หัวใจและหลอดเลือด

โทรศัพท์ : 026515988
หัวใจและหลอดเลือด
หัวใจและหลอดเลือด

โรคหัวใจและหลอดเลือด


จากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ.2555 - 2558 พบอัตราการตายด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ต่อประชากร 1 แสนคนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และสถิติระดับโลกพบว่าทุก 2 วินาที จะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้ 1 คน...คงต้องบอกน่ากลัวมากทีเดียว และที่น่ากลัวกว่านั้น 60-70% ของผู้ป่วยโรคหัวใจ มีภาวะหัวใจวายเฉียบพลันและถึงแก่ชีวิตโดยไม่มีอาการนำ คงถึงเวลาแล้วที่เราต้องเข้าใจโรคหลอดเลือดหัวใจอย่างจริงจัง .

ดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติ แต่เหตุใดเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ?
ในอดีตมีความเชื่อว่าสาเหตุหลักโรคหลอดเลือดหัวใจมาจากไขมันโคเลสเตอรอลสูงจนไปสะสมและทำให้หลอดเลือดอุดตัน แต่ ณ ปัจจุบันมีหลักฐานเพิ่มเติมถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ส่วนใหญ่เกิดจากการอักเสบในหลอดเลือด ก่อให้เกิดลิ่มเลือดไปอุดตันในที่สุด ซึ่งสาเหตุของการอักเสบของหลอดเลือดนั้นเป็นผลมาจาก Life Style ชีวิตยุคดิจิตอลที่เร่งรีบ ทำให้เกิดการสะสมของสารพิษในร่างกาย ซึ่งเราไม่อาจปฏิเสธอาหารจานด่วน ปัญหาความเครียด พักผ่อนน้อย อีกทั้งยังต้องเจอกับสารพิษ สารปนเปื้อนอยู่ตลอดเวลา ทั้งยาฆ่าแมลงจากผักผลไม้ เนื้อสัตว์และไข่ที่มีสารเคมี ปนเปื้อน รวมถึงมลพิษทางอากาศ ซึ่งสารพิษเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการอักเสบในหลอดเลือด และส่งผลให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดสมองตีบในท้ายที่สุด

อาการที่พบบ่อยของผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบ ได้แก่ เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกบริเวณด้านซ้ายหรือกลางลิ้นปี่ ปวดร้าวไปสะบักไหล่หรือแขนซ้ายได้
โดยอาการเจ็บจะแน่นหนักคล้ายก้อนหินทับ ซึ่งสามารถตรวจวินิจฉัยได้จากการซักประวัติ อาการ ร่วมกับการตรวจเพิ่มเติมตามความเหมาะสม ได้แก่ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) การตรวจสมรรถภาพการทำงานของหัวใจขณะออกกำลังกายหรือการเดินสายพาน (Exercise Stress Test) การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) รวมถึงการฉีดสีดูสภาพการไหลเวียนของหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งวิธีเหล่านี้สามารถวินิจฉัยได้เฉพาะผู้ป่วยที่มีปัญหาหลอดเลือดตีบตันแล้วเท่านั้น



การรักษาตามแบบแผนการแพทย์ทั่วไป ทำได้หลายวิธี ได้แก่ รับประทานยา อาทิ ยาขยายหลอดเลือดหัวใจ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด ยาลดไขมันในเลือด การทำบอลลูนขยายหลอดเลือด และการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ หรือที่รู้จักกันว่า “การทำบายพาส” แนวทางรักษาขึ้นกับความรุนแรงของโรคและดุลพินิจของแพทย์

สำหรับการรักษาเชิงป้องกันแบบการแพทย์เชิงรุก แนวทางการแพทย์แบบบูรณาการ นอกจากการรักษาโรคเมื่อป่วยแล้ว การตรวจหาระดับความอักเสบของหลอดเลือด สาเหตุแห่งโรคเพื่อวางแผนป้องกันตั้งแต่ยังไม่ป่วย คือหัวใจหลักที่เราให้ความสำคัญ ด้วยการตรวจค่า High Sensitivity C-reactive protein (Hs-CRP) อีกหนึ่งวิธีที่ดีในการคัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และพิจารณาปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น ภาวะดื้ออินซูลิน ระดับของเสียโฮโมซีสเตอีน ระดับอนุมูลอิสระ ระดับสารพิษโลหะหนัก รวมถึง ภาวะลำไส้รั่วซึมและการติดเชื้อแอบแฝง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของผนังหลอดเลือด

การรักษาแบบเฉพาะบุคคลด้วยการแพทย์แบบเชิงรุก
เมื่อทราบปัจจัยเสี่ยง เราเน้นพุ่งเป้าแก้ปัญหารักษาที่ต้นเหตุปัจจัยเสี่ยง และป้องกันการเกิดโรคควบคู่กัน เช่น แก้ไขภาวะดื้ออินซูลิน ใช้กระบวนการ Oxidation ปรับลดการอักเสบของหลอดเลือด การรักษาด้วยคีเลชั่นบำบัด (Chelation Therapy) เป็นการล้างพิษทางระบบหลอดเลือด โดยใช้กรดอะมิโน EDTA ผสมกับวิตามินเข้าไปจับกับสารพิษในร่างกายและขับออกมาทางปัสสาวะ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดการอุดตันของหลอดเลือดอันเนื่องมาจากสารพิษโลหะหนักได้ และให้สารต้านอนุมูลอิสระ การใช้สารอาหาร วิตามินบำบัด สมุนไพรบำบัด และการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต แนวทางการดูแลรักษาต่างๆ ล้วนเป็นการป้องกันที่ต้นเหตุช่วยให้คุณห่างไกลจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้อย่างไม่ยากเลย

 

วิดีโอที่เกี่ยวข้อง
SEND A MESSAGE
Your email address will not be published. Required fields are marked.
CALL US : 02 651 5988
Select AH Find Dr Contact Us