โรคความเสื่อม(Degenerative disease) คือความเสื่อมที่เกิดขึ้นกับอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งระบบใดระบบหนึ่ง หรือร่างกายโดยรวมซึ่งก็เป็นผลของความเสื่อมในระดับเซลล์ นั่นเอง
ความเสื่อมก่อให้เกิดโรคกับระบบใดในร่างกายได้บ้าง ซึ่งเกิดได้ทุกระบบในร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น
- กลุ่มโรคความเสื่อมของระบบหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ลิ้นหัวใจรั่ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- กลุ่มโรคความเสื่อมของสมอง ได้แก่ โรคสมองเสื่อมต่าง ๆ เช่น โรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์
-
กลุ่มโรคความเสื่อมของกระดูกและข้อ ได้แก่ โรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท เช่น บริเวณกระดูกคอ
กระดูกเอว เป็นต้น ข้อเข่าเสื่อม โรคกระดูกพรุน - กลุ่มโรคความผิดปกติของเซลล์ในอวัยวะต่าง ๆ ได้แก่ โรคเนื้องอก โรคมะเร็ง ซึ่งทำให้ระบบการทำงานของเซลล์ผิดเพี้ยน อาจเกิดการกลายพันธุ์ หรือระบบการซ่อมตัวเองของเซลล์เสีย หรือระบบการกำจัดเซลล์ที่กลายพันธุ์เสียไป เมื่อเซลล์เหล่านั้นไม่ถูกทำลายจึงกลายเป็นเนื้องอก
ความเสื่อมของเซลล์
เกิดอะไรขึ้นบ้าง
ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญมีปรากฎการณ์ 9 ข้อ
ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญที่พบได้ในเซลล์ที่มีความเสื่อม เรียกว่า Hallmark of Aging ซึ่ง 4 ข้อแรกเป็นปรากฎการณ์หลัก
ส่วนข้ออื่นเป็นผลตามมา
1.ดีเอ็นเอเสื่อมสภาพ (Genomic Instability)
ทำให้การแสดงออกของยีนและการทำงานต่าง ๆ ของเซลล์ผิดปกติ
2.ส่วนปลายของโครโมโซมหดสั้น (Telomere
Attrition) ส่วนปลายของโครโมโซม 23 คู่ ของคนเราเรียกว่า เทโลเมียร์ (Telomere)
ซึ่งทุกครั้งที่เซลล์แบ่งตัวเพื่อซ่อมแซมร่างกาย เทโลเมียร์จะหดลงเรื่อย ๆ
เมื่อสั้นถึงจุดหนึ่งเซลล์ไม่สามารถแบ่งตัวเพื่อซ่อมแซมร่างกายได้ ย่อมส่งผลทำให้เกิดเป็นโรคของเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ
ตามมา
3. ดีเอ็นเอเปลี่ยนสภาพจากปัจจัยเหนือพันธุกรรม (Epigenetic Alteration)
อย่างเช่นโครงสร้างทางเคมีที่เรียกว่า เมทฮิลกรุ๊ปที่เกาะอยู่กับดีเอ็นเอเป็นตัวสำคัญต่อการทำงานของดีเอ็นเอ
ถ้าเกิดปัญหากับเมทฮิลกรุ๊ปก็ทำให้เซลล์เสื่อมตามมา
4.ระบบควบคุมโปรตีนเสื่อมสภาพ (Loss of
Proteostasis) เกิดการสะสมของโปรตีนที่ผิดปกติจึงเกิดความเสื่อมของเซลล์
5.การตอบสนองต่อสารอาหารผิดเพี้ยนไป (Deregulated Nutrient
Sensing) อย่างเช่นร่างกายมีระบบการตอบสนองต่อกลูโคส โดยการทำงานพร้อมกันระหว่างต่อมใต้สมอง ซึ่งสร้าง
growth hormone และเซลล์ตับซึ่งสร้างสาร IGF-I เมื่อการทำงานตรงนี้ผิดปกติ ส่งผลให้เซลล์เสื่อมตามมา
6.
เตาผลิตพลังงานเสื่อมสภาพ (Mitochondrial
Dysfunction) ทำให้เซลล์ขาดพลังงานและยังเกิดการสะสมของอนุมูลอิสระภายในเซลล์
จึงเกิดเซลล์เสื่อม
7.เซลล์แก่ พอกพูน (Cellular Senescense)
หากเซลล์แก่ไม่ถูกกำจัดออกไปและสร้างใหม่เซลล์ จะมีผลให้เกิดความเสื่อม
8.Cell เริ่มต้น หมดสภาพ
(Mesenchymal stromal cell Exhaustion) ทำให้ประสิทธิภาพในการซ่อมสร้างเซลล์ใหม่ลดลง
และทำให้เกิดความเสื่อม
9.การสื่อสารระหว่างเซลล์ขัดข้อง(AlteredIntercellularCommunication)เปรียบเสมือนระบบอินเตอร์เน็ตระหว่างเซลล์ขัดข้อง
สื่อสารกันไม่ได้ระบบต่าง ๆ ย่อมมีปัญหาในการทำงานร่วมกัน
สาเหตุที่ทำให้เกิดเซลล์เสื่อมมีหลายอย่าง
เช่น อนุมูลอิสระ การอักเสบเรื้อรัง สารพิษต่าง ๆ เช่น สารโลหะหนัก
สารพิษจากยาฆ่าแมลง
วิธีการดูแลเพื่อป้องกันและฟื้นฟูเซลล์เสื่อม
1.
การดีท๊อกซ์ ซึ่งมีได้หลายระบบ
- 1.1. ดีท็อกซ์ลำไส้
- 1.2. ดีท็อกซ์ระบบน้ำเหลือง ซึ่งเป็นระบบที่นำของเสียตามเนื่อเยื่อกลับเข้าสู่เส้นเลือดดำเพื่อเอาไปกำจัด
- 1.3. ดีท็อกซ์เลือด เพื่อกำจัดสารพิษโดยเฉพาะสารโลหะหนักที่สะสมอยู่ในเซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ ด้วยวิธีการที่เรียกว่า คีเลชั่น (Chelation)
- 1.4. ดีท็อกซ์ตับ ช่วยให้ตับทำหน้าที่กำจัดสารพิษออกจากร่างกายได้ดีขึ้น
- 1.5. ดีท็อกซ์เซลล์ เหมือนการชาร์จแบตเตอรี่ให้กับเซลล์ เพื่อคืนสมดุลความต่างศักดิ์ไฟฟ้าระหว่างในเซลล์กับนอกเซลล์ ทำให้เซลล์สามารถนำเข้าสารอาหารและนำของเสียออกไปได้
- 1.6. ดีท็อกซ์อารมณ์ ด้วยการสวดมนต์ ฝึกสมาธิ
2. การบำบัดด้วยโอโซน (Ozone Therapy)
นอกจากโอโซนจะมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรคแล้ว ยังช่วยเพิ่มออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่าง ๆ
และกระตุ้นการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) และลดการอักเสบได้เป็นอย่างดี
3.
ศาสตร์แห่งการฟื้นฟูเซลล์ (Functional Medicine Approach) ซึ่งครอบคลุมถึงการนำ Cell เริ่มต้น
มาใช้ฟื้นฟูอวัยวะที่เสื่อมสภาพ
เคล็ดลับป้องกันความเสื่อม
สิ่งที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ที่เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันความเสื่อมและให้ช่วยอายุยืน
- การรับประทานอาหารให้น้อยลง หรือจำกัดแคลลอรี่ โดยเฉพาะอาหารประเภทน้ำตาล
- การอดอาหาร (Fasting) สามารถทำเป็นครั้งคราวตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล อาทิ 1-3 วัน หรือบางรายอาจ 7 วัน ซึ่งมีการศึกษาและพบว่าการทำ Fasting มีผลช่วยให้อายุยืนยาวขึ้นกว่าผู้ที่ไม่เคยทำ
- การเลือกประเภทอาหาร นอกจากดูแลเรื่องน้ำตาล การศึกษาบางทฤษฏีกล่าวถึงการลดการบริโภคโปรตีนมีส่วนช่วยให้อายุยืนยาวขึ้นและนอกจากนี้อาหารที่มีส่วนช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดคือการรับประทานอาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean diet) ซึ่งจะเน้น ผัก ผลไม้ น้ำมันที่ได้จากพืช เช่น ถั่ว อโวคาโด มะกอก ส่วนเนื้อสัตว์จะเน้นปลาที่มีไขมัน เช่น ปลาซาดีน ปลาแซลมอน รวมถึงธัญพืช
- ออกกำลังกาย ควรทำอย่างสม่ำเสมอ 5 ครั้งต่อสัปดาห์ เฉลี่ยครั้งละ 20-30 นาที
- นอนหลับพักผ่อน 6-7 ชั่วโมงต่อวัน จากการศึกษาพบว่าการนอน 6-7 ชม.ต่อวันมีส่วนช่วยให้อายุยืนแต่สำหรับผู้ที่นอนน้อยกว่า 5 ชม.ต่อวัน จะมีความเสี่ยงกับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าแต่ในทางกลับกันถ้านอนหลับมากเกินไปก็ไม่ใช่สิ่งที่ดี ผู้ที่นอนเกิน 9 ชม.ต่อวัน มีโอกาสเสียชีวิตมากขึ้น 2 เท่าเมื่อเทียบจากคนที่นอนปกติหลีกเลี่ยงความเครียดที่เรื้อรัง พยายามผ่อนคลาย พักผ่อน ทำสมาธิ
สิ่งที่การแพทย์แบบบูรณาการให้ความสำคัญกับความเสื่อม
- อนุมูลอิสระ คนเรานั้นสามารถรับสารพิษได้จากรอบตัว อาทิ บุหรี่ ยาฆ่าแมลง การรับประทานอาหารประเภทไขมันทรานส์มาก ๆ จะก่อให้เกิดอนุมูลอิสระได้ การแพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัยจึงแนะนำให้มีการใช้สารต้านอนุมูลอิสระอาทิที่ผ่านมาจะเลือกใช้วิตามินซีเป็นวิตามินที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระแต่ณ ปัจจุบันพบว่าสารสกัดจากสาหร่ายแดง แอสตราแซนทีน (astaxanthin) มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระได้มากกว่าวิตามินซีหลายร้อยเท่า จึงนับเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีมากในขณะนี้
- ลดการอักเสบในร่างกาย เช่น อาหารสไตล์เมดิเตอร์เรเนียน ไวน์แดง เพราะมีส่วนประกอบของสารเรสเวอราทรอล (Resveratrol) สารสกัดจากขมิ้นชัน เคอร์คูมิน (Curcumin) โกโก้ หรือหากเป็นช็อกโกแลตจะต้องมีโกโก้เกินกว่า 70 % จึงมีฤทธิ์ช่วยลดความอักเสบ
- ปฏิกิริยาไกลเคชั่น (Glycation) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาทางเคมีที่เกิดจากน้ำตาลไปเกาะกับโปรตีน ไขมันเกิดเป็น (Advanced Glycation End-Products) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดอนุมูลอิสระ ทำให้เซลล์เสื่อมเร็ว และถามว่าปฏิกิริยาไลเคชั่น คืออะไร ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น เราทำอาหารและนำน้ำตาลไปเคี่ยวกับไฟที่ร้อนจัดและน้ำตาลเป็นสีน้ำตาล นั่นคือปฏิกิริยาไกลเคชั่น
- ความเครียด เพราะเมื่อเกิดความเครียดร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอติซอล ซึ่งมีผลกับหลายด้าน อาทิ มีผลกับสมองที่เกี่ยวกับความจำมีผลทำให้เกิดการสะสมของไขมันบริเวณหน้าท้องซึ่งนำไปสู่การอักเสบในร่างกายและภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งทำให้เกิดโรคเบาหวาน เป็นต้น
การป้องกันรักษาความเสื่อมแบบการแพทย์บูรณาการ
- เซลล์ซ่อมเซลล์ การแพทย์แบบเซลล์ซ่อมเซลล์ใช้หลักการความเหมือนหรือความคล้าย อาทิ ใช้สารสกัดตับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมฉีดเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ ซึ่งพบว่าช่วยกระตุ้นตับของมนุษย์ให้มีการซ่อมตัวเองได้
- Cell เริ่มต้น สำหรับความก้าวหน้าของศาสตร์การแพทย์แบบFunctional Medicine Approach หรือการแพทย์ด้านการซ่อมเซลล์ ได้นำCell เริ่มต้น มนุษย์มาใช้ เริ่มแรกใช้ Cell เริ่มต้น ของตัวเองมาฉีด เพื่อให้ร่างกายซ่อมตัวเอง แต่มีข้อจำกัด เนื่องจากผู้ที่มีปัญหาความเสื่อมส่วนใหญ่มีอายุมาก Cell เริ่มต้น ก็เสื่อมด้วยประสิทธิภาพจึงด้อย ต่อมามีการค้นพบว่า Cell เริ่มต้น จะไม่มีส่วนประกอบที่ก่อให้เกิดการแพ้และยังช่วยลดการอักเสบ จึงสามารถใช้ Cell เริ่มต้น ของผู้อื่นมาใช้ได้ อาทิ Cell เริ่มต้น เด็กแรกเกิด Cell เริ่มต้น จากน้ำคร่ำ
สัญญาณความเสื่อม
สิ่งที่เป็นสัญญาณของความเสื่อม สังเกตได้จากประสิทธิภาพของอวัยวะต่าง ๆ ผิดปกติ เช่น มีความเสื่อมที่ตา สัญญาณที่บ่งชี้ คือ ตาเริ่มมองไม่ชัด หากข้อเข่าเสื่อม อาจจะรู้สึกปวดเข่าเมื่อขึ้นบันได หรือมีเสียงในข้อ เป็นต้น ซึ่งการตรวจให้ทราบถึงความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ สามารถตรวจได้ทั้งจากการแพทย์แบบทั่วไปและการแพทย์แบบบูรณาการ แต่ข้อจำกัด คือ การแพทย์แบบทั่วไปเน้นรักษาตามอาการ ไม่มีวิธีรักษาสาเหตุของความเสื่อม แต่การแพทย์แบบบูรณาการเรามุ่งเน้นรักษาที่ต้นตอของสาเหตุความเสื่อม จึงมีการรักษาแบบ Functional Medicine Approach หรือ CPT/FCT เพื่อแก้ไขความเสื่อม เรียกได้ว่า สามารถตรวจและรักษาโรคแห่งความเสื่อมได้อย่างแท้จริง
เข้าสู่ระบบ
Create New Account