การบำบัดโรคหัวใจและหลอดเลือด วิธีการรักษาและดูแลอย่างครอบคลุม

โทรศัพท์ : 026515988
การบำบัดโรคหัวใจและหลอดเลือด วิธีการรักษาและดูแลอย่างครอบคลุม
การบำบัดโรคหัวใจและหลอดเลือด วิธีการรักษาและดูแลอย่างครอบคลุม

รักษาโรคหัวใจ ไม่ได้มีแค่ยาหรือผ่าตัด แต่ยังมีอีกหนึ่งวิธีการหนึ่งที่ยังเสริมฟื้นฟูสุขภาพหัวใจของคุณได้ ซึ่งวิธีการนี้ กำลังได้รับความสนใจและมีผู้คนหันมาใส่ใจดูแลตนเองด้วยวิธีนี้กันมากขึ้น ซึ่งวิธีการรักษาที่ว่านั้นก็คือ การดูแลด้วยการแพทย์แบบบูรณาการ ซึ่งจะมีรายละเอียดที่เราอยากให้คุณได้ เปิดมุมมองใหม่ของการดูแลหัวใจด้วยแนวทาง “การแพทย์แบบบูรณาการ” ที่ผสานวิทยาการแพทย์แผนปัจจุบันเข้ากับโภชนบำบัด การฝังเข็ม การจัดการความเครียด และการฟื้นฟูด้วยธรรมชาติ จากบทความนี้ เพราะการดูแลหัวใจที่ดี เริ่มจากการเข้าใจทั้งร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรมของเราอย่างลึกซึ้ง

สาเหตุการเกิดโรคหัวใจ


ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่น่าวิตกคือผู้ป่วยประมาณ 60-70% จะเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นแบบฉับพลันโดยไม่มีอาการเตือนภัยใดๆ จากการศึกษาวิจัยใหม่ล่าสุดได้เปิดเผยว่าสาเหตุที่แท้จริงนั้นเกิดจากการอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุหลอดเลือด โดยมีปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญดังนี้

1. ปัจจัยด้านอาหารและเมแทบอลิซึม

  • ไขมันทรานส์จากอาหารแปรรูป เช่น ครีมเทียม เนยเทียม และน้ำมันไฮโดรจิเนต
  • ไขมันไตรกลีเซอไรด์เกินค่าปกติ
  • น้ำตาลในเลือดไม่สมดุล
  • สารพิษและอนุมูลอิสระต่างๆ

2. ปัจจัยด้านสรีรวิทยา

  • ภาวะเลือดเป็นกรดจากระบบการเผาผลาญผิดปกติ การขาดออกซิเจนในเนื้อเยื่อ (พบในผู้ที่กรนหรือหยุดหายใจขณะนอน)
  • ฮอร์โมนเพศไม่สมดุล
  • การสะสมของโฮโมซิสเทอีนจากความผิดปกติในการย่อยสลายกรดอะมิโน

3. ปัจจัยด้านวิถีชีวิต

  • จุลินทรีย์ในลำไส้ไม่สมดุลและกลุ่มโรคลำไส้รั่ว
  • การนอนหลับไม่เพียงพอและความตึงเครียดเรื้อรัง

การเข้าใจปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้จะช่วยในการป้องกันและลดความเสี่ยงของโรคหัวใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ


กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

  1. วัยกลางคนจนถึงผู้สูงวัย โดยเฉพาะผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ความเสี่ยงก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้น
  2. ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ ซึ่งปัจจัยทางพันธุกรรมที่เพิ่มความเสี่ยง
  3. กลุ่มเสี่ยงตามโรคประจำตัว เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง
  4. ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรือมีภาวะอ้วน
  5. ลุ่มเสี่ยงตามพฤติกรรม เช่น ผู้สูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หนัก ผู้ที่มีความเครียดสูง ไปจนถึงผู้ที่รับประทานอาหารแปรรูปมาก

อาการโรคหลอดเลือดหัวใจ

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยส่วนใหญ่ประมาณ 60-70% จะไม่แสดงอาการเตือนใดๆ และมักเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิตในทันที อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยที่มีอาการ มักจะพบลักษณะดังต่อไปนี้

  • อาการปวดหน้าอก - ความรู้สึกเจ็บหรือแน่นบริเวณหน้าอกซีกซ้ายหรือตรงกลาง ความเจ็บปวดอาจลุกลามไปถึงบ่า แขนซ้าย หรือคอ โดยลักษณะเป็นความหนักราวกับมีน้ำหนักกดทับ
  • ความเหนื่อยล้าผิดปกติ - รู้สึกเพลียง่ายกว่าเดิมในกิจกรรมที่เคยทำได้ปกติ แม้เป็นกิจกรรมเบาๆ
  • อาการจากภาวะหัวใจสูบฉีดเลือดได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ - ขาและเท้าบวม หายใจลำบากเมื่อนอนบนเตียง ไอพร้อมเสมหะสีชมพูหรือแดง

การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจที่บ้าน


1. หลักการดูแลพื้นฐาน

การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจที่บ้าน ประกอบด้วย

  • จัดพื้นที่พักผ่อนที่เหมาะสม - เลือกห้องที่สงบ อากาศถ่ายเทได้ดี มีแสงสว่างเพียงพอ และอุณหภูมิที่เหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นความเครียด - ลดเสียงดัง การรบกวน และสถานการณ์ที่อาจทำให้ผู้ป่วยตื่นเต้นหรือกังวลใจ
  • จัดเตรียมยาฉุกเฉิน - วางยาโรคหัวใจไว้ในตำแหน่งที่เข้าถึงได้ง่าย พร้อมคำแนะนำการใช้งานที่ชัดเจน
  • มีแผนติดต่อฉุกเฉิน - เตรียมหมายเลขโทรศัพท์แพทย์ โรงพยาบาล และหน่วยกู้ชีพไว้ในที่เห็นได้ง่าย

2. วิธีตรวจเช็กความเสี่ยงด้วยตนเองที่บ้าน

การสังเกตอาการผิดปกติเป็นทักษะสำคัญที่ผู้ป่วยและญาติควรเรียนรู้ อาการที่ควรระวัง ได้แก่ ความเจ็บหรือแน่นที่หน้าอก การหายใจลำบาก ความเหนื่อยล้าผิดปกติ การบวมของขาหรือข้อเท้า และการเวียนศีรษะ

นอกจากนี้ วิธีตรวจโรคหัวใจด้วยตัวเองด้วยเทคนิคการวัดชีพจรและความดันโลหิตที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่ควรฝึกฝน การวัดชีพจรสามารถทำได้โดยใช้นิ้วกดที่ข้อมือหรือลำคอ นับจำนวนการเต้นใน 1 นาที และสังเกตความสม่ำเสมอของการเต้น สำหรับการวัดความดันโลหิต ควรทำในท่านั่งหรือนอน หลังจากพักผ่อนอย่างน้อย 5 นาที

สัญญาณเตือนที่ต้องรีบพบแพทย์ ได้แก่ อาการเจ็บหน้าอกที่รุนแรงและไม่หายภายใน 5 นาที การหายใจลำบากมาก การเหงื่อออกผิดปกติ หรือการเป็นลมเฉียบพลัน


วิธีการตรวจวินิจฉัย

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการ เราสามารถวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบได้จากการประเมินอาการของผู้ป่วยประกอบกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ทั้งในสภาวะปกติและขณะออกกำลังกาย หรือที่เรียกว่าการเดินสายพาน
  • การตรวจเลือดเพื่อดูเอนไซม์หัวใจ (Cardiac Marker)
  • การทำเอคโคคาร์ดิโอกราฟี
  • การฉีดสีตัวทึบเพื่อดูสภาพการไหลเวียนของหลอดเลือดหัวใจ

อย่างไรก็ตาม เทคนิคการตรวจเหล่านี้จะสามารถตรวจพบปัญหาหรือวินิจฉัยได้เฉพาะในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดตีบตันไปแล้วเท่านั้น สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงแต่ยังไม่มีการตีบตันของหลอดเลือด การตรวจด้วยเทคนิคเหล่านี้อาจไม่สามารถบ่งบอกถึงความเสี่ยงได้

ด้วยความรู้ในปัจจุบันในด้านต้นตอของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่มาจากการอักเสบของผนังหลอดเลือด การตรวจวัดระดับการอักเสบผ่านค่า C-reactive protein (Hs-CRP) ถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ในการช่วยประเมินความเสี่ยงของภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ และเพื่อการประเมินความเสี่ยงที่แม่นยำ ควรพิจารณาร่วมกับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ระดับน้ำตาลและฮอร์โมนอินซูลิน ระดับ Homocysteine ระดับสมดุลฮอร์โมน ระดับสารพิษต่างๆ ในร่างกาย


วิธีรักษาโรคหัวใจเบื้องต้นตามแบบแผนการแพทย์ทั่วไป

แนวทางการดูแลโรคหัวใจเบื้องต้นทางการแพทย์ที่สำคัญ ประกอบด้วย 3 แนวทางหลัก ซึ่งแพทย์จะเลือกใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละผู้ป่วย

1. การใช้ยา

การดูแลด้วยยาเป็นวิธีรักษาโรคหัวใจเบื้องต้นที่แพทย์เลือกใช้ โดยยาจะถูกเลือกตามชนิดและความรุนแรงของโรคหัวใจ การใช้ยาต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อควบคุมอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อน

2. การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Balloon Angioplasty/PCI)

เป็นหัตถการที่ใช้สายสวนหัวใจที่มีบอลลูนขนาดเล็กเข้าไปขยายหลอดเลือดหัวใจที่ตีบหรืออุดตัน เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ในหลายกรณีจะใส่ขดลวด (Stent) เพื่อป้องกันการตีบซ้ำ

วิธีรักษาโรคหัวใจนี้เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรือหลอดเลือดตีบมากกว่า 70% และถือเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพสูงในการฟื้นฟูการไหลเวียนของเลือด

3. การผ่าตัดหัวใจ

ใช้ในกรณีที่อาการรุนแรงหรือไม่ตอบสนองต่อการดูแลด้วยยาและการทำบอลลูน เช่น การผ่าตัดซ่อมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจ เพื่อแก้ไขปัญหาลิ้นหัวใจที่ผิดปกติ ซึ่งการผ่าตัดหัวใจมีทั้งแบบเปิดและแบบปิด ขึ้นกับชนิดของโรคและข้อบ่งชี้ทางการแพทย์


การดูแลผู้ป่วยหลังทำบอลลูนหัวใจ

หลังจากการทำบอลลูนหัวใจ ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดในช่วงแรก โดยควรปฏิบัติตามนี้

  • รับประทานยาต่อเนื่อง - โดยเฉพาะยาต้านเกล็ดเลือดตามแพทย์สั่ง ห้ามหยุดยาเอง
  • ดูแลแผล - หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำในช่วงแรก ป้องกันการติดเชื้อ
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมหนัก - งดการออกกำลังกายหนัก การขับรถ และยกของหนักในช่วง 2 สัปดาห์แรก
  • ปรับเปลี่ยนอาหาร - หลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงและรสหวานจัด เน้นผักผลไม้
  • เลิกสูบบุหรี่ถาวร - เพื่อป้องกันการตีบซ้ำของหลอดเลือด
  • พักผ่อนเพียงพอ - นอน 8-10 ชั่วโมง พักกลางวันวันละ 2 ครั้ง
  • จัดการความเครียด - ปรับวิถีชีวิตให้สมดุล
  • พบแพทย์ตามนัด - เพื่อติดตามผลการรักษาอย่างสม่ำเสมอ

การฟื้นฟูสมรรถภาพ

หลังจากทำบอลลูนหัวใจไปประมาณ 2 สัปดาห์ ควรมีโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม โดยเริ่มต้นจากกิจกรรมเบาๆ เช่น การเดินช้าๆ แล้วค่อยๆ เพิ่มความเข้มข้นตามคำแนะนำของแพทย์ การออกกำลังกายที่สม่ำเสมอจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของหัวใจและปรับปรุงการไหลเวียนโลหิต

การปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งจำเป็น ควรจัดตารางงานให้มีช่วงพักผ่อนเพียงพอ หลีกเลี่ยงความเครียดที่ไม่จำเป็น และสร้างสมดุลระหว่างการทำงานกับการดูแลสุขภาพ


แนะนำการรักษาเชิงป้องกัน ด้วยการแพทย์แบบบูรณาการ

หนึ่งในวิธีการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดที่น่าสนใจ คือ การแก้ปัญหาความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้ เช่น การใช้สารอาหารบำบัดซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคเบาหวาน การใช้ออกซิเดชันบำบัด (Oxidation Therapy) เพื่อปรับปรุงภูมิต้านทานและลดการอักเสบของหลอดเลือด การใช้คีเลชันบำบัดและสารต้านอนุมูลอิสระ เพื่อขจัดสารพิษและอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของการอักเสบผนังหลอดเลือด และล่าสุดเรายังมีวิธีการดูแลด้วยเครื่องมือซึ่งเป็นเทคโนโลยี ECP External Counter Pulsation ซึ่งสามารถช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดกลับเข้าสู่หัวใจ เพิ่มออกซิเจนและสารอาหารแก่กล้ามเนื้อหัวใจอย่างเป็นธรรมชาติส่งเสริมการสร้างหลอดเลือดใหม่ ลดอาการเจ็บหน้าอก และช่วยให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้นเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจที่ไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดหรือทำบอลลูนได้ เพิ่มคุณภาพชีวิตโดยไม่ต้องใช้ยาเพิ่ม

เป้าหมายการรักษารูปแบบนี้ คือ การแก้ไขที่ต้นเหตุ พร้อมกับฟื้นฟูความเสื่อมจากการอักเสบเรื้อรังของผนังหลอดเลือดก่อนที่เกิดการตีบตันที่หลอดเลือดนั่นเอง

การบำบัดโรคหัวใจและหลอดเลือด วิธีการรักษาและดูแลอย่างครอบคลุม


การดูแลระบบไหลเวียนโลหิต 10 ข้อ ลดความเสี่ยง

เคล็ดลับการดูแลหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิตให้แข็งแรง เพื่อลดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงความเสี่ยงในการเกิดซ้ำ มีดังนี้

  1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

  2. เดินเร็ว วิ่งเบาๆ ว่ายน้ำ หรือปั่นจักรยานอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ เพื่อกระตุ้นการทำงานของหัวใจและเพิ่มการไหลเวียนโลหิต

  3. รับประทานอาหารเพื่อหัวใจ

  4. เน้นผลไม้ ผัก ธัญพืชเต็มเมล็ด ปลา และถั่วต่างๆ หลีกเลี่ยงอาหารมันเยอะ อาหารแปรรูป และเกลือมากเกินไป การเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงจะช่วยป้องกันการสะสมของไขมันในหลอดเลือดและลดการอักเสบ

  5. ดื่มน้ำให้เพียงพอ

  6. ดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้ว เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีและไม่ข้นเหนียว

  7. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

  8. การมีน้ำหนักเกินจะทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด

  9. เลิกสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงควันบุหรี่

  10. นิโคตินทำให้หลอดเลือดตีบตัน เพิ่มความดันโลหิต และลดออกซิเจนในเลือด การเลิกสูบบุหรี่เป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการปรับปรุงสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด

  11. จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์

  12. หากดื่มควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสมก็ไม่เสี่ยงมาก แต่หากดื่มเป็นประจำและปริมาณมากเกินไปจะส่งผลเสียต่อหัวใจ

  13. จัดการความเครียด

  14. ฝึกสมาธิ โยคะ หายใจลึกๆ หรือหากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลาย เพราะความเครียดเรื้อรังส่งผลเสียต่อระบบหัวใจ

  15. นอนหลับให้เพียงพอ

  16. แนะนำให้นอน 7-9 ชั่วโมงต่อคืน เพราะการนอนไม่เพียงพอจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง การนอนหลับที่มีคุณภาพจะช่วยให้ร่างกายและหัวใจได้พักฟื้นอย่างเต็มที่

  17. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ

  18. ตรวจความดันโลหิต ระดับน้ำตาล และไขมันในเลือดสม่ำเสมอ เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาก่อนที่จะรุนแรง

  19. หลีกเลี่ยงการนั่งหรือยืนนานเกินไป

  20. เปลี่ยนท่าทางบ่อยๆ เดินเล็กน้อยทุก 30-60 นาที และยกขาขึ้นเป็นครั้งคราวเพื่อช่วยการไหลเวียนโลหิต การดูแลระบบไหลเวียนโลหิตต้องใช้ความสม่ำเสมอและความอดทน แต่จะส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวมในระยะยาว

การบำบัดโรคหัวใจและหลอดเลือดในยุคปัจจุบันต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการแพทย์บูรณาการมาอย่างยาวนาน การใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ๆ ร่วมกับการดูแลแบบองค์รวม และความร่วมมือจากผู้ป่วยและครอบครัวในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

หากคุณกำลังมองหาการบำบัดโรคหัวใจและหลอดเลือดแบบบูรณาการ หรือต้องการทำความเข้าใจเรื่องโรคหัวใจและหลอดเลือดคืออะไรเพิ่มเติม Absolute Health Regenerative Medicine ศูนย์การแพทย์บูรณาการชั้นนำที่มีแพทย์มากประสบการณ์พร้อมให้คำแนะนำและดูแลคุณ


FAQs

คำถามพบบ่อยเกี่ยวกับการบำบัดโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนี้

  1. ผู้เข้ารับการบำบัดโรคหัวใจและหลอดเลือด ออกกำลังกายได้ไหม?

  2. ผู้ป่วยโรคหัวใจสามารถออกกำลังกายได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ โดยทั่วไปแพทย์จะแนะนำให้เริ่มจากกิจกรรมเบาๆ เช่น การเดินช้าๆ การยืดเส้นยืดสาย หรือการว่ายน้ำเบาๆ โดยควรใช้เวลา 20-40 นาที สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง หลังจากอาการคงที่แล้ว การออกกำลังกายที่เหมาะสมจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหัวใจ ปรับปรุงการไหลเวียนโลหิต และลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่สำคัญคือต้องหยุดทันทีหากมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก หรือเวียนศีรษะ

  3. การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจที่บ้าน ต้องเตรียมอุปกรณ์อะไรบ้าง?

  4. อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจที่บ้าน ได้แก่ เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล เครื่องวัดระดับออกซิเจนในเลือด (Pulse Oximeter) เทอร์โมมิเตอร์ ยาฉุกเฉินที่แพทย์สั่ง (เช่น ยา Nitroglycerin) และสมุดบันทึกอาการ นอกจากนี้ควรมีหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินของแพทย์และโรงพยาบาลไว้ในที่เห็นได้ง่าย การมีอุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยให้สามารถติดตามอาการและให้การดูแลเบื้องต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  5. ลังจากวิธีรักษาโรคหัวใจแล้ว ใช้เวลานานเท่าไหร่กว่าจะหายดี?

  6. ระยะเวลาการฟื้นฟูหลังการรักษาขึ้นกับความรุนแรงของโรคและวิธีการรักษาโรคหัวใจที่ใช้ หากเป็นการรักษาด้วยยา ผู้ป่วยอาจรู้สึกดีขึ้นภายใน 2-4 สัปดาห์ สำหรับการทำบอลลูนหลอดเลือด การฟื้นฟูใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน ส่วนการผ่าตัดบายพาสอาจใช้เวลา 2-3 เดือนหรือมากกว่า สิ่งสำคัญคือการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด รับประทานยาสม่ำเสมอ ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และเข้ารับการตรวจติดตามตามนัด การฟื้นฟูที่สมบูรณ์ต้องอาศัยความอดทนและการดูแลต่อเนื่อง


ดูแลสุขภาพแบบองค์รวมกับ Absolute Health

Absolute Health คือ ศูนย์ดูแลรักษาสุขภาพแบบบูรณาการมาอย่างยาวนานกว่า 20 ปี ที่ผสมผสานการแพทย์แผนปัจจุบันกับการแพทย์ทางเลือกที่ผ่านการศึกษาและมีหลักฐานสนับสนุน เรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ พร้อมการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องด้วยการประชุมแพทย์เพื่ออัปเดทข้อมูลทุกเดือน นอกจากนี้ การรักษาของเราเป็นการรักษาเฉพาะแต่ละบุคคล เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุด

Absolute Health เป็นการดูแลแบบองค์รวม ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และวิถีชีวิต ไม่ว่าจะเป็น การแพทย์ชะลอวัย โดยแพทย์ชะลอวัยที่เชี่ยวชาญ โรคอัลไซเมอร์ การเสริมภูมิคุ้มกัน รวมถึงการดูผู้ที่กังวลเรื่องฮอร์โมนตก วัยทอง ไปจนถึงรักษาโรคเบาหวานแบบองค์รวม

ติดต่อเราวันนี้เพื่อรับคำปรึกษาจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

Website: https://absolute-health.org/contact

E-mail: [email protected]

Address: Absolute Health: Integrative Medicine 20/2-7 Ruam Rudee Village Soi Ruamrudee, Ploenchit Rd., Lumpini, Pathumwan, Bangkok 10330

เวลาทำการ: จันทร์-อาทิตย์ 9.00 - 18.00