ป่วยโรคเรื้อรังต้องดูแลกายและใจ

โทรศัพท์ : 026515988
ป่วยโรคเรื้อรังต้องดูแลกายและใจ
พญ.ส่งแสง กาญจนวิสิษฐผล ปริญญาโทการแพทย์แผนเยอรมัน และแพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านแพทย์บูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย
ป่วยโรคเรื้อรังต้องดูแลกายและใจ

     เมื่อเกิดความเจ็บป่วย การดูแลไม่ใช่การรักษาแก้ไขที่ต้นเหตุด้วยวิธีที่เหมาะสมเท่านั้น แต่ต้องดูแลด้าน จิตใจควบคู่กัน โดยเฉพาะป่วยด้วยโรคเรื้อรัง โรคซึ่งจะเป็นนาน ไม่หายเอง และมักไม่หายขาด โรคเรื้อรัง  อาจเป็นได้ทั้งโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคถุงลมอุดกั้นเรื้อรัง มะเร็ง และโรคเรื้อรัง ที่สามารถติดต่อได้ เช่น โรคเอดส์ เราไปดูเทคนิคที่แพทย์ใช้เพื่อดูแลจิตใจผู้ป่วยโรคเรื้อรังกับ พญ.ส่งแสง กาญจนวิสิษฐผล ปริญญาโทการแพทย์แผนเยอรมัน และแพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านแพทย์บูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย  

Q: โรคเรื้อรังใดที่ส่งผลกระทบกับจิตใจผู้ป่วย

พญ.ส่งแสง: คำตอบก็คือ โรคเรื้อรังทุกชนิดเพราะความเจ็บป่วยทางกายทุกอย่างล้วนส่งผลกับจิตใจ อาทิ 

  • ภาวะการเจ็บป่วยเฉียบพลัน เมื่อเกิดขึ้นทางกายก็จะส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกตกใจ โกรธ หดหู่ เสียใจ เป็นต้น 

  • ภาวะความเจ็บป่วยเรื้อรัง จะส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อยใจ ซึมเศร้า ท้อถอย น้อยใจ หมดกำลังใจได้  

Q: เหตุใดบางคนแม้ป่วยโรคเรื้อรัง แต่ไม่มีผลกระทบกับจิตใจในด้านลบ 

พญ.ส่งแสง: สิ่งที่ต้องย้อนกลับไปพิจารณา คือ ผู้ป่วยเคยฝึกจิตใจมาหรือไม่ ? เพราะสำหรับผู้ที่เคยฝึกจิตใจมาก่อนและต่อมาป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่ร้ายแรงก็จะไม่ทุกข์มาก แต่ในทางกลับกันผู้ที่ไม่เคยฝึกจิตใจ เพียงทราบว่าตนเองป่วยโรคเรื้อรัง แม้ไม่ร้ายแรงก็จะทุกข์มาก นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบกับจิตใจ    เช่น สถานะทางการเงิน ความรักความอบอุ่นภายในครอบครัว เป็นต้น 

Q: วิธีที่ใช้พิจารณาว่าผู้ป่วยควรได้รับการดูแลด้านจิตใจ คืออะไร 

พญ.ส่งแสง: การพิจารณาว่าคนไข้ควรได้รับการดูแลด้านจิตใจที่มากขึ้นควบคู่กับการรักษา แพทย์จะใช้วิสังเกตประกอบกับการฟังอย่างลึกซึ้งข้อมูลจากคนไข้ผ่านการพูดคุย ซักถามอย่างละเอียด    


Q: วิธีการดูแลจิตใจคนไข้ 

พญ.ส่งแสง: การดูแลด้านจิตใจเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ดังนั้นแพทย์จะเน้นให้การรักษาโรคทางกายเป็นหลักก่อน และจะเน้นให้กำลังใจ ให้หลักคิดให้คนไข้ตั้งสติได้มั่นคง เมื่อทำการรักษาโรคที่เป็นอยู่ให้อาการดีขึ้น แล้วก็ช่วยสร้างความมั่นใจและความรู้สึกที่ดีในการรักษาให้กับคนไข้ ประกอบกับแพทย์จะให้ความสำคัญกับการตั้งใจฟังปัญหาอย่างจริงใจ เพื่อเปิดพื้นที่ปลอดภัยในการสนทนา เป็นการนำหลักแนวคิดของ เดวิด โบห์ม (David Joseph Bohm) ผู้คิดค้นกระบวนการสนทนาแบบตั้งใจฟังอย่างลึกซึ้ง ไตร่ตรอง (Deep Listening) จนเกิดภาวะตื่นรู้เป็น Concept of Bohm's Dialogue ซึ่งได้รับรางวัลโนเบล ที่ต้องตั้งใจฟังอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้ทราบความต้องการและเข้าใจเสมือนเข้าไปนั่งอยู่ในใจคนไข้  

      ขณะเดียวกันจะสอดแทรกวิธีการบำบัดจิตใจที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง ด้วยการทำความเข้าใจด้วยการรับทราบว่า ภาวะจิตใจที่เครียด กังวล จะส่งผลให้กระบวนการหายของโรคล่าช้า นอกจากนั้นจะแทรกคำแนะนำเพื่อให้คนไข้ฝึกทำความรู้สึกตัว  เพราะเมื่อมีสติถึงระดับหนึ่งก็จะเกิดผลดีกับสุขภาพ แม้มีอาการเจ็บปวดทางกาย จิตใจจะไม่เจ็บไม่ได้รับผลกระทบ และสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ วิธีการให้ข้อมูล คำแนะนำของแพทย์ควรสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนไข้ เพื่อสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงจนเกิดผลสำเร็จ 

Q: วิธีดูแลจิตใจเมื่อป่วยด้วยโรคเรื้อรัง

พญ.ส่งแสง: เทคนิคนี้ไม่เพียงมีประโยชน์ในการดูแลจิตใจของผู้ป่วยโรคเรื้อรังเท่านั้น แต่ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้ด้วย ได้แก่ 

  • การมีสติ ฝึกสติพร้อม ๆ กับการทำความรู้สึกตัว เพราะสติจะทำให้รู้เท่าทันสามารถเห็นทุกข์โดยไม่ทุกข์ใจ เพราะรากเหง้าของความทุกข์อยู่ที่จิตใจ ไม่ใช่อยู่ที่เคราะห์หรือโชค 

  • การปล่อยวาง ด้วยการยอมรับความจริง อย่าปฏิเสธความจริง และรู้จักคำว่า “ไม่เป็นไร” “เต้นตามจังหวะ”

  • การไม่เป็นทาสของอารมณ์ 

  • การใช้สติและปัญญานำทางในการใช้ชีวิต

SEND A MESSAGE
Your email address will not be published. Required fields are marked.
CALL US : 02 651 5988
Select AH Find Dr Contact Us