ในสถานการณ์ที่เกิดการระบาดของเชื้อไวรัส Covid - 19 ทำให้มีผู้ป่วยติดเชื้อทั่วโลกเป็นจำนวนมากหลายล้านคน แม้ว่าอัตราการรอดชีวิตหลังติดเชื้ออาจสูงถึง 98% โดยเฉลี่ย แต่กลับพบว่าหลังจากผ่านพ้นช่วงการติดเชื้อไปแล้ว สภาพร่างกายของผู้ป่วยหลายคนไม่สามารถกลับมาแข็งแรงเหมือนเดิมได้ ซึ่งทางการแพทย์เรียกอาการเช่นนี้ว่าภาวะ Long Covid หรือ Post Covid Syndrome
อาการแบบไหนเข้าข่าย Long Covid
โดยส่วนใหญ่มักจะพบว่าผู้ป่วยจะเกิดอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามตัว เมื่อหายใจยังเหนื่อย หายใจไม่เต็มปอด และยังคงมีอาการไออยู่ แม้ว่าตรวจไม่พบเชื้อแล้ว บางรายเกิดผื่นขึ้น ผมร่วงผิดปกติ บางรายมีปัญหาด้านการนอนหลับ ความจำและประสิทธิภาพของสมองลดลง อารมณ์แปรปรวน เกิดความวิตกกังวล หรือ ซึมเศร้าได้ง่ายขึ้น ซึ่งอาการเหล่านี้อาจพบต่อเนื่องยาวนานได้ตั้งแต่ 4-24 สัปดาห์หลังจากการติดเชื้อ ซึ่งโอกาสที่จะเกิดผลที่ตามมาดังกล่าวนี้ จากข้อมูลในการศึกษาพบว่าอาจสูง 50-80% โดยจะมีความรุนแรงมากหรือน้อยแตกต่างกันไป
ทำไมผู้ป่วยที่หายจากโรค Covid – 19 ถึงมีอาการ Long Covid
สาเหตุของการเกิด Long Covid นี้ ณ ปัจจุบันเชื่อว่า เกิดจากสาเหตุหลักได้ 4 สาเหตุ อันได้แก่
1. ระบบภูมิคุ้มกันเกิดภาวะเสียสมดุลหลังจากการติดเชื้อ Covid -19 ทำให้ร่างกายสร้างระบบภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อตัวเอง (Autoimmunity)
2. หลังติดเชื้อ Covid -19 แล้วยังมีเศษชิ้นส่วนของไวรัส (Viral Shedding) อยู่ในร่างกายคนไข้ ทำให้มีการอักเสบเรื้อรังเกิดขึ้นอีก
3. ภาวะที่เนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ปอด เส้นเลือด ตับ หรือ ไต เกิดการบาดเจ็บและเสื่อมสภาพลงหลังการติดเชื้อ
4. ภาวะที่เกิดการอักเสบ ความเครียด และการใช้ยา Steroid ในช่วงการรักษายังส่งผลต่อการทำงานของฮอร์โมนต่อมหมวกไต ซึ่งทำให้เกิดภาวะต่อมหมวกไตล้า
การวินิจฉัยภาวะนี้ในปัจจุบัน จะอาศัยจากประวัติ การตรวจร่างกาย รวมไปถึงการตรวจเลือด การตรวจประเมินการตอบสนองของภูมิต้านทาน ตรวจการอักเสบและฮอร์โมนของร่างกายหลังการติดเชื้อ
การฟื้นฟูสุขภาพหลังจากหายป่วยด้วยโรค Covid – 19 และฟื้นตัวในภาวะ Long Covid
การดูแลรักษาภาวะ Long Covid ในปัจจุบันต้องบูรณาการและประยุกต์ความรู้ต่าง ๆ เข้ามาแก้ไขในแต่ละกลไก เช่น
- การใช้ยาที่มีคุณสมบัติลดการอักเสบต่าง ๆ เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์
- การใช้สารพฤกษเคมี ที่มีคุณสมบัติลดการอักเสบ ต่อต้านอนุมูลอิสระ และปรับสมดุลการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น สาร EGCG ในชาเขียว สารสกัด Curcumin จากขมิ้นชัน สารสกัด Bromelain จากแกนสับปะรด สาร Astaxanthin จากสาหร่ายสีแดง สาร Resveratrol จากเปลือกองุ่น สาร Quercetin ในเปลือกหอมแดง เป็นต้น
- สารสกัด Astragalus หรือ อึ้งคี้ หนึ่งในสมุนไพรจีน ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของเอนไซม์ทีโลเมอเรสจึงมีส่วนช่วยในการฟื้นฟูเซลล์ และ สาร Cordycepin ในถั่งเช่า นอกจากช่วยในการให้พลังงานกับเซลล์แล้ว ก็อาจได้ประโยชน์ในการฟื้นฟูปอดด้วย
- การใช้กรดอะมิโนบำบัด กรดไขมันบำบัด ควบคู่กับการใช้วิตามินบำบัด โดยเฉพาะวิตามินบี ร่วมกับแร่ธาตุหลักและแร่ธาตุรองต่าง ๆ จะสนับสนุนการทำงานของการสร้างพลังงานของเซลล์ ลดการอักเสบ และยังมีส่วนช่วยลดอาการอ่อนเพลียเรื้อรังได้
- มีการศึกษาถึง Low Level Laser Therapy หรือ การบำบัดด้วยแสงธรรมชาติ จะเป็นการใช้อนุภาคแสงเข้าไปกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ในไมโทคอนเดรีย ให้แต่ละเซลล์สามารถผลิตพลังงาน และลดอาการอ่อนเพลียได้เช่นกัน
- การใช้ฮอร์โมนต่อมหมวกไตทดแทน เพื่อสนับสนุนร่างกายไม่ให้เกิดภาวะพร่องฮอร์โมนในช่วงที่ต่อมหมวกไตยังคงอ่อนล้าจากการอักเสบและการติดเชื้อ
- ONDAMED เป็นการปรับสมดุล พลังงาน และเพิ่มพลังงานให้กับเซลล์ โดยการรักษาด้วยวิธีนี้จะเป็นการใช้เทคโนโลยีคลื่นพลังงานไฟฟ้า ด้วยการสแกนเพื่อตรวจหาส่วนที่สึกหรอ บาดเจ็บ หรือจุดที่เกิดปัญหา เมื่อพบความผิดปกติก็จะทำการกระตุ้นการซ่อมแซมเพื่อรักษาและฟื้นฟู โดยเติมพลังงานให้กับเซลล์นั้น ๆ ได้กลับมาทำงานอย่างเต็มที่และเต็มประสิทธิภาพ
ซึ่งในการรักษาด้วยเครื่องมือนี้ จะมีระยะเวลาที่กำหนดอยู่ที่ประมาณ 3-5 ครั้ง โดยเป็นการรักษาที่ปลอดภัย คนไข้ไม่เจ็บตัว อีกทั้งยังสามารถใช้การรักษานี้ร่วมกับวิธีการอื่น ๆ ได้อีกด้วย
- การฝังเข็มบำบัด หรือ ใช้สารอาหารกระตุ้นตามจุดฝังเข็ม โดยประสบการณ์ของแพทย์บูรณาการ ก็จัดเป็นอีกเทคนิควิธีที่ได้ผลดีในการกระตุ้นการทำงานของเซลล์ การสนับสนุนการสร้างพลังงาน รวมไปถึงการบรรเทาอาการปวดเมื่อยต่าง ๆ อีกด้วย
- การศึกษาด้านเวชศาสตร์ฟื้นสภาพ หรือ Regenerative Medicine เช่น การบำบัดด้วย Mesenchymal Stem Cell - MSC เป็นอีกการศึกษาที่น่าสนใจกับภาวะนี้อย่างมากทั้ง คุณสมบัติในการปรับสมดุลภูมิต้านทานที่มีข้อมูลสนับสนุนมากมายในแง่ของ ภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง และข้อมูลที่ MSC ยังสามารถปลดปล่อย Exosome และ Growth factor ให้กับเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บ เพื่อให้เกิดหารฟื้นฟูเนื้อเยื่อใหม่ขึ้นมา รวมไปถึงการฟื้นสภาพปอดหลังการติดเชื้ออีกด้วย
- การออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูการทำงานของกะบังลม และเนื้อเยื่อปอด แนะนำการออกกำลังประเภทโยคะ ชี่กง พิลาทิส
- การทำสมาธิ และดนตรีบำบัด ก่อนนอนเพื่อปรับการทำงานของคลื่นสมอง
ทั้งหมด ทั้งปวงเหล่านี้ คือ แนวทางที่แพทย์บูรณาการจะพิจารณาความรู้มาประยุกต์ใช้เพื่อดูแลคนไข้กลุ่มนี้ เพื่อช่วยฟื้นสภาพร่างกายให้กลับมาแข็งแรงเหมือนเช่นดังเดิม
Reference
- Lopez-Leon S, Wegman-Ostrosky T, Perelman C, Sepulveda R, Rebolledo PA, Cuapio A, Villapol S. More than 50 Long-term effects of COVID-19: a systematic review and meta-analysis. medRxiv [Preprint]. 2021 Jan 30:2021.01.27.21250617.
- Raveendran AV. Long COVID-19: Challenges in the diagnosis and proposed diagnostic criteria. Diabetes Metab Syndr. 2021 Jan-Feb;15(1):145-146. doi: 10.1016/j.dsx.2020.12.025. Epub 2020 Dec 15.
- Sisó-Almirall A, Brito-Zerón P, Conangla Ferrín L, Kostov B, Moragas Moreno A, Mestres J, Sellarès J, Galindo G, Morera R, Basora J, Trilla A, Ramos-Casals M, On Behalf Of The CAMFiC Long Covid-Study Group. Long Covid-19: Proposed Primary Care Clinical Guidelines for Diagnosis and Disease Management. Int J Environ Res Public Health. 2021 Apr 20;18(8):4350.
- Lopez-Leon S, Wegman-Ostrosky T, Perelman C, Sepulveda R, Rebolledo PA, Cuapio A, Villapol S. More than 50 Long-term effects of COVID-19: a systematic review and meta-analysis. medRxiv [Preprint]. 2021 Jan 30:2021.01.27.21250617.
- Aroldo, Del & Carvallo, Hector & Roberto, Hirsch. (2021). IVERMECTIN IN LONG-COVID PATIENTS. 10.13140/RG.2.2.14189.51683. Retrospective Study on IVM effects in long COVID
- Gupta C, Prakash D. Phytonutrients as therapeutic agents. J Complement Integr Med. 2014 Sep;11(3):151-69
- Liu P, Zhao H, Luo Y. Anti-Aging Implications of Astragalus Membranaceus (Huangqi): A Well-Known Chinese Tonic. Aging Dis. 2017;8(6):868-886. Published 2017 Dec 1
- Tan L, Song X, Ren Y, Wang M, Guo C, Guo D, Gu Y, Li Y, Cao Z, Deng Y. Anti-inflammatory effects of cordycepin: A review. Phytother Res. 2020 Oct 8. doi: 10.1002/ptr.6890. Epub ahead of print. PMID: 33090621.
- Lei J, Wei Y, Song P, Li Y, Zhang T, Feng Q, Xu G. Cordycepin inhibits LPS-induced acute lung injury by inhibiting inflammation and oxidative stress. Eur J Pharmacol. 2018 Jan 5;818:110-114.
- Bilg, R. (2017). A Rapid Evidence Assessment on the Effectiveness of Intravenous Mega-Dose Multivitamins on Fibromyalgia, Chronic Fatigue, Cancer, and Asthma [G].
- Yeh SW, Hong CH, Shih MC, Tam KW, Huang YH, Kuan YC. Low-Level Laser Therapy for Fibromyalgia: A Systematic Review and Meta-Analysis. Pain Physician. 2019 May;22(3):241-254.
- Sharma, D., Zhao, F. Updates on clinical trials evaluating the regenerative potential of allogenic mesenchymal stem cells in COVID-19. npj Regen Med 6, 37 (2021).
- Bari E, Ferrarotti I, Saracino L, Perteghella S, Torre ML, Richeldi L, Corsico AG. Mesenchymal Stromal Cell Secretome for Post-COVID-19 Pulmonary Fibrosis: A New Therapy to Treat the Long-Term Lung Sequelae? Cells. 2021 May 14;10(5):1203.
- Kouroupis D, Lanzoni G, Linetsky E, Messinger Cayetano S, Wishnek Metalonis S, Leñero C, Stone LD, Ruiz P, Correa D, Ricordi C. Umbilical Cord-derived Mesenchymal Stem Cells modulate TNF and soluble TNF Receptor 2 (sTNFR2) in COVID-19 ARDS patients. Eur Rev Med Pharmacol Sci. 2021
- Adas G, Cukurova Z, Yasar KK, Yilmaz R, Isiksacan N, Kasapoglu P, Yesilbag Z, Koyuncu ID, Karaoz E. The Systematic Effect of Mesenchymal Stem Cell Therapy in Critical COVID-19 Patients: A Prospective Double Controlled Trial. Cell Transplant. 2021 Jan-Dec;30:9636897211024942.
เข้าสู่ระบบ
Create New Account