คำแนะนำ การแยกเพื่อสังเกตอาการ ณ ที่พักอาศัย (Self-Quarantine at Home)

โทรศัพท์ : 026515988
คำแนะนำ การแยกเพื่อสังเกตอาการ ณ ที่พักอาศัย (Self-Quarantine at Home)
ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ข้อมูล ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563
คำแนะนำ การแยกเพื่อสังเกตอาการ ณ ที่พักอาศัย (Self-Quarantine at Home)

  1. การเตรียมความพร้อมของสถานที่พัก

จัดเตรียมสถานที่พักอาศัยสำหรับการแยกเพื่อสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วันในบ้าน ให้มีลักษณะดังต่อไปนี้



  • มีการแยกห้องนอนและห้องน้ำของผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่ระบาดออกจากสมาชิกอื่น

  • มีอากาศถ่ายเทดี

  • มีอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อสำหรับนักเรียน/นักศึกษาที่เดินทางกลับมา เช่น หน้ากากอนามัย สบู่ เจลแอลกอฮอล์ ถุงมือ

  • อยู่ในพื้นที่ที่สามารถเดินทางมาโรงพยาบาลได้สะดวกด้วยพาหนะส่วนบุคคล

  • ที่หอพักนักเรียน/นักศึกษา จัดให้มีจุดคัดกรองอุณหภูมิด้วย Handheld thermometer บริเวณหน้าหอพัก ในจุดที่นักเรียน/นักศึกษาทุกคนที่เดินทางกลับมา ต้องเดินผ่านเข้าออก ดังนี้

  • สอบถามอาการไข้และอาการระบบทางเดินหายใจ กรณีมีปรอทวัดไข้แนะนำให้วัดอุณหภูมิร่างกายทุกวัน ช่วงเช้าและเย็น

  • หากพบอาการป่วยข้อใดข้อหนึ่ง ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลหอพัก พร้อมใส่หน้ากากอนามัย และรีบไปพบแพทย์พร้อมแจ้งประวัติการเดินทาง ขณะเดินทางมาโรงพยาบาลโดยรถยนต์ส่วนตัว ให้เปิดหน้าต่างรถยนต์ไว้เสมอ


  1. การปฏิบัติตัวระหว่างการแยกสังเกตอาการ ณ ที่พักอาศัย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น



  • วัดอุณหภูมิกายทุกวัน หากพบว่ามีไข้ อุณหภูมิ > 37 องศาเซลเซียส ร่วมกับอาการทางเดินหายใจเช่น ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อย ให้ไปพบแพทย์ โดยสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาและเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวหรือรถรับจ้างที่ไม่เปิดเครื่องปรับอากาศ

  • หากพักอาศัยที่บ้านร่วมกับครอบครัว

    • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดบุคคลอื่นในที่พักอาศัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ

    • ควรแยกห้องนอน และ ห้องน้ำจากผู้อื่น

    • แยกการรับประทานอาหาร

    • ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ โทรศัพท์ ร่วมกับผู้อื่น

    • สวมหน้ากากอนามัย และอยู่ห่างจากคนอื่นๆ ในบ้านประมาณ 1-2 เมตร

  • ล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำและสบู่อย่างน้อย 20 วินาที กรณีไม่มีน้ำและสบู่ ให้ลูบมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ความเข้มข้นอย่างน้อย 60%

  • การทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว ให้ใช้วิธีพับ ม้วน ใส่ถุงพลาสติกและปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้งลงในถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด และทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำและสบู่ทันที

  • ปิดปากจมูกด้วยกระดาษทิชชูทุกครั้งที่ไอจาม โดยปิดถึงคาง แล้วทิ้งทิชชูลงในถุงพลาสติกและปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้ง หรือ ใช้แขนเสื้อปิดปากจมูกเมื่อไอหรือจาม และ ทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทันที

  • ทำความสะอาดบริเวณที่พักของนักเรียน/นักศึกษา เช่น เตียง โต๊ะ บริเวณของใช้รอบ ๆ ตัวของผู้ป่วย รวมถึงห้องน้ำ ด้วยน้ำยาฟอกขาว 5% โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (น้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนต่อน้ำ 99 ส่วน)

  • ทำความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนู ฯลฯ ด้วยสบู่หรือผงซักฟอกธรรมดาและน้ำ หรือซักผ้าด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิน้ำ 60-90 °C


  1. การปฏิบัติตัวของผู้อยู่อาศัยร่วมบ้าน และวิธีการทำลายเชื้อในสิ่งแวดล้อมในบ้าน




  • ทุกคนในบ้านควรล้างมือบ่อยครั้ง เพื่อลดการรับและแพร่เชื้อ โดยใช้น้ำและสบู่อย่างน้อย 20 วินาที กรณีไม่มีน้ำและสบู่ ให้ลูบมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ความเข้มข้นอย่างน้อย 70%

  • เฝ้าระวังอาการเจ็บป่วยของผู้สัมผัสใกล้ชิดหรือสมาชิกคนอื่นในบ้าน เป็นเวลา 14 วัน หลังสัมผัสกับผู้ป่วย

  • นอนแยกห้องกับนักเรียน/นักศึกษาที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่ระบาด

  • แยกการรับประทานอหาร และ ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ร่วมกับผู้เดินทางกลับ

  • หลีกเลี่ยงการพูดคุยหรืออยู่ใกล้ชิดในระยะ 1-2 เมตรกับผู้ที่กลับมาจากพื้นที่ระบาด

  • ทำความสะอาดพื้นบริเวณที่พักและเครื่องเรือน เช่น เตียง โต๊ะ ด้วย น้ำยาฟอกขาว 5% โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (น้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนต่อน้ำ 99 ส่วน)

  • ทำความสะอาดห้องน้ำด้วยน้ำยาล้างห้องน้ำบ่อยครั้งอย่างสม่ำเสมอ

  • ทำความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนู ฯลฯ ด้วยสบู่หรือผงซักฟอกธรรมดาและน้ำ หรือซักผ้าด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิน้ำ 60-90 °C

  • ผู้ที่ทำความสะอาด แนะนำให้ใส่ชุดป้องกันร่างกาย ได้แก่ หน้ากากอนามัย หมวกคลุมผม แว่นตากันลม ถุงมือยาว รองเท้าบูท และผ้ากันเปื้อนพลาสติก

SEND A MESSAGE
Your email address will not be published. Required fields are marked.
CALL US : 02 651 5988
Select AH Find Dr Contact Us