โรคหัวใจและโรคหลอดเลือด

โทรศัพท์ : 026515988
โรคหัวใจและโรคหลอดเลือด
บทความโดย นายแพทย์ ศิต เธียรฐิติ แพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านการแพทย์บูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย
โรคหัวใจและโรคหลอดเลือด

ทุกวันนี้อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจเพิ่มขึ้นทุกปี และราว ๆ 60-70% ของผู้ป่วยโรคหัวใจจะมีภาวะหัวใจวายเฉียบพลันและถึงแก่ชีวิต โดยที่ไม่มีอาการใดๆนำมาก่อนเลย

ก่อนหน้านี้ เราเคยมีความเชื่อว่าสาเหตุหลักของโรคหลอดเลือดหัวใจมาจากไขมันคอเลสเตอรอลสูงจนไปสะสมและทำให้หลอดเลือดอุดตัน แต่จากงานวิจัยล่าสุดกลับพบว่าสาเหตุที่แท้จริงมาจากการอักเสบเรื้อรังของผนังหลอดเลือด โดยพบว่ามีปัจจัยกระตุ้นดังต่อไปนี้

1. ไขมันทรานส์ ที่มักพบในครีมเทียม เนยเทียม และน้ำมันผ่านกรรมวิธีต่างๆ
2. ไขมันไตรกรีเซอไรด์
3. ระดับน้ำตาล
4. สารพิษและอนุมูลอิสระต่างๆ
5. ภาวะเลือดเป็นกรดอันมีสาเหตุมาจาก อาหาร, กลไกการเผาผลาญของร่างกาย รวมไปถึงสภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจนในผู้ที่มีปัญหานอนกรนหรือหยุดหายใจระหว่างการนอน
6. ฮอร์โมนเพศเสียสมดุล
7. การคั่งของสาร Homocysteine อันเนื่องจากร่างกายเสียสมดุลในการเผาผลาญกรดอะมิโน
8. ภาวะลำไส้แปรปรวนและการเสียสมดุลของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร
9. ความเครียดและการพักผ่อนน้อย

 

โรคหลอดเลือดหัวใจมีอาการอย่างไรบ้าง

ราวๆ 60-70% ของผู้ป่วยโรคนี้จะไม่มีอาการนำ และจะเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันและอาจจะเสียชีวิตทันที  แต่ในผู้ที่มีอาการ มักจะมีอาการดังต่อไปนี้

1. เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกบริเวณด้านซ้ายหรือกลางลิ้นปี่ บางรายอาจพบอาการปวดเสียดร้าวไปสะบักไหล่หรือแขนซ้ายได้ โดยลักษณะของอาการเจ็บจะแน่นหนักคล้ายก้อนหินทับ
2. เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
3. ในรายที่มีภาวะหัวใจวายหรือหัวใจล้มเหลว อาจพบอาการขาบวม นอนราบไม่ได้ ไอมีเสมหะเป็นสีชมพูแดง 

 

เรามีวิธีตรวจวินิฉัยได้อย่างไร

 ในรายที่มีอาการเราสามารถวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบได้จากอาการของผู้ป่วยร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ทั้งสภาวะปกติและสภาวะออกกำลังกาย หรือที่เรียกกันว่าเดินสายพาน การตรวจเลือดดูค่าเอนไซม์หัวใจ (cardiac marker) การทำ echocardiography หรือแม้กระทั่งการฉีดสีดูสภาพการไหลเวียนของหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเทคนิคต่าง ๆ เหล่านี้สามารถบอกปัญหาหรือวินิจฉัยได้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาหลอดเลือดที่ตีบตันไปแล้ว

ส่วนผู้ที่มีความเสี่ยงแต่ยังไม่มีการตีบตันของหลอดเลือด การตรวจด้วยเทคนิคเหล่านี้อาจไม่สามารถบอกความเสี่ยงได้เลย

 ด้วยองค์ความรู้ปัจจุบันที่เราทราบถึงต้นเหตุของการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบมาจากการอักเสบของผนังหลอดเลือด การตรวจวัดระดับการอักเสบผ่านค่า C-reactive protein (Hs-CRP) จึงถือเทคโนโลยีใหม่ในการตรวจประเมินความเสี่ยงของภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งถ้าพิจารณาคู่กับปัจจัยเสี่ยงอื่นดังที่กล่าวไว้เช่น ประเมินระดับน้ำตาล และฮอร์โมนอินสุลิน ระดับ homocysteine ระดับสมดุลฮอร์โมน ระดับสารพิษต่าง ๆ ในร่างกาย ก็ทำให้เราสามารถประเมินความเสี่ยงก่อนเกิดโรคได้และนำมาซึ่งหนทางแห่งการป้องกันในการเกิดโรคที่ถูกต้องนั่นเอง

 

การรักษาเชิงป้องกัน วิถีการแพทย์แบบบูรณาการ

           เมื่อเราตรวจวินิจฉัยความเสี่ยงต่าง ๆ ได้แล้ว เราก็ทำการรักษาปัจจัยเสี่ยงนั้น อาทิ การใช้สารอาหารบำบัดอันเป็นต้นเหตุของโรคเบาหวาน การใช้การรักษาแบบ oxidation therapy หรือออกซิเดชั่นบำบัดเพื่อปรับภูมิต้านทานและลดการอักเสบของหลอดเลือด ใช้การรักษาคีเลชั่นบำบัดและให้สารต้านอนุมูลอิสระ เพื่อกำจัดสารพิษและอนุมูลอิสระอันก่อให้เกิดการอักเสบของผนังหลอดเลือด

            เป้าหมายในการรักษาเพื่อแก้ไขต้นเหตุ และรักษาความเสื่อมจากการอักเสบเรื้อรังของผนังหลอดเลือดก่อนที่หลอดเลือดจะเกิดการตีบตันนั่นเอง

SEND A MESSAGE
Your email address will not be published. Required fields are marked.
CALL US : 02 651 5988
Select AH Find Dr Contact Us