โรคไต

โทรศัพท์ : 026515988
โรคไต
โรคไต

รู้ทัน “โรคไต” ไม่ตายไว เพราะไตเสื่อม

“ไต” เป็นอวัยวะที่สำคัญ ทำหน้าที่ขับของเสีย ควบคุมสมดุลเกลือแร่และความเป็นกรดด่างของร่างกาย แต่การจะให้ไตทำหน้าที่ที่กล่าวมาได้เป็นอย่างดี จะต้องดูแลไตให้แข็งแรงและไม่เสื่อมสภาพไป ทั้งในรูปแบบของปัญหาไตเสื่อมชนิดเฉียบพลัน  และไตเสื่อมชนิดเรื้อรัง   ซึ่งมีรายละเอียดของปัญหาดังต่อไปนี้

ภาวะไตเสื่อมชนิดเฉียบพลัน เป็นการพบความผิดปกติของไตที่พบได้ในเวลาอันสั้นเช่น ผู้ป่วยที่ติดเชื้อในกระแสโลหิต ผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษสารเคมีในปริมาณสูง ซึ่งเข้าพักในโรงพยาบาลแล้วตรวจพบว่ามีปัญหาไตเสื่อม โดยภาวะความเสื่อมนี้หากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็มีโอกาสที่ไตนั้นจะกลับมาทำงานเป็นปกติได้

ภาวะไตเสื่อมชนิดเรื้อรัง  ภาวะเสื่อมเรื้อรังป็นการเสื่อมที่ค่อย ๆ สะสมทีละเล็กทีน้อย กล่าวคือ ไตจะทำงานได้น้อยลงเรื่อย ๆ  โดยแบ่งออกเป็น 5 ระยะได้แก่

สาเหตุที่ทำให้ไตเสื่อมมาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • โรคเบาหวาน โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรคมานานกว่า 5 ปีและควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี
  • โรคความดันโลหิตสูง เช่นผู้ป่วยที่ไม่ควบคุมอาหาร ไม่ทานยา โดยความดันที่ขึ้นสูงนั้น มีผลทำให้เกิดแรงกระแทกกับหลอดเลือดในร่างกาย และหลอดเลือดไตที่มีขนาดเล็กจำนวนมาก ทำให้ไตนั้นเกิดการบาดเจ็บและอักเสบจนนำมาสู่ภาวะไตเสื่อม

อย่างไรก็ตามนอกจากสาเหตุของภาวะไตเสื่อมชนิดเรื้อรัง จะมีสาเหตุมาจากโรคประจำตัวดังกล่าวแล้ว ก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจประกอบให้เกิดภาวะไตเสื่อมเรื้อรังได้เช่น

  • การทานยาสมุนไพรบางชนิด เนื่องจากสมุนไพรที่อยู่ในธรรมชาติหลายตัวมีสาร Aristolochic  Acid ซึ่งส่งผลเสียต่อไต
  • การทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของสารโลหะหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน อาทิ สารตะกั่ว ปรอทแคดเมียม  ที่ปนเปื้อนในอาหารทะเล น้ำดื่ม  ซึ่งถ้าทานเข้าไปในปริมาณมาก เป็นเวลานานหลายปีก็ส่งผลให้เกิดไตเสื่อมเรื้อรังได้

สัญญาณแบบไหนคืออาการของโรคไต

สำหรับอาการของโรคไตถ้าเป็นไตเสื่อมในขั้นต้นนั้น จะไม่แสดงอาการผิดปกติจนกว่าไตจะเสื่อมมากถึง 60 % ไปแล้ว จึงจะแสดงอาการผิดปกติออกมา ด้วยลักษณะอาการต่าง  ๆ ดังต่อไปนี้

  • อาการเหนื่อยง่าย
  • อ่อนเพลีย
  • อ่อนแรง
  • เบื่ออาหาร 
  • นอนไม่หลับ
  • ตาบวมน้ำ
  • ตัวซีดและบวม
  • ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะเวลากลางคืน

การตรวจวินิจฉัยโรคไต ทำได้อย่างไรบ้าง

โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคไตระยะต้น  มักจะตรวจพบจากการตรวจสุขภาพ ทั้งจากสาเหตุของการนอนโรงพยาบาลแล้วตรวจพบในระยะเฉียบพลันดังที่ได้กล่าวไปแล้ว แต่ในกรณีของการป่วยเรื้อรังนั้น  ส่วนใหญ่จะทราบได้จากการตรวจสุขภาพ ด้วยวิธี

  • การตรวจเลือดเพื่อดูค่าไต GFR (Glomerular Filtration Rate)
  • ตรวจปัสสาวะเพื่อหาปริมาณโปรตีน 
  • การตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อถ่ายภาพของไต 

เมื่อเป็นโรคไตโดยทั่วไปจะได้รับการรักษาแบบใด

เมื่อทราบว่าระยะของโรคไตดำเนินไปถึงขั้นใดแล้ว แพทย์จะพิจารณารักษาโดยคำนึงถึงอาการ ระยะของโรค รวมไปถึงปัจจัยด้านสุขภาพอื่น ๆ อย่างเช่น ถ้ามีโรคประจำเบาหวาน จะให้รักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ หากมีความดันก็ต้องลดระดับความดัน  และพิจารณาให้ยาตามอาการของโรค ควบคู่ไปกับการดูแลด้านโภชนาการเป็นสำคัญ

การแพทย์แบบบูรณาการกับวิธีการฟื้นฟูประสิทธิภาพการทำงานของไตให้กลับมาเป็นปกติ

แนวทางการดูแลรักษาส่วนใหญ่ถ้าเป็นผู้ป่วยไตเสื่อมนั้น แพทย์จะให้ความสำคัญกับการดูแลเรื่องอาหารและการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • งดทานอาหารรสเค็ม เพื่อไม่ให้ไตทำงานหนัก
  • การลดโปรตีนจากเนื้อสัตว์แล้วไปเพิ่มโปรตีนจากพืชแทน เพราะในปัจจุบันได้มีการศึกษาวิจัยแล้วว่า หากผู้ป่วยทานเนื้อสัตว์ ทานนม จะทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น แต่หากทานเป็นโปรตีนจากพืชเช่น ถั่วเหลือง ก็จะพบว่าค่า Creatinine หรือค่าของเสียในเลือดนั้นลดลง
  • ในกรณีที่ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมไม่ได้สูง ทานอาหารปกติได้ แต่ให้เน้นทานโปรตีนจากพืชแทนโปรตีนจากสัตว์เพื่อเพิ่มโอกาสที่ร่างกายจะได้รับสารอนุมูลอิสระจากพืชผักผลไม้ตามธรรมชาติ

อย่างไรก็ตามนอกจากการดูแลด้านโภชนาการแล้ว การรักษาที่ต้นเหตุก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยฟื้นฟูการทำงานของไตได้ โดยการรักษาที่ต้นเหตุก็คือ การลดสารพิษและสารโลหะหนักออกจากร่างกาย รักษาที่ต้นเหตุ โดย

  • การใช้วิธีคีเลชั่นบำบัด เพื่อดึงสารพิษโลหะหนักที่ตกค้างออกจากร่างกาย
  •  ดีท็อกซ์ระบบน้ำเหลือง  เพื่อฟื้นฟูการไหลเวียนของน้ำเหลือง เพราะหากน้ำเหลืองในร่างกายไหลเวียนได้ดี การทำงานเชื่อมต่อของทุกอวัยวะในร่างกายรวมถึงไตก็จะเป็นไปอย่างสมดุล
  • การเพิ่มออกซิเจนให้เซลล์ในร่างกาย  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวในร่างกาย โดยให้เซลล์เม็ดเลือดขาวสามารถกระจายตัวไปยังหลอดเลือดของร่างกายและหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ  รวมไปถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรคในร่างกายได้อย่างเป็นระบบ
  • การฟื้นฟูโดยใช้วิธีการเซลล์ซ่อมเซลล์  มาช่วยเสริมดูแลเพื่อการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุและฟื้นฟูเซลล์ที่เสียหายไปได้กลับมาทำงานได้ดีดังเดิมอีกครั้ง

เมื่อรูปแบบการใช้ชีวิตของเรานั้นเปลี่ยนไป  โรคภัยก็มากขึ้น ปัจจัยที่จะส่งเสริมต่อความป่วยก็อยู่รอบ  ๆ ตัวของเรา  จำเป็นที่เราจะต้องดูแลตนเองให้ดี โดยให้ความสำคัญกับการเลือกทานอาหาร หลีกเลี่ยงสารพิษโลหะหนัก  ล้างสารพิษออกจากร่างกาย  ตรวจเช็กสุขภาพเป็นประจำเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บอันคาดไม่ถึง รวมไปถึงหมั่นสังเกตความเป็นไปของร่างกายเราสม่ำเสมอ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เราได้ทราบถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและช่วยเพิ่มโอกาสในการฟื้นฟูตนเองจากปัญหาสุขภาพได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

SEND A MESSAGE
Your email address will not be published. Required fields are marked.
CALL US : 02 651 5988
Select AH Find Dr Contact Us