อาการอ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ

โทรศัพท์ : 026515988
อาการอ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ
บทความโดย นพ.วิทย์ สมบัติวรพัฒน์ แพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านการแพทย์บูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย
อาการอ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ

    บ่อยครั้งที่เราพบคนไข้ที่มีอาการอ่อนเพลียมาเป็นเวลานานนับปีโดยไม่ทราบสาเหตุ หลายคนไปพบแพทย์มาหลายสิบท่าน เข้าโรงพยาบาลโน้น ออกโรงพยาบาลนี้ แต่ก็ตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติใดๆ ไม่มีทั้งเบาหวาน ความดัน  โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต แม้คนไข้จะพักผ่อนมากๆแต่อาการอ่อนเพลียก็ไม่หายไป คนไข้ที่มีอาการเช่นนี้เราจัดอยู่ในกลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง (chronic fatique syndrome) หรือ CFD ซึ่งนอกจากอาการอ่อนเพลียอย่างรุนแรงแล้วยังมักมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ  ปวดตามข้อ เจ็บคอ เจ็บบริเวณต่อมน้ำเหลือง มีอาการทางระบบประสาทเช่น นอนไม่หลับ หลงลืม เป็นต้น

กลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรังอาจพบร่วมกับสภาวะต่อไปนี้คือ ความวิตกกังวล  ความซึมเศร้า การแพ้สารเคมีหลายชนิด และลำไส้แปรปรวน

ซึ่งแสดงถึงความเสียสมดุลของร่างกายในระบบต่างๆที่เชื่อมโยงกัน คือ สมอง(จิตใจ) ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบต่อมไร้ท่อ หรือที่เรียกว่า Psycho  Neuro Immuno  Endocrine (PNIE) โดยมีสมองส่วนที่เรียกว่า Limbic System เป็นตัวควบคุม สมองส่วนนี้มีบทบาทอย่างมากในการควบคุมเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก พฤติกรรมต่าง ๆ ที่แสดงออก การเคลื่อนไหว การรับสัมผัส ควบคุมความจำระยะยาว  รวมไปถึงควบคุมการสร้างฮอร์โมนต่าง ๆ อีกด้วย 

   เพื่อให้เข้าใจสาเหตุของอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง เราควรทำความรู้จักกับกลไกการสร้างพลังงานในระดับเซลล์เสียก่อน ปกติแล้วเซลแต่ละเซลต้องการพลังงานเพื่อนำมาใช้ในกระบวนการต่าง ๆ เช่น การสังเคราะห์โปรตีน การผลิตฮอร์โมน การผลิตเอ็นไซม์ การผลิตสารสื่อนำประสาท รวมทั้งการขับของเสียออกจากเซลล์ พลังงานที่ใช้จะอยู่ในรูปของ ATP ซึ่งผลิตขึ้นภายในเซลล์โรงงานผลิตพลังงานที่อยู่ในเซลล์เรียกว่าไมโคคอนเดรีย (Mitochondria) อาหารและออกซิเจนที่ไปเลี้ยงเซลล์จะถูกนำเข้าสู่โรงงานนี้และไปเปลี่ยนเป็นพลังงาน (ATP)

   กลไกการสร้างพลังงานเป็นกระบวนการทางเคมีที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน ต้องอาศัยวิตามิน แร่ธาตุ กรดอะมิโน และเอ็นไซม์หลายชนิด ขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญมากคือขบวนการทางเคมีที่เรียกว่า Krebs Cycle หรือ Citric Acid Cycle ออกซิเจนที่เราหายใจ 80% จะถูกใช้ไปในขบวนการสร้างพลังงานที่ Krebs Cycle นี้เอง

    ขบวนการ Krebs Cycle หรือ Citric Acid Cycle ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ซึ่งเปรียบเหมือนรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ 8 สูบซึ่งหากมีการติดขัดที่สูบใดสูบหนึ่งก็จะทำให้เครื่องยนต์มีปัญหาได้

   ปัจจัยหนึ่งที่ขัดขวางการสร้างพลังงาน คือการที่มีสารโลหะหนักสะสมในร่างกาย (สารโลหะหนักคือสารที่หนักกว่าน้ำมากกว่า 5 เท่าในปริมาตรเท่ากัน) โลหะหนักที่เป็นพิษมีหลายชนิดเช่น สารหนู ตะกั่ว  ปรอท แคดเมียม เป็นต้น จากการจัดอันดับสารพิษ 20 อันดับแรกของสหรัฐอเมริกาได้จัดให้สารหนูมีความเป็นพิษอันดับ 1 ตะกั่วอันดับ 2 ปรอทอันดับ 3 และแคดเมียมอันดับ 7 ซึ่งทั้งหมดนี้คือสารโลหะหนักทั้งสิ้น

    สารเหล่านี้จะไปขัดขวางการทำงานในขั้นตอนต่างๆของ Kreb Cycle ทำให้การผลิตพลังงานเกิดการหยุดชะงัก เปรียบเหมือนเครื่องยนต์ที่มีสิ่งสกปรกเข้าไปขัดขวางการทำงานของลูกสูบทำให้เครื่องยนต์ติดขัด ส่งผลให้เซลล์ขาดพลังงานและเกิดการเสื่อมของเซลล์ ทำให้ร่างกายเกิดอาการอ่อนเพลีย การมีสารโลหะหนักจึงเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของกลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง

   การตรวจหาขั้นตอนที่ผิดปกติในขบวนการ Kreb Cycle ทำได้โดยการเก็บปัสสาวะเพื่อตรวจหาสารประกอบอินทรีย์ที่เกิดจากขบวนการผลิตพลังงาน เราเรียกว่า Urine Organic Acids จะทำให้เรารู้ว่าเกิดการติดขัดที่ขั้นตอนไหนและจะแก้ไขอย่างไรเพื่อให้ขบวนการผลิตพลังงานเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์

   ส่วนการตรวจหาสารโลหะหนักในร่างกายทำได้โดยการทำคีเลชั่น (Chelation) คือการให้น้ำเกลือที่มีกรดอะมิโนบางชนิดซึ่งมีคุณสมบัติจับกับโลหะหนักซึ่งสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย และขับออกมาทางไต แล้วทำการเก็บปัสสาวะเป็นเวลา 6 ชั่วโมง ขบวนการนี้เรียกว่า Urine Challenge Test ซึ่งจะทำให้เราทราบว่ามีสารโลหะหนักชนิดใดในปริมาณเท่าไรสะสมอยู่ในร่างกาย เพื่อจะได้วางแผนการรักษาต่อไป

SEND A MESSAGE
Your email address will not be published. Required fields are marked.
CALL US : 02 651 5988
Select AH Find Dr Contact Us