พาร์กินสัน

โทรศัพท์ : 026515988
พาร์กินสัน
พาร์กินสัน

ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ คลิกเลย

พาร์กินสัน ความน่ากลัวที่ไม่ใช่แค่สั่น

โรคพาร์กินสัน จัดอยู่ในกลุ่มของโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่ง ซึ่งในคนไทยพบมากเป็นอันดับสอง รองจากโรคอัลไซเมอร์ ตามสถิติโรคนี้มักพบบ่อย ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป และในผู้ชาย พบบ่อยกว่า ผู้หญิง ถึง 50% หรือ 1.5 เท่าตัว

ทำไมโรคนี้ถึงมีอาการสั่น เกร็ง
อาการดังกล่าวเกิดจากความเสื่อมสมองส่วนกลาง ที่เรียกว่า ซับสแตนเชียไนกรา (Substantia Nigra) ซึ่งเป็นที่รวมของกลุ่มเซลล์ประสาทที่สามารถผลิตสารโดปามีน (Dopamine) ซึ่งสารโดปามีนจัดเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยเพิ่มความเร็วในการส่งสัญญาณประสาท ทำให้เราสามารถเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อแขนขาต่าง ๆ ได้รวดเร็วดังใจคิด

แต่คนป่วยโรคพาร์กินสันจะมีสมองส่วนดังกล่าวนี้เสื่อมลง ทำให้ระดับสารโดปามีนในสมองไม่เพียงพอต่อการช่วยนำกระแสประสาทไปยังกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ จึงทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ลื่นไหลดังใจปรารถนา อาการภายนอกจึงเห็นเป็นลักษณะของการสั่นเวลาเดิน มือสั่น เขียนหนังสือตัวเล็ก ลายเส้นสั่น ไม่เป็นระเบียบ พูดติดขัด เคลื่อนไหวช้า เดินเซ ทรงตัวไม่ดี สุดท้ายอาจเข้าสู่ระยะพิการนอนติดเตียงช่วยเหลือตัวเองไม่ได้



เหตุแห่งความเสื่อมของสมองส่วน ซับสแตนเชียไนกรา (Substantia Nigra)
1. ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคพาร์กินสัน สมาชิกในครอบครัวสายตรงก็มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้มากกว่าคนทั่วไป
2. การสะสมของสารพิษ สารเคมีต่าง ๆ อาทิ ยาฆ่าแมลง สารกันบูดที่ปนเปื้อนในอาหาร สารพิษโลหะหนัก
3. ความเสื่อมของเส้นเลือดที่มีผลทำให้อัตราการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมองลดลง
4. ลักษณะของอาหารและการบริโภค พบว่า อาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล ของหวาน อาหารทอด สามารถเพิ่มกระบวนการอักเสบที่มากขึ้นในระบบประสาทได้
5. ภาวะการเสียสมดุลของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร จากการศึกษาในปัจจุบัน จุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร มีส่วนสัมพันธ์กับการสังเคราะห์สารสื่อประสาท ระบบภูมิต้านทาน และการควบคุมการเปิดปิดยีนจากสายพันธุกรรมอีกด้วย
6. การบกพร่องของกระบวนการกำจัดของเสียในเซลล์ประสาท (Autophagy) ทำให้เกิดการสะสมของกากตะกอนโปรตีนเสียในเซลล์สมองส่วนนี้ ที่เรียกว่า เลวีย์ โปรตีน (Lewy bodies) ซึ่งทำให้สมองส่วนนี้เสื่อมเร็วขึ้น

สั่นแบบไหน? รู้ได้อย่างไร? ว่าเป็น “พาร์กินสัน”
การวินิจฉัยโรคพาร์กินสันนี้ จะใช้หลักการของการวินิจฉัยจากอาการ ซึ่งได้จากการซักประวัติและตรวจร่างกายเป็นหลัก ร่วมกับการตรวจเลือดหรือ CT scan หรือ MRI สมอง เพื่อแยกโรคจากระบบประสาทส่วนกลางอื่น ๆ

เทคโนโลยีปัจจุบันมีการตรวจการทำงานของสมอง ที่เรียกว่า Functional MRI เช่น F-Dopa Pet Scan ซึ่งสามารถตรวจวัดความผิดปกติของสารโดปามีนในสมองของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันได้

การรักษาโรคพาร์กินสันในปัจจุบัน มุ่งเน้นที่จะใช้ยาที่ออกฤทธิ์ลดการทำลายสารโดปามีน เพื่อรักษาระดับโดปามีนไม่ให้ลดลง ซึ่งพบว่า การใช้ยาในการรักษาอาจจะได้ผลดีในการควบคุมอาการ ให้การเคลื่อนไหวดีขึ้น ในระยะแรก ๆ แต่อย่าลืมว่า ความเสื่อมของสมองนั้นไม่ได้ถูกแก้ไข และอาจเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้ระยะยาว ต้องเพิ่มขนาดยามากขึ้นเรื่อย ๆ จนร่างกายอาการผลแทรกซ้อนจากยาได้ อาทิ เกิดอาการทางจิตเวช ประสาทหลอน เกิดภาวะซึมเศร้า ย้ำคิดย้ำทำ
แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีของการบริหารยาเพื่อรักษาระดับโดปามีน ได้แก่ การผ่าตัดฝังตัวกระตุ้นในสมองให้เพิ่มการหลั่งสารโดปามีน เทคนิคการบริหารยาอย่างต่อเนื่องผ่านทางผิวหนัง หรือลำไส้ อาจช่วยลดความแปรปรวนของระดับโดปามีนในร่างกาย และอาจลดผลข้างเคียงได้ก็จริง แต่ก็ถือว่ายังไม่ใช่การรักษาที่ต้นเหตุที่จะหยุดยั้งหรือชะลอความเสื่อมที่เกิดขึ้นภายในเนื้อสมองได้


แนวทางการรักษาแบบบูรณาการ ความหวังใหม่ของการรักษาพาร์กินสัน
โดยใช้แนวทางการรักษาที่ควบคุมทุกปัจจัย เพื่อลดอัตราความเสื่อมของเซลล์สมอง ได้แก่
1. การบำบัดด้วยวิธีล้างสารพิษโลหะหนักออกจากร่างกาย เพื่อลดการสะสมของสารพิษ เช่น สารตะกั่ว แมงกานีส หรือธาตุเหล็กที่มากเกินไป มีผลทำลายเซลล์สมองส่วน substantia nigra เพิ่มขึ้น
2. การอดอาหารเพื่อล้างพิษ (Intermittent Fasting) เป็นเทคนิคทางธรรมชาติบำบัด โดยการลดการบริโภคอาหารเย็น และเปลี่ยนมาดื่มน้ำผักคั้นสด สามารถกระตุ้นยีนในร่างกายที่ช่วยเพิ่มกลไกการทำลายของเสียในเซลล์ (Autophagy) ให้กลับมาทำงานดีขึ้นได้
3. เทคโนโลยีภูมิต้านทานบำบัด เพื่อปรับสมดุลภูมิต้านทานและควบคุมกระบวนการอักเสบในร่างกาย สามารถช่วยชะลอความเสื่อมของระบบประสาทส่วนกลางได้
4. การใช้สารอาหารบำบัด เช่น วิตามิน แร่ธาตุ กรดไขมันจำเป็น กรดอะมิโน รวมไปถึง สารต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ เช่น โคเอนไซม์คิวเท็น, อัลฟ่าไลโปอิกแอซิด, สารสกัดจากโสม ถั่งเช่า สารสกัดจากใบชาเขียวเช่น EGCG ก็มีส่วนช่วยปรับสมดุลของสารสื่อประสาท ลดอัตราการเสื่อมของเซลล์สมองได้
5. การกระตุ้นเซลล์สมองด้วย Low level Near infrared laser Therapy พบว่า ในคลื่นแสงดังกล่าว สามารถกระตุ้นเอนไซม์ cytochrome C ของไมโทคอนเดรียของเซลล์ประสาท ซึ่งส่งผลให้เซลล์ที่กำลังเสื่อมกลับมาทำงานได้ดีขึ้น
6. เทคโนโลยีด้านการใช้สารปัจจัยฟื้นฟู เช่น ยาซีรีโบรไลซิน หรือกลุ่ม CPT/FCT ซึ่งมีกรณีศึกษาว่ามีแนวโน้มจะได้ผลดีในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นของการซ่อมแซมเซลล์สมองที่เสื่อมลงอย่างโรคพาร์กินสัน หรืออัลไซเมอร์ ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลทางเลือกของการรักษาใหม่ที่น่าสนใจ และเป็นความหวังให้กับผู้ป่วยกลุ่มนี้ในอนาคต

ทุกๆ การรักษาเราจะพิจารณาแบบเฉพาะบุคคล เพื่อให้แต่ละบุคคลได้รับการดูแลรักษาที่รากเหง้าของปัญหาอย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่รักษาตามชื่อโรค หรือตามอาการของโรค เพราะเราเชื่อว่า การรักษาที่ดีที่สุดนั้น ต้องเริ่มจากการดูแลให้ร่างกายคนไข้เกิดประสิทธิภาพในการฟื้นฟูตัวเองได้สูงสุดนั่นเอง



วิดีโอที่เกี่ยวข้อง
SEND A MESSAGE
Your email address will not be published. Required fields are marked.
CALL US : 02 651 5988
Select AH Find Dr Contact Us