of male sexual dysfunctions. Curr. Opin. Urol. 2016;26:129–139. doi: 10.1097/MOU.0000000000000255.
  43. Zhang H., Albersen M., Jin X., Lin G. Stem cells: Novel players in the treatment of erectile dysfunction. Asian J. Androl. 2012;14:145–155. doi: 10.1038/aja.2011.79.
  44. Lin CS, Xin ZC, Wang Z, et al. : Stem cell therapy for erectile dysfunction: a critical review. Stem Cells Dev. 2012;21(3):343–51. 10.1089/scd.2011.0303
  45. Haahr M.K., Jensen C.H., Toyserkani N.M., Andersen D.C., Damkier P., Sørensen J.A., Sheikh S.P., Lund L. A 12-Month Follow-up after a Single Intracavernous Injection of Autologous Adipose-Derived Regenerative Cells in Patients with Erectile Dysfunction Following Radical Prostatectomy: An Open-Label Phase I Clinical Trial. Urology. 2018;121:203.e6–203.e13. doi: 10.1016/j.urology.2018.06.018.
  46. Haahr M.K., Jensen C.H., Toyserkani N.M., Andersen D.C., Damkier P., Sørensen J.A., Sheikh S.P., Lund L. A 12-Month Follow-up after a Single Intracavernous Injection of Autologous Adipose-Derived Regenerative Cells in Patients with Erectile Dysfunction Following Radical Prostatectomy: An Open-Label Phase I Clinical Trial. Urology. 2018;121:203.e6–203.e13. doi: 10.1016/j.urology.2018.06.018.
  47. Bahk J.Y., Jung J.H., Han H., Min S.K., Lee Y.S. Treatment of diabetic impotence with umbilical cord blood stem cell intracavernosal transplant: Preliminary report of 7 cases. Exp. Clin. Transplant. Off. J. Middle East Soc. Organ Transplant. 2010;8:150–160.
  48. Garber M.G., Carlos N.D. Intracavernous Administration of Adipose Stem Cells: A New Technique of Treating Erectile Dysfunction in Diabetic Patient, Preliminary Report of 6 Cases. MOJ Cell Sci. Rep. 2015;2:5–8.
  49. Ichim T.E., Warbington T., Cristea O., Chin J.L., Patel A.N. Intracavernous administration of bone marrow mononuclear cells: A new method of treating erectile dysfunction? J. Transl. Med. 2013;11:139. doi: 10.1186/1479-5876-11-139.
  50. Yiou R., Hamidou L., Birebent B., Bitari D., Lecorvoisier P., Contremoulins I., Khodari M., Rodriguez A.-M., Augustin D., Roudot-Thoraval F., et al. Safety of Intracavernous Bone Marrow-Mononuclear Cells for Postradical Prostatectomy Erectile Dysfunction: An Open Dose-Escalation Pilot Study. Eur. Urol. 2016;69:988–991. doi: 10.1016/j.eururo.2015.09.026.
  51. Protogerou V., Michalopoulos E., Mallis P., Gontika I., Dimou Z., Liakouras C., Stavropoulos-Giokas C., Kostakopoulos N., Chrisofos M., Deliveliotis C. Administration of Adipose Derived Mesenchymal Stem Cells and Platelet Lysate in Erectile Dysfunction: A Single Center Pilot Study. Bioenergy. 2019;6:21. doi: 10.3390/bioengineering6010021.
  52. Al Demour S., Jafar H., Adwan S., AlSharif A., Alhawari H., Alrabadi A., Zayed A., Jaradat A., Awidi A. Safety and Potential Therapeutic Effect of Two Intracavernous Autologous Bone Marrow Derived Mesenchymal Stem Cells injections in Diabetic Patients with Erectile Dysfunction: An Open Label Phase I Clinical Trial. Urol. Int. 2018;101:358–365. doi: 10.1159/000492120.
  53. Levy J.A., Marchand M., Iorio L., Cassini W., Zahalsky M.P. Determining the Feasibility of Managing Erectile Dysfunction in Humans with Placental-Derived Stem Cells. J. Am. Osteopath. Assoc. 2016;116:e1–e5. doi: 10.7556/jaoa.2016.007.
  54. Protogerou V., Beshari S. El, Michalopoulos E., Mallis P., Chrysikos D., Samolis A.A., Stavropoulos-Giokas C., Troupis T. The Combined Use of Stem Cells and Platelet Lysate Plasma for the Treatment of Erectile Dysfunction: A Pilot Study–6 Months Results. Medicines. 2020;7:14. doi: 10.3390/medicines7030014.
  55. Yiou R., Hamidou L., Birebent B., Bitari D., Le Corvoisier P., Contremoulins I., Rodriguez A.M., Augustin D., Roudot-Thoraval F., de la Taille F., et al. Intracavernous Injections of Bone Marrow Mononucleated Cells for Postradical Prostatectomy Erectile Dysfunction: Final Results of the INSTIN Clinical Trial. Eur. Urol. Focus. 2017;3:643–645. doi: 10.1016/j.euf.2017.06.009.
  56. Protogerou V, Chrysikos D, Karampelias V, Spanidis Y, Sara EB, Troupis T. Erectile Dysfunction Treatment Using Stem Cells: A Review. Medicines (Basel). 2021;8(1):2. Published 2021 Jan 6. doi:10.3390/medicines8010002
  57. Bahk J.Y., Jung J.H., Han H., Min S.K., Lee Y.S. Treatment of diabetic impotence with umbilical cord blood stem cell intracavernosal transplant: Preliminary report of 7 cases. Exp. Clin. Transplant. Off. J. Middle East Soc. Organ Transplant. 2010;8:150–160.
  58. Yiou R., Hamidou L., Birebent B., Bitari D., Lecorvoisier P., Contremoulins I., Khodari M., Rodriguez A.-M., Augustin D., Roudot-Thoraval F., et al. Safety of Intracavernous Bone Marrow-Mononuclear Cells for Postradical Prostatectomy Erectile Dysfunction: An Open Dose-Escalation Pilot Study. Eur. Urol. 2016;69:988–991. doi: 10.1016/j.eururo.2015.09.026.
  59. Yiou R., Hamidou L., Birebent B., Bitari D., Le Corvoisier P., Contremoulins I., Rodriguez A.M., Augustin D., Roudot-Thoraval F., de la Taille F., et al. Intracavernous Injections of Bone Marrow Mononucleated Cells for Postradical Prostatectomy Erectile Dysfunction: Final Results of the INSTIN Clinical Trial. Eur. Urol. Focus. 2017;3:643–645. doi: 10.1016/j.euf.2017.06.009.
  60. Lokeshwar SD, Patel P, Shah SM, Ramasamy R. A Systematic Review of Human Trials Using Stem Cell Therapy for Erectile Dysfunction. Sex Med Rev. 2020;8(1):122-130. doi:10.1016/j.sxmr.2019.08.003
SEND A MESSAGE
Your email address will not be published. Required fields are marked.
CALL US : 02 651 5988
Select AH Find Dr Contact Us