ตับเป็นหนึ่งในอวัยวะที่ทำงานหนักที่สุดในร่างกายมนุษย์ ทำหน้าที่สำคัญๆหลายอย่าง มีบทบาทสำคัญในการย่อยอาหารและเสริมสร้างเนื้อเยื่อต่างๆ เป็นที่เก็บสะสมของวิตามินและแร่ธาตุสำคัญหลายชนิด เช่น เหล็ก ทองแดง วิตามินบี 12 วิตามิน เอ ดี อี เค และยังเป็นแหล่งผลิตเม็ดเลือดแดงด้วย นอกจากนี้ Kupffer cells ในตับยังช่วยกรองเชื้อโรคต่าง ๆ จากกระแสเลือดอีกด้วย
ตับเป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญที่สุดในการดีท็อกซ์สารพิษโดยเฉพาะสารพิษที่มาจากลำไส้ ขบวนการดีท็อกซ์ที่ตับเป็นปฎิกิริยาทางเคมีที่ซับซ้อน ช่วยเปลี่ยนสารพิษที่ละลายในไขมันให้อยู่ในรูปที่ละลายน้ำได้และสามารถขับออกทางปัสสาวะหรือน้ำดี โดยปกติแล้วสารพิษที่เข้าสู่ร่างกายจำนวนไม่น้อย มีคุณสมบัติละลายในไขมัน ดังนั้น จึงสะสมอยู่ตามเนื้อเยื่อชั้นไขมันต่าง ๆ และผนังเซลล์
ในเลือดส่วนใหญ่ที่ผ่านการกรองที่ตับมาจากเส้นเลือดใหญ่ของตับ (portal vein) ซึ่งนำเลือดมาจากลำไส้ จากนั้นตับก็จะกำจัดเชื้อโรคต่างๆ เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส พยาธิ ออกจากกระแสเลือด
การดีท็อกซ์ที่ตับเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง เพราะราว 90 % ของมะเร็งเกิดจากสารพิษที่ได้รับในสิ่งแวดล้อม ทั้งควันบุหรี่ อาหาร น้ำ และอากาศ
สารพิษที่ผ่านการดีท็อกซ์ที่ตับมีทั้งที่เกิดขึ้นในร่างกายเองและได้จากสิ่งแวดล้อม ขบวนการดีท็อกซ์ที่ตับ แบ่งออกเป็น 2 ช่วงตามการทำงานของเอนไซม์ คือเฟส 1 และ เฟส 2
ประสิทธิภาพการดีท็อกซ์ที่ตับในแต่ละคนมีความแตกต่างกันขึ้นกับพันธุกรรม เช่น บางคนสามารถกำจัดสารก่อมะเร็งที่อยู่ในควันบุหรี่ได้ดีปอดจึงไม่เป็นอะไรมาก ในขณะที่บางคนที่สูดควันบุหรี่กลับกลายเป็นมะเร็งปอด คนที่มีการทำงานของเฟส 1 ไม่ดีจะเกิดอาการผิดปกติ เวลาทานกาแฟหรือเกิดการแพ้น้ำหอม เป็นต้น ผลข้างเคียงที่สำคัญในกระบวนการดีท๊อกซ์เฟส 1 คือการเกิดอนุมูลอิสระซึ่งถ้ามีมากเกินไปก็จะเป็นอันตรายต่อเซลล์ตับ สารต้านอนุมูลอิสระ จะช่วยลดอันตรายดังกล่าวได้
ถ้าหากสารตัวกลางที่เกิดจากเฟส 1 ไม่ถูกกำจัดต่อในเฟส 2 สารเหล่านั้นจะกลายเป็นสารก่อมะเร็ง คนที่มีเฟส 1 ทำงานดี แต่เฟส 2 ติดขัด จะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยจากสารพิษ ดังนั้น เฟส 1 และเฟส 2 จึงต้องมีความสัมพันธ์กัน
สารอาหารหลายชนิดมีบทบาทสำคัญในกระบวนการดีท็อกซ์ที่ตับ ได้แก่ วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามิน บี ซี อี และ selenium นอกจากนี้กรดอะมิโนต่าง ๆ ก็เป็นส่วนประกอบสำคัญในเฟส 2 ได้แก่ glycine, cysteine, glutamine, methionine, taurine, glutamic acid และ aspartic acid
นอกจากที่ตับแล้วเรายังพบว่ามีกระบวนการดีท็อกซ์ในส่วนอื่นของร่างกายด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์สมอง การขาดสารต้านอนุมูลอิสระและสารอาหารต่าง ๆ ที่จำเป็นจึงทำให้เกิดการทำลายของเซลล์ประสาทอย่าง เช่นที่พบในโรค Alzheimer และ Parkinson
อาหารจำพวกกะหล่ำปลี บล็อกโคลี มีสารอาหารที่ช่วยกระตุ้นการดีท็อกซ์ทั้งเฟส 1 และเฟส 2 โดยมีสาระสำคัญอย่างเช่น indole-3-carbinol จึงช่วยปกป้องอันตรายจากสารพิษต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารก่อมะเร็ง เช่นเดียวกับสาร limonene ที่พบในผลไม้ประเภทส้มก็ออกฤทธิ์เช่นเดียวกัน
สารที่มีฤทธิ์ยับยั้งการดีท็อกซ์ของเฟส 1 จะทำให้สารพิษตกค้างอยู่ในร่างกายนานขึ้น จึงเป็นอันตรายต่อร่างกาย ตัวอย่างเช่น ยาในกลุ่มbenzodiazepines; antihistamines; cimetidine and other stomach-acid secretion blocking drugs; ketoconazole; sulfaphenazole
“สารที่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเฟส 2 ได้แก่ ยากลุ่ม NSAID เช่นAspirin”
สมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อตับมีหลายชนิด แต่ที่มีงานวิจัยน่าสนใจที่สุดคือ Silymarin สารตัวนี้ช่วยปกป้องเซลล์ตับจากการถูกทำลายและยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดีท็อกซ์อีกด้วย โดยทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (มีฤทธิ์แรงกว่าวิตามินอีและซีหลายเท่า) ช่วยเพิ่มการสังเคราะห์ glutathione ถึง 35% และช่วยการสร้างเซลล์ตับใหม่ ขนาดที่ใช้ คือ 70-210 mg วันละ 3 ครั้ง
สารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญที่สุดในเฟส 1 คือ glutathione แต่ถ้าสารพิษในเฟส 1 มีมาก จะทำให้ glutathione ถูกใช้ไปมาก ทำให้เฟส 2 ซึ่งต้องใช้ glutathione เช่นกันเกิดการชะงัก ทำให้สารอนุมูลอิสระเกิดการสะสมและเป็นอันตรายต่อเซลล์ตับ glutathione ช่วยปกป้องร่างกายจากอันตรายของควันบุหรี่ รังสี เคมีบำบัดและสารพิษอื่นๆ เช่น แอลกอฮอลล์
Glutathione ได้มาจากสองแหล่ง คือจากอาหารและจากการสังเคราะห์ขึ้นเอง อาหารที่มี glutathione มาก ได้แก่ ผักและผลไม้สด ปลาและเนื้อสัตว์ ที่ผ่านการปรุง glutathione ในอาหารจะถูกดูดซึมได้ดี ต่างจาก glutathione ที่เป็นอาหารเสริมซึ่งดูดซึมได้ไม่ดี จึงจำเป็นต้องให้ทางหลอดเลือดแทน
การสังเคราะห์ glutathione ในร่างกายต้องอาศัยกรดอะมิโนหลายชนิด ได้แก่ cysteine, glycine, glutamate และต้องอาศัย magnesium ด้วย อาหารที่มี cysteine ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ กระเทียม หัวหอม บล็อกโคลี เป็นต้น ส่วนอาหารประเภท gluten (พบในธัญพืช เช่น ข้าวสาลี) และ casein (โปรตีนในนม) จะยับยั้งการดูดซึม cysteine ทำให้ร่างกายขาด glutathione ได้ มีโรคหลายโรคที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอนุมูลอิสระ และการขาด glutathione อย่างเช่นเด็กที่มีปัญหาออทิสติกหรือผู้ใหญ่ที่เป็นโรคภูมิทำลายตัวเองจึงควรงดอาหารดังกล่าว
เข้าสู่ระบบ
Create New Account