“ภาวะลำไส้รั่วซึม” (Leaky Gut Syndrome) ภัยเงียบที่ต้องระวัง

โทรศัพท์ : 026515988
“ภาวะลำไส้รั่วซึม” (Leaky Gut Syndrome) ภัยเงียบที่ต้องระวัง
“ภาวะลำไส้รั่วซึม” (Leaky Gut Syndrome) ภัยเงียบที่ต้องระวัง

เมื่อกล่าวถึง “โรคระบบทางเดินอาหาร” เราก็มักจะคิดถึงโรคกระเพาะ กรดไหลย้อน ลำไส้อักเสบ ท้องเสีย หรือมะเร็งลำไส้ เป็นต้น สิ่งที่คนส่วนใหญ่ยังไม่ทราบ คือ โรคต่างๆ ส่วนใหญ่มีต้นตอมาจาก “ลำไส้” ซึ่งปัญหาระบบการทำงานของลำไส้ยังเชื่อมโยงกับเรื่องภูมิต้านทาน และสารสื่อประสาท

ภูมิต้านทานแปรปรวน เกิดจากการที่ลำไส้ไม่แข็งแรงซึ่งลำไส้มีความยาวถึง 8 เมตร ภายใต้ความยาวนี้ยังมีเนื้อเยื่ออีกจำนวนมากสำหรับการย่อยและดูดซึมดังนั้นถ้าเยื่อบุทางเดินอาหารไม่แข็งแรง เกิดการระคายเคือง มีความเสื่อม เป็นที่มาให้เกิดรูรั่วเล็กๆ ที่เรียกว่า ลำไส้รั่วซึม (Leaky Gut Syndrome) โดยจุดรูรั่วเล็กๆ เหล่านี้ส่งผลให้สารพิษในลำไส้หลุดเข้าสู่ร่างกาย อาทิ อาหารที่ยังย่อยได้ไม่ดี จึงส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันถูกกระตุ้นและเกิดการอักเสบตามมา หากการอักเสบมากขึ้น ย่อมเป็นเหตุให้เกิดความผิดปกติต่างๆ ขึ้นอยู่กับว่าการอักเสบเกิดที่อวัยวะใด ถ้าอักเสบที่ตา จะมีอาการคัน เคืองตา แต่ถ้าอักเสบที่ผิวหนังจะส่งผลให้เกิดอาการผื่นคัน หรืออาจจะเกิดปัญหาพร้อมกันในทุกระบบเป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง เป็นต้น

ส่งผลกับสารสื่อประสาท โดยพบว่าเมื่อเยื่อบุลำไส้ถูกกระตุ้น จะมีผลกับการสังเคราะห์สารสื่อประสาทซีโรโทนิน ซึ่งเป็นสารที่ออกฤทธิ์กับสมอง แต่สารนี้ถูกสร้างมากที่สุดในเยื่อบุลำไส้ ช่วยให้มีความสุข นอนหลับได้ดี ดังนั้นถ้าเยื่อบุลำไส้ไม่แข็งแรง ย่อมส่งผลให้อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า นอนหลับไม่ดี ถ้าเป็นระยะยาวส่งผลให้ความจำระยะสั้นไม่ดี เกิดเป็นสมาธิสั้นได้

เยื่อบุทางเดินอาหารไม่แข็งแรงนั้น เกิดจากการทานอาหารเร็ว กลืนเร็ว เคี้ยวน้อย ทานอาหารที่ไม่เหมาะกับระบบย่อยของร่างกาย การทานยาปฏิชีวนะหรือยาแก้ปวดเป็นประจำ รวมถึง การได้รับสารพิษต่างๆ เป็นต้น

เคล็ดลับในการดูแลลำไส้ให้แข็งแรง

  • ทานอาหารที่เหมาะสมกับตัวเอง ซึ่งเราจะทราบได้โดยการตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance Test) และควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด 30 วินาที/คำ อย่ารีบเคี้ยว รีบกลืน รวมถึง ทานอาหารมื้อเช้า เพื่อให้ระบบการย่อยได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • อารมณ์แจ่มใส ถ้าเรามีอารมณ์ผ่อนคลาย การทำงานของระบบย่อยจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหว เกิดการบีบตัว ทำงานได้อย่างเป็นระบบ
  • นอนหลับแต่หัวค่ำ เพื่อให้ร่างกายได้ขับสารพิษ ปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกายอย่างเหมาะสม
  • การขับสารพิษออกจากร่างกาย การดีท็อกซ์ตับ ลำไส้ การล้างสารพิษโลหะหนักออกจากร่างกาย จะช่วยให้สมดุลของลำไส้กลับมาแข็งแรงได้อีกครั้ง

เพราะ “ลำไส้” คือ สมองที่ 2 ของร่างกาย  ...คุณจึงต้องใส่ใจและดูแลลำไส้ให้มากขึ้น...

 

SEND A MESSAGE
Your email address will not be published. Required fields are marked.
CALL US : 02 651 5988
Select AH Find Dr Contact Us