"โรคยอดฮิต สุขภาพจิตในวัยทำงาน: รู้จัก ป้องกัน และรักษา ก่อนสายเกินไป"

โทรศัพท์ : 026515988
"โรคยอดฮิต สุขภาพจิตในวัยทำงาน: รู้จัก ป้องกัน และรักษา ก่อนสายเกินไป"
"โรคยอดฮิต สุขภาพจิตในวัยทำงาน: รู้จัก ป้องกัน และรักษา ก่อนสายเกินไป"

เกิดเป็นคนวัยทำงานยุคนี้  นอกจากต้องให้ความสำคัญกับการเจ็บป่วยทางกายแล้ว ก็ต้องให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตด้วย  เพราะถ้าจิตใจดีร่างกายของเราก็จะดีเช่นกัน  ฉะนั้นถ้าอยากให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บไม่ป่วย ทำงานได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ จนได้รางวัลจากเจ้านายแบบปัง  ๆ  ถึงคราวต้องดูแลสุขภาพใจให้แข็งแรงและห่างไกลจากอาการป่วยจิต ป่วยใจ ด้วยโรคยอดฮิตทางจิตใจที่คนวัยทำงานมักเป็นกันแล้วล่ะ   

อาการป่วยทางใจแบบไหนที่พบได้บ่อยในคนทำงาน และจะหลีกเลี่ยงจากโรคเหล่านั้นได้อย่างไร  ลองสำรวจตัวเอง พร้อมหาแนวทางในการรักษาและฟื้นฟูจากบทความนี้กัน

โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่   (Attention Deficit Hyperactivity Disorder: ADHD)  โรคสมาธิสั้นไม่ใช่เพียงปัญหาที่พบในเด็ก แต่ยังสามารถเกิดขึ้นกับวัยทำงานด้วย  โดยมีอาการที่สังเกตได้ดังนี้  คือขาดสมาธิในการทำงาน (Inattention)  กระตุ้นตัวเองมากเกินไป (Hyperactivity)   หุนหันพลันแล่น (Impulsivity) ที่มีสาเหตุหลัก ๆ  เกิดจาก ปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมที่มีความเครียดสูง  ขาดการสนับสนุนทางสังคม หรือประสบปัญหาทางอารมณ์ที่รุนแรงในวัยเด็ก  อาจมีส่วนกระตุ้นให้เกิดในตอนโต  รวมถึงปัจจัยเรื่องความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง เช่น  Dopamine  และ  Norepinephrine ที่ส่งผลต่อความสามารถในการควบคุมความสนใจและพฤติกรรม   รวมถึงการดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ ก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดหรือเพิ่มความรุนแรงของอาการสมาธิสั้นได้

ความน่ากลัวของโรคสมาธิสั้นในวัยทำงาน คือ  ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ทำงานไม่เสร็จสมบูรณ์ ทำผิดพลาดบ่อย   เกิดความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และพบความยากลำบากในการจัดการงาน การโฟกัสงาน รวมถึงการดำเนินชีวิตประจำวัน

โรควิตกกังวลและแพนิค (Panic Disorder)  เป็นภาวะเครียดที่เกิดจากความวิตกกังวลมากกว่าปกติ ซึ่งเกิดได้กับคนทั่วไป  แต่พบได้บ่อยในคนวัยทำงาน โดยมีสาเหตุเกิดได้จาก    ปัจจัยด้านพันธุกรรม  ปัจจัยด้านฮอร์โมน  ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง  อาจทำให้สารเคมีในสมองเสียสมดุลการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติไป   ปัจจัยจากการทำงาน เช่น ความเครียด   ความวิตกกังวล ล้วนแล้วแต่เป็นผลที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพนิคได้  เช่น  การใช้ชีวิตที่เร่งรีบ  ทำงานกับหน้าจอคอมพิวเตอร์หรืออยู่กับมือถือเป็นเวลานาน  พักผ่อนน้อย  ไม่ออกกำลังกาย  หรือต้องเผชิญกับสภาวะกดดัน  เป็นต้น

โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder) เป็นโรคที่เกิดจากความกังวลมากกว่าปกติในเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน หากผู้ป่วยยังมีอาการนานเกินกว่า 6 เดือน อาจทำให้เกิดความอ่อนเพลีย กระวนกระวาย ไม่มีสมาธิ และนอนไม่หลับจนส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานได้

ภาวะหมดไฟในวัยทำงาน  (Burnout) เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อรู้สึกหมดแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ เนื่องจากต้องทำงานอย่างหนัก  หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่ดีเป็นเวลานาน ภาวะนี้มักจะมาพร้อมกับอาการ เช่น เหนื่อยล้า รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีกำลังจะทำงานหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ   เกิดความเบื่อหน่ายและไม่มีความสุขในการทำงาน  ประสิทธิภาพการทำงานลดลง  มีปัญหาในการตั้งสมาธิ หรือการตัดสินใจ  มีปัญหาทางอารมณ์ รู้สึกหดหู่ เครียด หรือโกรธง่าย  เป็นต้น

3 วิธีฟื้นฟูสุขภาพจิตของคนวัยทำงาน ด้วยการแพทย์แบบบูรณาการ

  1. การฟื้นฟูด้วยวิตามินและอาหารเสริมที่เหมาะสม  การทำงานภายใต้ความเครียดและความกดดัน รวมถึงการทำงานที่ต้องใช้สมองคิด อาจทำให้คนวัยทำงานมีปัญหาสุขภาพตามมา  การทานวิตามินเสริมอย่างเหมาะสม   
  2. ดริปวิตามิน   สำหรับวัยทำงานที่ต้องการการดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ การดริปวิตามิน เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยฟื้นฟูสุขภาพได้อย่างเร่งด่วน เพราะร่างกายจะดูดซึมไปใช้ได้เร็วและมีประสิทธิภาพ
  3. เครื่องคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  TMS  :   Transcranial Magnetic Stimulation  เป็นการกระตุ้นเซลล์สมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  โดยกระตุ้นสมองผ่านกะโหลกศีรษะ  โดยคลื่นแม่เหล็กจะเข้าไปเหนี่ยวนำเส้นประสาททำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบประสาท (Functional)  และยังช่วยกระตุ้นสมองให้หลั่งสาร Serotonin, Dopamine และ Opioid ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยในการทำงานของสมอง  ทำให้สมองกลับมาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้ง 

นอกจากวิธีการรักษาและฟื้นฟูด้วยวิธีดังกล่าวแล้ว  แนะนำว่าควรจัดการเวลาในการทำงานให้เหมาะสม หาเวลาพักผ่อนให้เพียงพอ หาเวลาออกกำลังกาย ฝึกสมาธิ เพื่อให้ร่างกายและจิตใจได้ผ่อนคลาย รวมถึงพูดคุยและขอความช่วยเหลือ  เพราะ การใส่ใจและดูแลสุขภาพจิตเป็นการลงทุนที่มีคุณค่าอย่างยิ่งในยุคที่การทำงานมีความท้าทายเช่นนี้

 

 

 

 

SEND A MESSAGE
Your email address will not be published. Required fields are marked.
CALL US : 02 651 5988
Select AH Find Dr Contact Us