อัลไซเมอร์

โทรศัพท์ : 026515988
อัลไซเมอร์
อัลไซเมอร์

อัลไซเมอร์ ใครว่าป้องกันไม่ได้


เมื่อเราพูดถึงโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองเสื่อม นับเป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาทส่วนกลางที่พบบ่อยที่สุดและมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เมื่อกล่าวถึงโรคนี้ หลายคนจะนึกถึงภาพคนแก่นั่งบนรถเข็น แววตาเหม่อลอยบางครั้งลูกหลานไปเยี่ยมก็สับสน จำลูกหลานไม่ได้ ซึ่งทำให้ทุกคนคิดว่า เป็นเรื่องปกติธรรมดา ที่เมื่อแก่ชราเซลล์สมองก็แก่ตามวัย จะหลงลืมก็เป็นธรรมขาติของคนแก่

แต่ความจริงแล้วโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์นั้น อาจพบในคนอายุน้อยก็ได้ ผู้ป่วยหญิง อายุ 60 ปี มีอาการโรคอัลไซเมอร์แบบรุนแรงมาก ตลอดคืนจะเดินเข้าห้องน้ำทุกห้านาที เพราะจำได้ว่าตอนแรกตัวเองปวดปัสสาวะแต่ลืมว่าปัสสาวะไปแล้วซึ่งส่งผลกระทบต่อสามีและชีวิตครอบครัว

อีกหนึ่งราย คนไข้อายุ 58 ปี มีอาการปวดท้อง ท้องอืดเป็นประจำ เพียงเพราะจำไม่ได้ว่าทานข้าวแล้วหรือยังและจะร้องขอทานอาหารทุก 1 ชม. แม้ญาติๆ จะบอกว่าเธอทานอาหารไปแล้ว คนไข้ก็ไม่เชื่อและเสียใจน้อยใจเพราะคิดว่าลูกหลานไม่ยอมให้ทานอาหาร

สัญญาณบอกเหตุ ว่าคุณกำลังเข้าข่ายการเป็นโรคอัลไซเมอร์


1. การสูญเสียความทรงจำ โดยเฉพาะความจำระยะสั้นหรือเรื่องราวที่พึ่งเกิดขึ้น จะหลงลืมได้ง่ายจนกลายเป็นพฤติกรรมบางอย่างที่ทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งในระยะแรกของอาการ คนไข้อาจจะเริ่มมีการลืมเล็กๆ น้อย เช่น ลืมว่าวางกุญแจรถไว้ที่ไหน, ลืมกินยา, ขับรถออกมานอกบ้านแล้วลืมจุดมุ่งหมายว่าจะไปที่ใด ซึ่งอาการแรกเริ่มนี้คนไข้อาจจะไม่ทันสังเกตตัวเอง แต่ญาติใกล้ชิดจะสามารถเห็นอาการได้

2. มีปัญหากับการวางแผน และการคิดคำนวณเพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้ประสิทธิภาพของสมองส่วนการคำนวณและการประมวนผลต่างๆ จะเสื่อมได้ง่ายเช่นกัน การแก้ปัญหาจะง่ายในคนปกติ แต่จะเป็นเรื่องยากของคนไข้กลุ่มนี้ เช่น การแก้ปมเชือกรองเท้า

3. วางของไม่เป็นที่ สับสนกับสถานที่ และเวลา

4. อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย บางครั้งมีอาการซึมเศร้า ก้าวร้าว แม้กระทั่ง กิจกรรมที่เคยชอบก็อาจเบื่อหน่ายและละเลยไป

ทำไมคนไข้อัลไซเมอร์ถึงมีอาการเช่นนั้น

คำตอบคือ มีการเสื่อมของเซลล์สมองส่วนที่เรียกว่า ซีรีบรอลคอร์เทกส์ (Cerebral Cortex) ซึ่งเป็นเซลล์สมองที่ถือว่ามีการพัฒนาเด่นชัดที่สุดของมนุษย์ เมื่อเทียบกับสัตว์ชนิดอื่น ทำให้มนุษย์มีความสามารถในการจดจำ วางแผน คิดคำนวณ ความเป็นเหตุเป็นผล รู้ผิดชอบชั่วดีต่างๆ แต่เป็นที่น่าสงสารเพราะคนไข้กลุ่มอัลไซเมอร์นี้เกิดความเสื่อมขึ้นในสมองส่วนดังกล่าว

“ความเสื่อมของสมอง” ความน่ากลัวที่ใครก็ไม่อยากให้เกิด...เกิดขึ้นได้อย่างไร


1. ปัจจัยด้านพันธุกรรม และความแปรปรวนของรหัสพันธุกรรม ทำให้สภาพเซลล์สมองเกิดความเสียสมดุลในการทำงานของระบบเมทาบอลิซึม รวมไปถึงการกำจัดของเสียออกจากเซลล์บกพร่อง ทำให้เกิดภาวะเซลล์สมองเสื่อมก่อนวัยอันควร

2. ปัจจัยด้านฮอร์โมน พบว่าฮอร์โมนเพศทั้งในเพศหญิงและชาย มีความสำคัญต่อการทำงานของเซลล์สมอง ดังนั้นเพศหญิงเข้าสู่วัยทองเร็วกว่าผู้ชาย เพศหญิงจึงมักพบสถิติของการเกิดโรคนี้มากกว่า และพบสถิติมากขึ้นถ้าผู้หญิงรายนั้นเข้าสู่วัยทองก่อนวัยอันควร เช่น ผู้ที่ตัดรังไข่ทั้งสองข้างตั้งแต่ยังสาวและไม่รับฮอร์โมนทดแทนเสริม

3. สารพิษ สารเคมีต่างๆ มีการศึกษาพบว่า สารพิษโลหะหนัก เช่น สารตะกั่ว ปรอท และอลูมิเนียมมีผลโดยตรงต่อความเสื่อมของเซลล์สมองส่วนนี้

4. ภาวะขาดสารอาหาร อาทิ ภาวะพร่องวิตามินบี กรดอะมิโนจำเป็น กรดไขมันจำเป็น และแร่ธาตุ เช่น แมกนีเซียม สังกะสี ทำให้เซลล์สมองเสื่อมเร็วขึ้น

5. โรคเบาหวาน ถือเป็น สาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ จึงมีคำกล่าวว่าโรคอัลไซเมอร์ คือ โรคเบาหวานที่เกิดขึ้นในสมอง เพราะเซลล์สมองไม่สามารถเผาผลาญพลังงานได้ตามปกติจนทำให้มีของเสียคั่งค้างในเซลล์ ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนเบต้าอไมลอยด์ หรือเทาว์โปรตีนก็เป็นผลพวงที่ตามมาจากความผิดปกติดังกล่าว

6. ความเสื่อมของเส้นเลือด ที่มีผลทำให้อัตราการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมองลดลง

7. ภาวะลำไส้แปรปรวน และการเสียสมดุลของสายพันธุ์จุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร ซึ่งจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร มีส่วนสัมพันธ์กับการสังเคราะห์สารสื่อประสาท และระบบภูมิต้านทาน

8. การอักเสบเรื้อรัง และภูมิต้านทานที่ผิดปกติ


การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์

ในปัจจุบันแพทย์สามารถให้การวินิจฉัยได้จากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และอาการที่แสดง ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถให้การวินิจโรคนี้ได้แม่นยำและรวดเร็วขึ้น ได้แก่

- การตรวจคัดกรองความเสี่ยง : การตรวจยีนอัลไซเมอร์, ตรวจสมดุลฮอร์โมนไทรอยด์ ต่อมหมวกไตและฮอร์โมนเพศ ตรวจวัดระดับอนุมูลอิสระและสารพิษในร่างกาย, ตรวจระดับวิตามินและสารอาหารในร่างกาย

- การตรวจการคั่งของสารเบต้าอไมลอยด์ในสมอง ร่วมกับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง PET Scan ปกติคนไข้โรคอัลไซเมอร์ มักจะเสียชีวิต ภายใน 6-10 ปี ตั้งแต่เริ่มมีอาการอันเนื่องมาจากความเสื่อมของสมองมากขึ้นเรื่อยๆ จนเข้าสู่ระยะพิการ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น เกิดการติดเชื้อตามมา

ความก้าวหน้าของการดูแลรักษาอัลไซเมอร์แบบการแพทย์บูรณาการ

ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์และการนำความรู้จากหลายศาสตร์ทางการแพทย์เข้ามาผสมผสาน ทำให้ทุกวันนี้เราสามารถตรวจคัดกรองความเสี่ยงอัลไซเมอร์ได้ตั้งแต่ก่อนเริ่มมีอาการ พร้อมทั้งสามารถวางแผนการรักษาให้เหมาะสมกับเฉพาะบุคคลได้อีกด้วย โดยมุ่งเน้นเข้าไปแก้ต้นตอของปัญหาและความเสื่อมของเซลล์ ร่วมกับแก้ไขซ่อมแซมเซลล์ที่เสื่อมไปแล้วให้มีโอกาสกลับมาทำงานได้สูงสุด ด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้

1. การใช้ยา เพื่อรักษาตามอาการหรือช่วยปรับสารสื่อประสาท แต่ยังไม่มียาที่จะช่วยแก้ไขความเสื่อมของเซลล์สมอง

2. การใช้สารอาหารบำบัด : สารอาหารที่สกัดจากใบแปะก๊วย โสม ชาเขียว ถั่งเช่า สารโคลีนในถั่ว วิตามินบี วิตามินดี กรดอะมิโนทอรีน แมกนีเซียม มีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสารสื่อประสาทและสมองได้

3. การใช้สารต้านอนุมูลอิสระเพื่อปกป้องเซลล์สมอง เช่น วิตามินอี แอสทาแซนทีน โคเอนไซม์คิวเท็น อัลฟ่าไลโปอิกแอซิด

4. การปรับสมดุลเพื่อแก้ไขความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม เช่น การปรับสมดุลฮอร์โมนหรือใช้ฮอร์โมนทดแทนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีความเสี่ยงด้านสมองเสื่อม การรักษาด้วยวิธีการล้างสารพิษโลหะหนัก เพื่อลดการสะสมของสารพิษซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรค

5. การใช้ CPT/FCT หรือ สารปัจจัยฟื้นฟู เปปไทด์บำบัด เช่น ยาซีรีโบรไลซิน ซึ่งเป็นเปปไทด์ที่สกัดจากสมองหมู ซึ่งมีงานวิจัยเปรียบเทียบการใช้สารปัจจัยฟื้นฟูนี้ว่า ได้ผลดีในการรักษาโรคอัลไซเมอร์

6. การใช้ Low level Near infrared laser Therapy ผ่านจุดฝังเข็มรอบกระโหลกศีรษะเพื่อกระตุ้นการทำงานของเซลล์ประสาท

7. การใช้เทคนิคของภูมิต้านทานบำบัด เพื่อปรับสมดุลการตอบสนองของภูมิต้านทานและลดการอักเสบของเซลล์ในสมอง

นอกจากการรักษาทางการแพทย์แล้วนั้น ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ และควรทำกิจกรรมบำบัดต่างๆกับผู้ป่วย เช่น พูดคุย เล่นดนตรี เล่มเกมร่วมกัน เพื่อสนับสนุนการทำงานของร่างกายสมอง และจิตใจ รวมถึง ควรจัดทำบัตรประจำตัวผู้ป่วย พร้อมเบอร์ติดต่อผู้ดูแล ให้ผู้ป่วยพกติดตัวไว้ตลอดเวลา เผื่อหลงทางหรือสูญหายออกจากบ้าน

หัวใจสำคัญของต้นตอแห่งอัลไซเมอร์
คนทั่วไปจะทราบข้อมูลโรคอัลไซเมอร์เพียงแค่ว่า เป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน และอาจเกี่ยวเนื่องกับพันธุกรรม แต่สำหรับการแพทย์บูรณาการเราจะเน้นย้ำเสมอว่า “อัลไซเมอร์” ไม่ใช่แค่พันธุกรรมเท่านั้นที่เป็นปัจจัยสำคัญ เพราะสิ่งสำคัญที่มากกว่า คือ การรับประทานอาหาร ปัจจัยสิ่งแวดล้อม สารพิษ สารเคมี เส้นทางแห่งวิถีชีวิตที่เราใช้อยู่ทุกๆวัน และขณะเดียวกันในเมื่อเราสามารถตรวจหาความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ได้ก่อนจะเกิดโรคและแสดงอาการ เหตุใดเราไม่เลือกที่จะป้องกันเพื่อวางแผนดูแลสุขภาพก่อนอัลไซเมอร์จะมาเยือน เพราะสุขภาพที่ดีคุณเลือกได้

วิดีโอที่เกี่ยวข้อง
SEND A MESSAGE
Your email address will not be published. Required fields are marked.
CALL US : 02 651 5988
Select AH Find Dr Contact Us