โคเอนไซม์ คิวเทน คืออะไรหลายคนคงเคยได้ยินชื่อของสารชนิดหนึ่งที่ชื่อ
โคเอนไซม์ คิวเทน ที่เรามักจะรู้จักกับสารนี้ที่มีอยู่ในส่วนผสมของเครื่องสำอางค์ หรือชะลอความเสื่อมของเซลล์ผิว แต่ในทางการแพทย์นั้น โคเอนไซม์ คิวเทน มีอะไรที่มากกว่าการเป็นแค่ส่วนผสมของเครื่องสำอาง
โคเอนไซม์ คิวเทน หรือ โคคิว 10 หรืออีกชื่อหนึ่งคือ
ยูบิควิโนน (Ubiquinone) เป็นสารคล้ายวิตามินที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการสร้างพลังงานพื้นฐานของเซลล์ อันจะส่งผลให้เนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ
Q10 ที่ผลิตในร่างกายนี้ สังเคราะห์มาจากกรดอะมิโนที่ชื่อ ไทโรซีน (Tyrosine) และฟีนีลอะลานิน (Phenylalanine) โดยกรดอะมิโนทั้ง 2 ตัวนี้ จะสร้างส่วนวงแหวนควิโนน (Quinone Ring) ส่วนสายยาว (side chain) สร้างมาจากอะซีติลโคเอ (Acetyl CoA)โดยอาศัยกระบวนการในร่างกายหลายขั้นตอนร่วมกันกับวิตามิน 7 ชนิด คือ วิตามินบี 2 (Riboflavin) วิตามินบี 3 (Niacinamide) วิตามินบี 6 กรดโฟลิก (Folic Acid) วิตามินบี 12 วิตามินซี และกรดแพนโททีนิก (Pantothenic Acid)
- ไทโรซีน (Tyrosine) ช่วยทำให้เซลล์แก่ช้าและควบคุมศูนย์กลางความรู้สึกหิวในไฮโปแธลลามัสส่วนใต้ของสมอง
- ฟีนีลอะลานิน (Phenylalanine) ช่วยการทำงานของต่อมธัยรอยด์ให้กระตุ้นการเผาผลาญอาหารของร่างกาย เป็นฮอร์โมนที่ประกอบด้วยไอโอดีนทำให้รู้สึกสดชื่นตื่นตัว อารมณ์ดี ลดความซึมเศร้า ช่วยให้ความจำดีขึ้น ช่วยไม่ให้ผมหงอก และผิวแห้งตกกระ รวมทั้งป้องกันผิวหนังอักเสบจากการแพ้แสงแดด
มีรายงานเกี่ยวกับ Q10 ว่ามีประสิทธิภาพสูงในการรักษาโรค กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และสิ่งสำคัญคือมีผลต่อการทำงานของระบบหัวใจ พบว่า Q10 ช่วยเพิ่มประสิทธิการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจอย่างชัดเจน จึงทำให้มีการจ่าย Q10 ให้กับผู้ป่วยโรคหัวใจอย่างมากมาย
Q10 ทำงานอย่างไรQ10 ทำหน้าที่เกี่ยวกับการให้พลังงานแก่เซล ดังนั้นเซลที่ยังมีชีวิตก็จะมีความต้องการพลังงานเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ก็จะต้องการ Q10 เช่นกัน อีกทั้งเซลที่ต้องการพลังงานสูงก็จะต้องการ Q10 มากกว่าเซลที่ต้องการพลังงานน้อย จึงเป็นเหตุที่เราจะพบ Q10 มากในเซลหัวใจ ดังนั้นหากขาด Q10 ก็จะมีผลให้การทำงานในเซลผิดปกติ ส่งผลให้เซลตายได้