เล่นมือถือมาก นั่งพิมพ์งานนาน ๆ ระวัง! เส้นประสาทกดทับข้อมือ

โทรศัพท์ : 026515988
เล่นมือถือมาก นั่งพิมพ์งานนาน ๆ ระวัง! เส้นประสาทกดทับข้อมือ
พญ.ส่งแสง กาญจนวิสิษฐผล ปริญญาโทการแพทย์แผนเยอรมัน และแพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านแพทย์บูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย
เล่นมือถือมาก นั่งพิมพ์งานนาน ๆ ระวัง! เส้นประสาทกดทับข้อมือ

หากเราทำท่าทางใดเป็นเวลานาน ๆ บ่อย ๆ ย่อมอาจเกิดผลเสียกับสุขภาพได้ เช่นเดียวกับการใช้ข้อมืออย่างหนักเป็นเวลานาน ก็เป็นเหตุผลที่ทำให้คุณเสี่ยง “เส้นประสาทกดทับข้อมือ” ถ้าเช่นนั้น เราไปเช็คพร้อมกันว่า   คุณกำลังเสี่ยงกับโรคนี้อยู่หรือไม่ ?  

ทำความเข้าใจพร้อมหาทางป้องกันและแก้ไข

เส้นประสาทกดทับข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome: CTS) เป็นอาการที่เกิดขึ้นบริเวณข้อมือ มีพังผืดที่หนาตัวขึ้นบริเวณข้อมือไปกดทับเส้นประสาท เนื่องจากโครงสร้างบริเวณข้อมือมีลักษณะเป็นอุโมงค์มีเส้นเอ็น เส้นเลือด เส้นประสาททอดผ่านมายังฝ่ามือ และเมื่อมีสาเหตุใดก็ตามที่ทำให้เกิดการพอก สะสมจนทำให้บริเวณอุโมงค์ตีบแคบ ก็จะส่งผลให้มีการกดทับเส้นประสาท และบริเวณฝ่ามือ ปลายนิ้วก็จะมีเลือดมาเลี้ยงไม่พอและทำให้เกิดอาการชา ปวดตามมา  

อาการที่พบ

     ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักมีอาการชา รู้สึกเหมือนมีเข็มแทงที่บริเวณฝ่ามือหรือที่ปลายนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง หรืออาจมีอาการปวด และอาการปวดจะมากขึ้นหากไม่รับการรักษา อีกทั้งการใช้ข้อมือจะยิ่งกระตุ้นอาการให้เป็นมากขึ้น เช่น การทำกิจกรรมท่างอข้อมือเป็นเวลานาน ๆ เนื่องจากสาเหตุของเส้นประสาทกดทับข้อมือนั้นเกิดจากการใช้มือที่ไม่ถูกวิธีนั่นเอง

ความเสี่ยงที่นำมาซึ่งเส้นประสาทกดทับมือ

ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรค 

     ผู้ที่มีความเสี่ยง คือ กลุ่มคนที่ต้องทำงานโดยใช้ข้อมือท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ และต้องงอข้อมือเป็นประจำ เช่น   ผู้ที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์พิมพ์งาน ผู้ที่เล่นมือถือ เล่นเกมบ่อย ๆ แม่บ้านที่ต้องซักผ้า รีดผ้านาน ๆ ผู้ที่ชอบถักนิตติ้ง  คนขับรถ นักเขียน นักวาดภาพ เจ้าหน้าที่ขุดเจาะถนน เป็นต้น

ในชีวิตประจำวันคุณใช้ข้อมือเป็นเวลานานหรือไม่ ? 

ปัจจัยเสี่ยง

  1. ผู้ที่ร่างกายมีสารพิษ เช่น จากการทานอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษ ยาฆ่าแมลง ผงชูรส 

  2. มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน

  3. เพศหญิง เนื่องจากเพศหญิงมีอุโมงค์บริเวณข้อมือแคบกว่าเพศชาย

  4. ไขมันในเลือดสูง

  5. อดนอนเป็นประจำ   

  6. ทานอาหารฤทธิ์ร้อน เช่น อาหารที่ใช้การทอด การผัดน้ำมัน 

  7. การใช้ข้อมือไม่ถูกวิธี

หากป่วยแล้วไม่รักษาจะเป็นเช่นไร

แน่นอนว่า เมื่อคนเราป่วยก็ต้องรับการรักษาจึงหาย อาการของเส้นประสาทกดทับข้อมือก็เช่นกัน หากไม่รักษายิ่งจะทำให้อาการปวดมากขึ้น บางคนปวดจนนอนไม่หลับ และยังส่งผลให้ไม่สามารถทำงานหรือใช้ชีวิตประจำวันได้เพราะอาการปวดที่เกิดขึ้น  

การรักษาด้วยการแพทย์แบบบูรณาการ

     หลังจากตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด เราจะรักษาด้วยการใช้วิตามิน ฉีดจุดพลังชี่บำบัด ดูแลแก้ไขภาวะการอักเสบของร่างกายด้วยวิธีที่เหมาะกับแต่ละบุคคล นอกจากนั้นยังสามารถรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น เครื่องบำบัดปวดด้วยคลื่นแม่เหล็ก (Transcutaneous Magnetic Stimulation: TMS) การใช้พลังจากคลื่นเสียงกระแทก (Shock Wave Therapy) และเครื่องบำบัดปวดด้วยแสงเลเซอร์กำลังสูง (High Power Laser Therapy)  

     ในระหว่างการรักษาผู้ป่วยสามารถบริหารข้อมือด้วยตนเองที่บ้านโดยใช้ท่าบริหาร มณีเวช” ศาสตร์เกี่ยวกับการจัดสมดุลโครงสร้างของร่างกายที่ท่านอาจารย์ประสิทธิ์ มณีจิระประการ เป็นผู้ค้นพบที่ผสมผสานวิชาแพทย์แผนไทย จีนและอินเดีย มาประยุกต์ ซึ่งไม่เพียงมีประโยชน์กับมือ แต่ยังมีประโยชน์กับส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอีกด้วย และยังนับเป็นท่าบริหารมือที่ดีเหมาะสำหรับเพื่อป้องกันเส้นประสาทกดทับข้อมือได้อีกด้วย สามารถศึกษาได้ตามลิงค์นี้ http://www.childrenhospital.go.th/html/2014/sites/default/files/Maneevej.pdf

     เส้นประสาทกดทับข้อมือมีที่มาจากหลายเหตุผล ทั้งปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่ขณะเดียวกันก็มีหลายสาเหตุที่เกิดขึ้นเพราะพฤติกรรม ซึ่งเราควบคุมได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพมือที่อาจเกิดขึ้น ทุกคนจึงควรดูแลใช้งานมืออย่างถูกวิธีและเหมาะสมพร้อมๆกับบริหารข้อมือตามหลักมณีเวชอย่างสม่ำเสมอ ...เพื่อหลีกเลี่ยงจากเส้นประสาทกดทับข้อมือที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต


SEND A MESSAGE
Your email address will not be published. Required fields are marked.
CALL US : 02 651 5988
Select AH Find Dr Contact Us