รู้จักกับโรคความดันโลหิต

โทรศัพท์ : 026515988
รู้จักกับโรคความดันโลหิต
บทความโดย นพ.ศิต เธียรฐิติ แพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านการแพทย์บูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย
รู้จักกับโรคความดันโลหิต

ทุกคนคงเคยตรวจวัดความดันเวลาตรวจสุขภาพ แต่คงน้อยคนที่จะเข้าใจว่าค่านั้นบอกอะไรได้บ้าง โดยปกติแล้วการวัดค่าความดันโลหิตจะแสดงผลออกมา 2 ค่า บันทึกค่าเป็นสัดส่วนเช่น 130/80 mmHg

  • SYSTOLIC คือ ตัวเลขตัวบนซึ่งมีค่ามากกว่า เป็นการวัดค่าความดันของหลอดเลือดแดงในขณะที่หัวใจบีบตัว

  • DIASTOLIC คือ ตัวเลขตัวล่างซึ่งมีค่าน้อยกว่า เป็นการวัดค่าความดันของหลอดเลือดแดงในขณะที่หัวใจคลายตัว

โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงมีหลายประเภท ซึ่งมีสาเหตุที่แตกต่างกัน อาทิ การอักเสบเรื้อรังของหลอดเลือด ความผิดปกติของต่อมหมวกไต ความผิดปกติของลิ้นหัวใจหรือโครงสร้างหัวใจ ความผิดปกติของหลอดเลือดตั้งแต่กำเนิด แต่สาเหตุที่พบบ่อยมากที่สุดมาจากการอักเสบเรื้อรังของผนังหลอดเลือดจนมีคราบหินปูนและคราบไขมันพลาคเกาะตามผนังหลอดเลือดทำให้การยืดหยุ่นตัวของหลอดเลือดเสียไปเกิดสภาวะที่เรียกว่าหลอดเลือดตีบแข็ง(Atherosclerosis) ซึ่งส่งผลสะท้อนให้เกิดกลไกผ่านระบบประสาทอัตโนมัติและฮอร์โมนเพื่อเพิ่มแรงดันในการบีบตัวของหัวใจเกิดเป็นสภาวะความดันโลหิตสูงขึ้น

ซึ่งถ้าไม่รักษาสภาวะแรงดันสูงดังกล่าวจะไปมีผลให้หลอดเลือดฝอยเล็ก ๆ ตามอวัยวะเกิดความเสื่อมขึ้น อันเป็นผลแทรกซ้อนตามมาจากโรคนี้ เช่น จอประสาทตาเสื่อม โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคไต เป็นต้น

โรคความดันโลหิตต่ำ

ปัญหาความดันต่ำเกิดกับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับกลไกประสาทอัตโนมัติไม่ดี นั่นคือระบบที่ควบคุมแรงดันของหัวใจและระบบประสาทอัตโนมัติต่างๆ เราทำให้หัวใจเต้นแรงขึ้นหรือน้อยลงไม่ได้ แต่ควบคุมความแรงได้โดยระบบประสาทอัตโนมัติ

ระบบประสาทอัตโนมัติที่ตอบสนองไม่ดีจะทำให้การยืดหยุ่นตัวของหลอดเลือด การเต้นของหัวใจได้จังหวะที่ไม่ดีมากพอ โดยมีอาการคือ ลุกขึ้น นั่งลงเร็ว ๆจะมึนหัว

เราต้องปรับสมดุลเส้นประสาท เป็นเรื่องของการสารสื่อประสาท และการไปฝึกให้หัวใจบีบตัวได้แรงขึ้น อาจจะใช้วิตามิน ใช้สารอาหารเข้าไปช่วย เช่น โคเอนไซม์คิวเทน หรือวิตามินอย่าง Hawthorn (สารจำพวกเบอร์รี่) กินเปปไทน์บำรุงหัวใจและวิธีอื่น ๆ ที่ช่วยรักษาในโรคหลอดเลือด

หากวัดความดันโลหิตแล้วอยู่ในช่วงที่สูงกว่าค่าปกติเพียงครั้งเดียว จะยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่หากมีการวัดความดันโลหิต 3 ครั้ง ในโอกาสที่แตกต่างกันแล้วยังได้ค่าที่สูงกว่าปกติทั้ง 3 ครั้ง ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาต่อไป

หากวัดความดันโลหิตแล้วอยู่ในช่วงที่ต่ำกว่าค่าปกติ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ แต่หากความดันต่ำมากจนผิดปกติ ท่านสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อเตรียมการรักษาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ                       

SEND A MESSAGE
Your email address will not be published. Required fields are marked.
CALL US : 02 651 5988
Select AH Find Dr Contact Us