เมื่อกล่าวถึงการตรวจวินิจฉัยและตรวจติดตามโรคเบาหวาน คนโดยส่วนใหญ่จะทราบว่าต้องใช้วิธีการตรวจค่าน้ำตาลสะสม หรือ HbA1C ถึงแม้หลายคนจะไม่ทราบข้อมูลการตรวจที่ชัดเจน แต่ ณ วันนี้สามารถบอกได้ว่า HbA1C นั้นมีข้อจำกัดหลายประการ และส่วนเติมเต็มที่ดีในการตรวจผู้ป่วยเบาหวานก็คือ Glycomark ดังนั้นมาทำความรู้จักกับประโยชน์ของ HbA1C และ Glycomark ให้มากขึ้น
ในปี 2011 องค์การอนามัยโลก แนะนำให้ใช้ค่าน้ำตาลสะสมหรือ HbA1C ในการวินิจฉัยโรคเบาหวาน ซึ่งมีข้อดีคือ ไม่ต้องอดอาหาร ตรวจโรคตั้งแต่ยังไม่มีอาการ ในผู้ป่วยเบาหวาน เป็นการสะท้อนพฤติกรรมของผู้ป่วยที่แท้จริงในช่วงระยะ 8-12 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยไม่มีผลกระทบจากความแปรปรวนของน้ำตาลในเลือดในวันตรวจ ค่าน้ำตาลสะสม HbA1C เป็นค่าเปอร์เซนต์ของเม็ดเลือดแดงที่ถูกเชื่อมน้ำตาล เนื่องจากเม็ดเลือดแดงมีอายุ 120 วัน ดังนั้นส่วนใหญ่ค่านี้จะตรวจทุก 3 เดือน ปัจจุบันค่าน้ำตาลสะสม HbA1C ใช้กับการวินิจฉัยโรคเบาหวาน และติดตามประเมินผลการรักษา
วิธีอ่านค่าน้ำตาลสะสม HbA1C
ระดับ HbA1C | |
ในคนปกติ | <5.7% |
ในคนปกติ | <5.7% |
ในภาวะก่อนเบาหวาน | 5.8-6.4% |
โรคเบาหวาน | >-- 6.5% |
เป้าหมาย | < 6.5% |
อย่างไรก็ตาม การศึกษาพบว่าในผู้ป่วยสองกลุ่มที่มีระดับน้ำตาลสะสม HbA1C เท่า ๆ กัน ผู้ที่ควบคุมอาหารน้ำตาลต่ำอย่างต่อเนื่อง กับผู้ที่ไม่ได้ควบคุมอาหาร มีการดำเนินโรคแตกต่างกัน คือ หากไม่ได้คุมอาหารจะมีโอกาสเกิดโรคแทกซ้อนต่าง ๆ ได้มากกว่าและจากข้อมูลที่มีการศึกษาทำให้พบว่า ถ้าน้ำตาลหลังอาหารขึ้นสูงเร็วมาก จะสร้างสารพิษน้ำตาลที่เรียกว่า Glycotoxin ได้มากกว่า ทั้งส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้มากกว่า
ดังนั้น ถ้าน้ำตาลขึ้นสูงแต่ลงมาต่ำ ค่าน้ำตาลสะสม HbA1C สามารถเท่ากับคนที่ค่าน้ำตาลขึ้นไปน้อยกว่า และลงมาสูงกว่า เพราะค่าน้ำตาลสะสมเป็นค่าน้ำตาลเฉลี่ย แต่ปัญหาคือในกลุ่มที่น้ำตาลขึ้นเร็ว จะเกิดโรคแทรกซ้อนได้มากว่า จึงเป็นต้องหาตัววัดอื่น นอกเหนือจาก HbA1C เพิ่มเติมที่มีความไว ต่อระดับน้ำตาลหลังอาหาร เพื่อเป็นการตรวจประเมินว่ามีน้ำตาลค้างในเลือดมากเกินไปหรือไม่ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา
ปัจจุบันนี้ มีการตรวจเลือดใหม่ที่เรียกว่า Glycomark เป็นการตรวจหาน้ำตาล monosaccharide ชนิด 1,5-Anhydroglucitol ซึ่งมีอยู่ในอาหารทุกชนิด สามารถตรวจได้โดยไม่จำเป็นต้องอดอาหาร ค่า Glycomark จะบอกภาวะของน้ำตาลในเลือดในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา จึงไม่ต้องรอถึง 2-3 เดือนแบบการตรวจน้ำตาลสะสม HbA1C
หากร่างกายอยู่ในภาวะน้ำตาลสูงหลังอาหาร ร่างกายจะขับน้ำตาลออกมาในปัสสาวะจำนวนมาก และ 1,5-Anhydroglucitol ก็จะถูกขับออกมาด้วย ในภาวะปกติ 1,5-Anhydroglucitol จะถูกดูดซึมกลับเข้าไปในร่างกายบริเวณท่อเล็ก ๆ จำนวนมากภายในไต ในคนที่มีระดับน้ำตาลปกติ ค่า 1,5-Anhydroglucitol จะสูงกว่า 12 ug/mL. อย่างไรก็ตาม ในผู้ที่มีน้ำตาลสูงหลังอาหาร ร่างกายจะขับน้ำตาลออกมามากขึ้นในปัสสาวะ รวมไปถึงน้ำตาล 1,5 Anhydroglucitol ด้วย กลูโคสจำนวนมากในปัสสาวะ จะไปยับยั้งการดูดซึมกลับของ 1,5 Anhydroglucitol ที่ท่อเก็บสะสมปัสสาวะขนาดเล็กในไต ผลคือ ระดับ 1,5-Anhydroglucitol จะลดลง
หากค่า 1,5-Anhydroglucitol ลดลงต่ำกว่า 10 ug/mL บ่งชี้ว่า น้ำตาลหลังอาหารในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมามีค่าสูงเกินไป และจะก่อให้เกิด glycotoxin และไม่ช้าก็จะเกิดอาการแทรกซ้อนจากเบาหวาน ผู้ป่วยที่มี HbA1C สูงจะพบว่า Glycomark ต่ำมาก บางทีต่ำกว่า 2 ug/mL ส่วนผู้ป่วยเบาหวานที่มี HbA1C อยู่ในเกณฑ์ดี (ต่ำกว่า 6.5 %) หากมีค่า Glycomark ต่ำ พบว่าจะเกิดผลแทรกซ้อนจากเบาหวานได้มากกว่า
ดังนั้น การนำค่า Glycomark มาใช้ร่วมกับการตรวจน้ำตาลอดอาหาร น้ำตาลหลังอาหาร น้ำตาลสะสม ระดับอินซูลิน และอื่น ๆ จะช่วยให้วางแผนบริหารจัดการโรคเบาหวานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เข้าสู่ระบบ
Create New Account