โรคอัลไซเมอร์

โทรศัพท์ : 026515988
โรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์

       ทุกท่านคงเคยได้ยิน ได้ฟัง เกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ เช่น มีประกาศหรือโฆษณาทางโทรทัศน์ ตามหาคุณปู่ คุณตา หรืออาม่า หายไปจากบ้าน  เรารู้จักโรคนี้กันมากและน้อยแค่ไหน สงสัยว่าตนเองหรือญาติป่วยเป็นโรคนี้หรือไม่ และจะทำอย่างไรต่อไป มาทำความรู้จักกับโรคนี้กันนะครับ

อัลไซเมอร์ เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งซึ่งพบได้บ่อยที่สุด โดยจะมีการเสื่อมของเซลล์สมองทุก ๆ ส่วน  ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติของการทำงานของสมองหลายๆ ส่วน เช่น ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่สามารถแยกแยะถูกผิด มีปัญหาในเรื่องการใช้ภาษา การสื่อสาร  สูญเสียความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน ความจำเสื่อม ในระยะท้ายของโรคจะสูญเสียความจำทั้งหมดและเสียชีวิตในที่สุด จากสถิติโลกพบได้ในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ในร้อยละ 10 และเริ่มพบผู้ป่วยขยายมายังกลุ่มคนที่อายุต่ำกว่า 60 ปีด้วย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่ป่วยด้วยโรคที่นำไปสู่ความผิดปกติของหลอดเลือด ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และไขมันสูง

โรคอัลไซเมอร์  (Alzheimer) สามารถแบ่งระยะของโรคได้ 3 ระยะ ได้แก่

  1. ระยะเริ่มแรก  ผู้ป่วยจะรับรู้ว่าขี้ลืม ลืมปิดเตารีด ลืมปิดประตู ลืมชื่อคน ลืมรับประทานยา ต้องให้คนช่วยเขียนรายการที่จะต้องทำ

  2. ระยะที่สอง  ผู้ป่วยจะสูญเสียความจำโดยเฉพาะความจำที่เพิ่งเกิดใหม่ๆ โดยอาจจะจำเรื่องราวในอดีต และเริ่มใช้คำพูดไม่ถูกต้อง อารมณ์จะผันผวน มีปัญหาเรื่องวันเวลาสถานที่ และอาจหลงทางกลับบ้านไม่ถูก ลืมชื่อญาติสนิท หวาดระแวง สับสน โดยเฉพาะกลางคืนอาจไม่นอนทั้งคืน จะออกนอกบ้าน และมีพฤติกรรมก้าวร้าว บางคนก็กลับเปลี่ยนไปเป็นไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว

  3. ระยะที่สาม ผู้ป่วยจะสับสน ไม่รู้วันรู้เดือน บางรายมีอาการหลงผิดหรือเกิดภาพหลอน บางรายอาจจะก้าวร้าวรุนแรง ปัสสาวะราด ไม่สนใจตนเอง กลั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่ได้ ต้องมีคนดูแลตลอด 24 ชั่วโมง

    ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในเวลา 2-10 ปี โดยเฉลี่ย 10 ปี ด้วยโรคแทรก เช่น ติดเชื้อจากปอดบวมหรือแผลกดทับ

การรักษาโรคอัลไซเมอร์

การรักษาแผนปัจจุบันจะมุ่งเน้นที่รักษาตามอาการ  ปัจจุบันยาที่ใช้ส่วนใหญ่ช่วยเพิ่มปริมาณของสารอะเซติลโคลีนในสมอง ยานี้ช่วยให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์มีอาการดีขึ้นได้เล็กน้อย แต่ไม่สามารถชะลอการทรุดลงของโรคได้และไม่ทำให้โรคหายขาด

  

การแพทย์บูรณาการกับโรคอัลไซเมอร์

  1. กำจัดสารพิษและโลหะหนักออกจากร่างกายอย่างปลอดภัย โดยการทำคีเลชั่นบำบัด (Chelation) เป็นการฟื้นฟูหลอดเลือดและลดอัตราเสี่ยง ของการเกิดเส้นเลือดอุดตัน

  2. การรักษาโดยใช้สารต้านอนุมูลอิสระ ทั้งหมดเป็นสารธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพในการลดสาร อนุมูลอิสระในร่างกาย

  3. การรักษาเพื่อลดการอักเสบภายในร่างกายโดยใช้ Oxidation Therapy

  4. การรักษาด้วยสารอาหารที่มีงานวิจัยสนับสนุนว่ามีส่วนช่วยฟื้นฟูเซลล์สมอง ได้แก่ กรดอะมิโนจำเป็น วิตามิน กรดไขมันจำเป็น แร่ธาตุ และสารสกัดจากพืชที่มีประโยชน์

  5. การใช้ฮอร์โมนในผู้ป่วยที่มีการขาดหรือพร่องฮอร์โมน

  6. การรักษาด้วยเปปไทด์ (Organ-specific Nucleic acid Therapy) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการซ่อมและสร้างเซลล์สมองในส่วนที่เสียหาย

  7. การรักษาด้วยเซลล์ (CPT/FCT Therapy)

    การรักษาแบบบูรณาการ หมายถึง การรักษาที่มุ่งพยายามรักษาโรคที่ต้นเหตุ โดยพยายามกำจัดหรือลดสาเหตุที่เป็นไปได้ในการเกิดโรคให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ควบคู่ไปกับการควบคุมอาการ เพื่อให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และฟื้นฟูการทำงานของร่างกายไปพร้อมกัน โดยมองว่าร่างกายของมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสามารถในการฟื้นฟูตนเอง  เพราะทุกองค์ประกอบของร่างกายต้องทำงานร่วมกัน ประสานกัน แบ่งแยกกันไม่ได้ จำเป็นต้องแก้ปัญหาไปพร้อมๆ กันโดยยึดหลักความปลอดภัยมาเป็นอันดับแรกและไม่ทำร้ายคนไข้ ดังนั้นการรักษาส่วนใหญ่จะเป็นการใช้สารธรรมชาติ หลีกเลี่ยงสารสังเคราะห์หรือสารเคมี เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่จะเกิดกับผู้ป่วยในระยะยาว เป็นการรวมการรักษาทั้งการแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์ยุโรป การแพทย์จีน และอื่น ๆ ร่วมกัน เพื่อพยายามในการรักษาผู้ป่วยเป็นรายบุคคลให้จำเพาะเจาะจงกับโรคที่เกิดและเหมาะสมกับผู้ป่วยตามความจำเป็น.






SEND A MESSAGE
Your email address will not be published. Required fields are marked.
CALL US : 02 651 5988
Select AH Find Dr Contact Us